ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

หยุด กรดซัลฟิวริค เพิ่มคุณภาพยางอีสาน ต้องทำทันที



ข่าวใหญ่ที่สร้างความแตกตื่นให้วงการยางพาราไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา คงต้องยกให้ ข่าว 2 ยักษ์ใหญ่ล้อยางรถยนต์ บริดจสโตน และมิชลิน ประกาศ “แบนยางภาคอีสาน”


เนื่องจากพบว่าเกษตรกรกว่า 80% ใส่กรดซัลฟิวริคให้น้ำยางแข็งตัว  ซึ่งมีผลให้คุณภาพยางลดลง และเมื่อนำไปผลิตล้อยางรถยนต์จะได้ล้อยางคุณภาพต่ำ และเสื่อมสภาพเร็ว 

อีกทั้งยังมีข่าวว่า ทั้งสองบริษัทเตรียมล้มแผนที่จะสร้างโรงงานล้อยางในภาคอีสานมูลค่ากว่า 2,000 ล้านบาท 


และแม้ภายหลังจะมีการแกะรอยที่มาของแหล่งข่าว เพื่อหาความจริงของข่าว แต่เป็นการสื่อสารคลาดเคลื่อน และไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ก่อนจะมีข่าวว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยางแท่งรายใหญ่ภาคอีสานปล่อยข่าว หวังกดราคายาง

แม้จะไม่ใช่เรื่องจริง แต่ “อินทรีทนง” มองว่า ไหนๆ ประเด็นของการใช้กรดซัลฟิวริคในการผลิตยางก้อนถ้วยถูกจุดประเด็นขึ้นมาแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยให้นิ่งเงียบ เพราะปัญหานี้เคยเป็นเรื่องเป็นข่าวมาแล้วหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็เงียบไป เกษตรกรชาวสวนยางก็ยังคงใช้กรดฟอร์มิค ราคาต่ำ แต่ฉุดให้คุณภาพยางต่ำไปด้วย 

ว่ากันว่าปัจจุบันภาคอีสานมีสัดส่วนการใช้กรดซัลฟิวริคมากถึง 80% เราควรหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นเร่งด่วน และแก้ไขทันที เพื่อให้ยางของไทยมีคุณภาพสูงขึ้

กรดซัลฟิวริค ต้นทุนต่ำกว่า ฟอร์มิค จริงหรือ เรื่องที่เกษตรกรควรรู้

นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิชาการชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยยางสงขลา การยางแห่งประเทศไทยเจ้าของงานทดลองและงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของกรดซัลฟิวริคในการทำยางก้อนถ้วย ที่ติดตามเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง บอกว่า ชาวสวนยางมักเข้าใจผิดว่า กรดฟอร์มิคราคาสูงกว่ากรดซัลฟิวริค 

แต่ความจริงแล้วต้นทุนของกรดซัลฟิวริคค่อนข้างต่ำ แต่ผู้ผลิตกลับนำมาขายราคาสูง ราคาประมาณขวดละ 15-20 บาท ซึ่งเป็นราคาที่แพงมาก แต่เกษตรกรดูเผินนึกว่าไม่แพง แต่หากเกษตรกรซื้อกรดฟอร์มิคมาผสมเอง จะได้กรดถูกกว่าซื้อซัลฟิวริคสำเร็จรูปมาใช้


เมื่อมองถึงผลกระทบของกรดซัลฟิวริค นักวิชาการชำนาญการที่มีความรู้ด้านกรดซัลฟิวริคในการผลิตยางเป็นอย่างดี ให้ข้อมูลว่า กรดซัลฟิวริคเป็นกรดแก่ มีความเข้มข้นสูง จึงเป็นอันตราย และมีกลิ่นเหม็นฉุนจนแสบจมูก แต่ข้อดีของมันมีอย่างเดียวคือ ทำให้ยางจับตัวได้ภายใน 15 นาที เกษตรกรจึงนิยมใช้โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน

อีกทั้งยังพบว่าเกษตรกรมักจะใช้อัตราส่วนเกินกำหนดเพราะเข้าใจว่ายิ่งใช้เยอะยางจะแข็งตัวเร็วยิ่งขึ้น ผลคือทำให้เนื้อยางมีสีคล้ำ เนื้อแข็งกระด้าง และทำให้ยางเสื่อสภาพเร็วกว่าปกติ สุดท้ายก็จะขายได้ราคาต่ำ

ส่วนกรดฟอร์มิค เป็นกรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการจับตัวเนื้อยางได้อย่างสมบูรณ์ ภายในเวลา 45-60 นาที ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารตกค้างในเนื้อยาง และปลอดภัยต่อผู้ใช้ 


กรดฟอร์มิคมักใช้ในการผลิตยางที่เน้นคุณภาพสูง เช่น ยางแท่ง STR 5L ช่วงให้เนื้อยาเมื่อแห้งแล้วสีเหลืองสวย ไม่เหนียวเหนอะหนะ และยืดหยุ่นดี ที่ผ่านมา สถาบันวิจัยยาง ได้แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนยางใช้กรดฟอร์มิคในการทำยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และยางก้อนถ้วย ทำให้ได้ยางคุณภาพ ขายได้ราคาสูง

จึงจะเห็นได้ว่า การที่เกษตรกรชาวสวนยางภาคอีสานนิยมใช้กรดซัลฟิวริค เพื่อลดต้นทุน เอาเข้าจริงอาจจะมีต้นทุนสูงกว่ากรดฟอร์มิคด้วยซ้ำไป หากเปรียบเทียบด้านคุณภาพยางและราคาขาย 

ด้านการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญต่อการให้คำแนะนำและรณรงค์การผลิตยางคุณภาพของเกษตรกร กำลังเร่งเดินหน้าสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรเพื่อให้การใช้กรดซัลฟูริคลดลง โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีเกษตรกรใช้กรดซัลฟิวริก ถึงร้อยละ 60 และใช้กรดฟอร์มิคร้อยละ 40

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยยาง หน่วยงานในสังกัดของ กยท. กำลังดำเนินการนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของกรดซัลฟิวริคมาเผยแพร่แก่เกษตรกร เนื่องจากกรดชนิดนี้ทำให้ยางก้อนถ้วยคุณภาพยางลดลง มีความยืดหยุ่นต่ำ ก้อนยางมีความชื้นสูง สีคล้ำ แต่สิ่งที่ กยท. คำนึงถึงมากที่สุดคือ กรดซัลฟิวริคเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ต่อเกษตรกร และสิ่งแวดล้อม

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กยท. ยืนยัน ได้รณรงค์ไม่ให้ใช้กรดซัลฟิวริค และสามารถลดการใช้กรดดังกล่าวลงกว่าร้อยละ 40 และเชื่อว่าจะหมดไปในอีก 2 ปีข้างหน้า ส่วนปริมาณการผลิตในพื้นที่ภาคอีสาน ขณะนี้มีประมาณ 573,000 ตันและมีพื้นที่ปลูกยางล่าสุด จำนวน 4,726,466 ไร่ เปิดกรีดแล้ว 3,240,734 ไร่ และคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น จึงอยากแนะนำให้เกษตรกรหันมาใช้กรดฟอร์มิค เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านคุณภาพยางและฉุดราคายางจนเป็นปัญหาในระยะยาว และจะทำให้การผลิตยางมีคุณภาพเพิ่มขึ้นตามไปด้วย”

ส่วน นายวิชิต ลี้ประเสริฐ นายกสมาคมชาวสวนยางบุรีรัมย์ ให้ความคิดเห็นในเรื่องเดียวกันนี้ว่า การจะเปลี่ยนให้เกษตรกรหันมาใช้กรดฟอร์มิคแทนกรดซัลฟิวริคไม่ใช่เรื่องยาก หากแต่ไม่ใช่ทำจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ต้องทำพร้อมกันทั้งภาคจึงจะเห็นผล 

เพราะหากข่าวที่โรงงานประกาศไม่ซื้อยางจากภาคอีสานเพราะใช้กรดซัลฟิวริคเป็นเรื่องจริง เกษตรกรจะรู้ด้วยตัวเองว่าขายยางไม่ได้ สุดท้ายก็จะต้องปรับเปลี่ยน เมื่อมีผลกระทบก็ต้องเปลี่ยน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากอะไร แค่เปลี่ยนจากกรดซัลฟิวริคมาใช้กรดฟอร์มิคเท่านั้นเอง

จากข้อมูลทั้งหมดพอจะทำให้เห็นภาพว่า การผลิตยางก้อนถ้วยต้องใช้กรดฟอร์มิค แทนการใช้กรดซัลฟิวริค ซึ่งเมื่อดูทิศทางก็จะเห็นว่าสัดส่วนหารใช้กรดฟอร์มิคในพื้นที่ภาคเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 60%

ขณะที่กรดซัลฟิวริค เหลือ 40% แต่คำถามก็คือ ทำอย่างไรให้สัดส่วนการใช้กรดฟอร์มิคเป็น 100% ซึ่งทาง กยท. ตั้งธงไว้แล้วว่าจะทำให้ได้ภายใน 2 ปี นั่นหมายยางพาราของไทยจะมีคุณภาพสูงขึ้นตามไปด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม