ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ผลิตปุ๋ยหมัก จากวัสดุเหลือใช้ในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ได้ธาตุอาหารสูง

ปัจจุบันการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับพืชเป็นที่สนใจของเกษตรกรทั่วไป ควรใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อให้ดินคงความอุดมสมบูรณ์ และเพิ่มประสิทธิภาพการดูดธาตุอาหารของพืช โดยปกติปุ๋ยอินทรีย์จะมี 3 ชนิดใหญ่ๆ

ชนิดแรกได้แก่ ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้จากมูลสัตว์ ชนิดที่สองคือปุ๋ยพืชสด เป็นปุ๋ยที่ได้จากการไถกลบพืช ส่วนใหญ่ จะเป็นพืชตระกูลถั่ว และชนิดที่สามคือปุ๋ยหมักเป็นปุ๋ยที่ได้จากการสลายตัวของวัสดุอินทรีย์ เช่น เศษพืช/สัตว์

ปัจจัยที่จำเป็นในการผลิตปุ๋ยหมัก

1 คุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมัก : วัสดุที่นำมาใช้ต้องมีปริมาณธาตุอาหารพืชสูงพอสมควร และมีค่าสัดส่วนของคาร์บอนกับไนโตรเจน (C/N ratio) ไม่สูงนัก เพื่อให้จุลินทรีย์สามารถย่อยสลายวัสดุอินทรีย์ ดังกล่าวได้ง่าย เช่น ขี้เลื่อยมีค่า C/N ratio ประมาณ 500 จะถูกจุลินทรีย์ย่อยเพื่อให้เป็นปุ๋ยหมักได้ยากกว่าแกลบ ซึ่งมีค่า C/N ratio เพียง 64 ดังนั้นถ้าจะให้ขี้เลื่อยย่อยได้ง่ายต้องลดค่า C/N ratio โดยการเพิ่ม N ลงไปในระหว่างการหมัก เพื่อให้ค่า C/N ratio ลดลง

2 จุลินทรีย์ที่ใช้ย่อย : ควรเป็นจุลินทรีย์ที่มีความเฉพาะกับวัตถุดิบที่ใช้ทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้การย่อยสลายเป็นไปอย่างรวดเร็ว [ในการทำปุ๋ยหมักบางครั้งจำเป็นต้องเพิ่มอาหารให้กับจุลินทรีย์ด้วย เช่น มีการผสมราข้าวหรือมูลสัตว์ (ที่มีไนโตรเจนสูง) ]

3 กระบวนการระหว่างการหมัก : ในการผลิตปุ๋ยหมักต้องมีการจัดการที่เหมาะสม เช่น การควบคุมความชื้น การควบคุมอุณหภูมิ ดังนั้นต้องพลิกกองเพื่อลดอุณหภูมิ และให้น้ำเพื่อรักษาระดับความชื้นที่เหมาะสม

 วัสดุเหลือใช้จากโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน

ในกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มพบว่า วัตถุดิบทะลายปาล์มสด 1,000 กิโลกรัม จะให้น้ำมันประมาณ 200 กิโลกรัม ทะลายเปล่าประมาณ 220 กิโลกรัม เมล็ดในประมาณ 50 กิโลกรัม กะลาประมาณ 55 กิโลกรัม กากตะกอนและน้ำประมาณ 475 กิโลกรัม

จะเห็นว่าในกระบวนการสกัดน้ำมันปาล์ม มีส่วนที่เหลือจากกระบวนการสกัดน้ำมันมากกว่าส่วนที่นำไปใช้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องนำวัสดุเหลือเหล่านั้นมาใช้เป็นประโยชน์
ข้อได้เปรียบในการทำปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้ในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
1 วัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยมีปริมาณมาก และคุณสมบัติของวัตถุดิบค่อนข้างคงที่
2 วัตถุดิบมีตลอดทั้งปี แม้ว่าบางช่วงจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่ก็ยังมีอย่างต่อเนื่อง
3 วัตถุดิบมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำปุ๋ยหมัก ซึ่งในการทำปุ๋ยหมักจะใช้ทะลายเปล่าซึ่งมีค่า C/N ratio ประมาณ 54 pH ประมาณ 8.7 ผสมกับกากตะกอน ซึ่งมีค่า C/N ratio ประมาณ 16.8 pH ประมาณ 8.0

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์มน้ำมัน

1 ใช้เครื่องสับทะลายย่อยทะลายให้มีขนาดเล็ก เพื่อความสะดวกในการคลุกกับกากตะกอน
2 ผสมทะลายที่สับแล้วกับกากตะกอน ในสัดส่วนทะลายเปล่าสับ 8 ส่วน กับกากตะกอน 2 ส่วน (โดยปริมาตร) คลุกให้เข้ากัน กรณีที่ใช้เชื้อจุลินทรีย์สาหรับย่อยสลายให้ผสมเชื้อในขั้นตอนนี้
3 หลังจากคลุกผสมแล้ว รดน้ำให้พอเปียกไม่ต้องแฉะ
4 ตั้งกองให้สูงอย่างน้อย 1 เมตร เพื่อให้มีการสะสมความร้อนในช่วงแรกของการหมัก
5 ในช่วง 15 วันแรกของการหมัก ควรปิดกองปุ๋ยด้วยพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและเพิ่มอุณหภูมิ ภายในกอง และเริ่มกลับกองหลังจาก 15 วัน
6 กลับกองทุก 7 วัน ถ้าพบว่าปุ๋ยหมักแห้งให้รดน้ำ
7 ปุ๋ยหมักจะนาไปใช้ได้เมื่อมีการย่อยสมบูรณ์แล้วสังเกตได้จากอุณหภูมิลดลง ในการทำปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์มใช้เวลาหมักประมาณ 45-60 วัน ซึ่งเวลาการหมักเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับการใช้เชื้อจุลินทรีย์ที่เหมาะสม การควบคุมความชื้น และการควบคุมอุณหภูมิภายในกองปุ๋ยในช่วงเวลาต่างๆ

 ทะลายเปล่า
 กากตะกอน
ย่อยวัตถุดิบให้มีขนาดเล็ก
 วัตถุดิบที่ผสมแล้วพร้อมตั้งกองปุ๋ย
 คลุมกองด้วยพลาสติกเพื่อรักษาความชื้น
 กองปุ๋ยอายุ 7 วัน ใส่เชื้อ
การกลับกองปุ๋ยทุก 7 วัน โดยใช้รถตัก

คุณสมบัติปุ๋ยหมักที่ทำจากทะลายปาล์ม


ที่มา : การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเศษเหลือในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม โดย ธีระพงศ์ จันทรนิยม และ อัจฉรา เพ็งหนู คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



Advertising


ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม