ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

รัฐ-เอกชน สร้างมาตรฐาน FSC ติดปีก ไม้ยางไทย สู่ ชีวมวล สากล

🌳ศักยภาพของไม้ยางพารามีอยู่ทุกส่วน ไม้ดีนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ และเครื่องเรือน เศษไม้นำไปใช้ผลิตไม้อัดหรือไม้บอร์ดประเภทต่างๆ

แต่อีกตลาดหนึ่งที่ไม้ยางมีศักยภาพสูง คือ นำไปเป็นไม้เชื้อเพลิง ในรูปของ “ชีวมวล” สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศยุโรป 

โดยนำเศษไม้มาบดและอัดแท่ง หรือที่เรียกว่า Wood Pellet เป็นชีวมวลที่ให้พลังงานความร้อนสูง ซึ่งจะเป็นการยกระดับเศษไม้ยางให้มีมูลค่าสูงขึ้น

แต่ปัญหาก็คือ ไม้ยางพารา ไม่ผ่านการรับรอง มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน หรือ FSC (Forest Stewardship Council) และ PEFC (Programme for the Endorsement of Forest Certification) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ต่างประเทศใช้ควบคุม ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อรับรองว่าไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ไม่ได้มาจากป่าธรรมชาติ และเป็นไม้ที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

การที่ไม้ยางไม่มีมาตรฐาน FSC และ PEFC รับรอง จึงเป็นเหมือน “โซ่” ล่าม Wood Pellet จากไม้ยางของไทยให้ส่งออกไม่ได้ 

ภายหลังได้เกิดความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน ในการร่วมกันสร้างหลักเกณฑ์และกำหนดมาตรการการจัดการสวนยางให้เป็นไปตามมาตรฐาน FSC และ PEFC โดย การยางแห่งประเทศไทย (กยท.)
และ สถาบันการรับรองไม้เศรษฐกิจแห่งชาติ  หรือ TECC (Thailand Forest Certification Council) จะเป็นผู้ควบคุมและออกใบรับรอง

เมื่อมีหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการรับรองมาตรฐานไม้ยางให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ภาคเอกชนจึงมั่นใจที่จะลงทุนโรงงานผลิต Wood Pellet เพื่อส่งออกมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแหล่งรองรับวัตถุดิบ และเพิ่มมูลค่าไม้ยางให้สูงขึ้นอีกด้วย

เมื่อปีที่แล้วได้มีการทำ MOU หรือบรรทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานในระดับสากล ระหว่าง กยท.  กับ บริษัท สยามฟอเรสแมเนจเม้นท์ จำกัด เพื่อสร้างหลักเกณฑ์ พร้อมกับสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางให้จัดการสวนยางอย่างยั่งยืนตามาตรฐานสากล

บริษัท สยามฟอเรสแมเนจเม้นท์ จำกัด อยู่ในเครือ บริษัท สยามสตีลอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)  ใช้เงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท สร้างโรงงานผลิต Wood Pellet จากเศษไม้ยาง เช่น กิ่ง แขนง ราก และเศษขี้เลื่อนจากไม้ยาง โดยจะนำมาบดเป็นผง จากนั้นนำไปอบแห้ง เพื่อลดความชื้น และนำมาอัดแท่งด้วยเครื่องอัดแรงดันสูงเพื่อให้สารลิกนินในเนื้อไม้ละลายออกและช่วยให้ไม้ติดกันเป็นแท่ง ให้ค่าพลังงานความร้อนประมาณ 4,500 กิโลแคลลอรี/กิโลกรัม 
ไม้ยางดี ไร้ตำหนิ แปรรูปเป็นไม้เฟอร์นิเจอร์
Wood Pellet แปรรูปจากเศษไม้ยาง
ล่าสุด กยท. ได้ทำ MOU กับ บริษัท นัมเบอร์ไนน์ กรีนพาวเวอร์ จำกัด ผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากไม้ยาง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาไม้ยางพาราของชาวสวนยางไทยให้ได้มาตรฐาน FSC เพื่อเพิ่มมูลค่าไม้ยางในประเทศ ส่งเสริมมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าในการส่งออก โดยใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบ แปรรูปสู่ธุรกิจพลังงานทางเลือกชีวมวล สร้างมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท. เผยว่า กยท. สนับสนุนการทำสวนยางตามมาตรฐาน FSC มาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการยางพาราประชารัฐ เกิดจากความร่วมมือระหว่าง กยท. ตัวแทนภาครัฐ และตัวแทนภาคเอกชน พร้อมทั้ง การมีส่วนร่วมของเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ 
ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท.
“บทบาทของ กยท. จะสนับสนุน ส่งเสริมและให้ความรู้เกษตรกรชาวสวนยาง ให้เห็นถึงความสำคัญและโอกาสในการพัฒนาสวนยางตามมาตรฐานระดับสากล เช่น มาตรฐาน FSC และ PEFC เพื่อเพิ่มมูลค่าไม้ยางให้กับเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ โดยใช้ไม้ยางและเป็นผลิตภัณฑ์จากไม้ยางในการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ หากเกษตรกรชาวสวนยางสนใจ กยท. พร้อมให้การสนับสนุนส่งเสริมและให้ความรู้อย่างเต็มที่ ดร.ธีธัช กล่าว

ส่วน บริษัท นัมเบอร์ไนน์ กรีนพาวเวอร์ ประกอบกิจการด้านการผลิตและจัดจำหน่ายเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood Pellet)  จดทะเบียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2559 ด้วยทุนจดทะเบียน 5,000,000 บาท นอกจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลแล้ว ยังสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกและรับซื้อไม้โตเร็ว มันสำปะหลัง และพืชอื่นๆ ที่สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นพลังงานชีวมวล
advertivsing
สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
ดร.วระชาติ ทนังผล กรรมการผู้จัดการ กล่าวว่า การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจะเป็นโอกาสในการสนับสนุนสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และกระตุ้นให้เกษตรกรชาวสวนยางเห็นถึงความสำคัญในการจัดการสวนยางให้อยู่ในระดับมาตรฐานระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐาน FSC 

เนื่องจากมาตรฐานดังกล่าว จะเป็นการรับรองคุณภาพและที่มาของไม้ยางส่งออกจากไทย ว่าเป็นสินค้าคุณภาพที่เกิดจากการจัดการสวนยางอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากล เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าในการขายไม้ยาง และผลิตภัณฑ์จากไม้ยางไปยังต่างประเทศ  

“ปัจจุบันต่างประเทศต้องการไม้ยางจากไทยค่อนข้างสูง โดยการใช้ไม้ยาง และเศษไม้ยางที่เหลือจากแปรรูปมากถึง 80% เมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจพลังงานเชื้อเพลิง แต่เราผลิตและจำหน่ายเพียงในประเทศเป็นหลัก และส่งออกเพียงบางประเทศเท่านั้น
ดร.วระชาติ ทนังผล กรรมการผู้จัดการ
“เนื่องจากตลาดใหญ่ๆ เช่น ยุโรป และญี่ปุ่นมีความต้องการพลังงานทางเลือกมากก็จริง แต่ต้องมีมาตรฐานสากลรับรองที่มาของแหล่งวัตถุดิบจึงจะส่งออกได้ ซึ่งมาตรฐาน FSC จะเป็นตัวยืนยันได้ว่า ไม้จากสวนยางของไทยที่ใช้ผลิตพลังงานชีวมวล ได้จัดการสวนอย่างเป็นระบบตามมาตรฐาน FSC ที่สากลยอมรับ” 

“ถ้าจัดการสวนยางได้ตามมาตรฐาน จะเป็นการเพิ่มโอกาสและรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางเพิ่มขึ้น ทางบริษัทมีความพร้อมที่จะสนับสนุน ด้านการอบรม และให้ความรู้ถึงผลตอบแทนเมื่อเกษตรกรนำสวนยางเข้าสู่มาตรฐาน โดยตั้งเป้าไว้ 10,000 - 15,000 ไร่/ปี” ดร.วระชาติ กล่าว

ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางเข้าสู่มาตรฐาน FSC จะเป็นช่วยเพิ่มศักยภาพไม้ยางไทยให้มีมูลค่าสูงขึ้น รวมทั้งคาดหวังว่า มูลค่าไม้ยางของเกษตรกรจะมีราคาสูงขึ้น




Advertising
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม