ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กยท. งัด 3 มาตรการ ควบคุมยาง ผลักดันใช้ยางในประเทศ และพัฒนาตลาดยาง แก้ปัญหาราคายางด่วน

การยางแห่งประเทศไทย เผยผลหารือแนวทางแก้ปัญหาราคายาง ร่วมกับภาคเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และภาคเอกชน กระทรวงเกษตรฯ เตรียมประกาศตั้งพนักงาน กยท. ใช้อำนาจตาม มาตรา 41 พ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ให้มีประสิทธิภาพ ชูการแปรรูปยางสู่ผลิตภัณฑ์ ผลักดันใช้ยางภายในประเทศให้เป็นรูปธรรม พร้อมเดินหน้าพัฒนาตลาดซื้อขายยางพาราไทย

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า กยท. ได้หารือร่วมกับตัวแทนเกษตรกร ตัวแทนสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงผู้ประกอบกิจการยางทั้งในและต่างประเทศ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสำคัญ 3 ประเด็นหลัก คือ 

ประเด็นที่ 1 การใช้ พ.ร.บ. ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบการทำงานทั้งระบบ โดยกระทรวงเกษตรฯ จะออกประกาศแต่งตั้งพนักงาน กยท. เป็นเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ. ควบคุมยาง มาตรา 41 ให้มีประสิทธิภาพ

ประเด็นที่ 2 รัฐบาลจะเร่งผลักดันการใช้ยางพาราในหน่วยงานของรัฐ และภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ซึ่งในส่วนของภาครัฐนั้น ปีงบประมาณ 2560 เหลือเวลาอีก 3 เดือน ในการเร่งรัดให้แต่ละหน่วยงานดำเนินการให้เกิดการใช้ยางให้ได้มากที่สุด

รวมทั้งในปี 2561 จะผลักดันให้มีการตั้งงบประมาณของแต่ละภาคส่วนในการที่จะใช้ยางในภาครัฐมากขึ้น เป็นการส่งเสริมการใช้ยางในรูปแบบหรือนวัตกรรมต่างๆ เพื่อให้เกิดการแปรรูปมากขึ้น

ในส่วนของภาคเอกชนจะเป็นการร่วมมือและรณรงค์ให้หันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางพาราภายในประเทศให้มากขึ้น โดยเน้นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากยางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า 
ประเด็นสุดท้าย ระบบตลาดภายในประเทศ กยท. ผลักดันการซื้อขายจริง ตั้งแต่ตลาดระดับท้องถิ่นของ กยท. เพื่อลดความเสี่ยงหรือการเก็งกำไรจากตลาดซื้อขายล่วงหน้า และเปิดโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงตลาดและการบริการได้มากขึ้น รวมถึงตลาดกลาง 6 แห่ง ของ กยท. จะรองรับผลิตภัณฑ์แปรรูปที่มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่ายางพารา

นอกจากนี้ ยังมีตลาดกลางระดับภูมิภาค (RRM) ของ 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่ง กยท.ได้เดินหน้าผลักดันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการแก้ปัญหาราคายางผันผวน ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กยท. ได้เชิญผู้ประกอบกิจการยางเอกชนรายใหญ่ของประเทศ ได้แก่ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด บริษัท เซาท์แลนด์ รับเบอร์ จำกัด และล่าสุดยังมีผู้แทนจากบริษัทผู้ส่งออกรายใหญ่อีก 2 บริษัท ทั้ง บริษัท ไทยฮั้วยางพาราจำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น ประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมหารือแนวทางแก้ไขสถานการณ์ราคายางภายในประเทศ
- Advertisement - 


นอกจากนี้ ยังได้หารือกับบริษัทต่างประเทศหลายแห่งที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ของ กยท. เช่น บริษัท ไห่หนาน (สิงคโปร์) จำกัด บริษัท ชิโนแคม จำกัด ในการหาแนวทางด้านราคาซื้อขายระหว่างประเทศเช่นกัน ซึ่งต้องแก้ไขทั้ง 2 ระดับ ทั้งระดับตลาดที่มีการซื้อขายล่วงหน้า และตลาดการซื้อขายภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการต่างๆ อยู่ระหว่างการหารือแนวทางเพื่อร่วมมือกันในอนาคต แต่คาดว่าตลาดยางพาราในช่วงครึ่งปีหลังนั้น ปัจจัยพื้นฐานยังเป็นเรื่องที่ดีอยู่ ทั้งความต้องการใช้ยาง และปริมาณยางพาราที่ออกสู่ท้องตลาด ขณะนี้ จะเน้นการแก้ปัญหาเรื่องการเก็งกำไรราคายางในตลาดซื้อขายยางล่วงหน้า แต่โดยภาพรวมแล้ว ยางยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะเติบโตในอนาคต 
สิ่งสำคัญ คือ ตลาดซื้อขายล่วงหน้าจะต่างจากตลาดส่งมอบจริง ตลาดส่งมอบจริง ถ้ามีการตัดสินใจซื้อวันนี้ ราคามันเกิดขึ้นทันที ส่วนตลาดซื้อขายล่วงหน้า เป็นการซื้อขายบนกระดาษแผ่นเดียว เพราะฉะนั้นตลาดจะไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่เราในฐานะผู้ผลิตจะเป็นผู้ได้รับผลกระทบ จึงอยากแนะนำว่าควรมีการแยกตลาดออกมา อย่าเอาสองตลาดมาพันกัน ในที่สุด ถ้าเราเอาตลาดซื้อขายล่วงหน้ามาเป็นตัวกำหนดการซื้อขายจริงเพียงอย่างเดียว ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่สุดก็คือเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนั้น ควรมีการบริหารจัดการทั้ง 2 ตลาด ให้มีความชัดเจน” ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย


advertivsing


สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม