ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

“ปุ๋ยปาล์ม” มีสูตรสำเร็จหรือไม่

สังเกตมั้ยว่าถ้าเห็นปาล์มสวนไหนทะลายดกๆ ผลผลิตสูงๆ คำถามยอดฮิตที่มักจะมีคนถาม... “ใส่ปุ๋ยสูตรอะไร...?”

เพราะเชื่อว่าถ้าได้ใส่ปุ๋ยสูตรเดียวกันแล้วจะได้ผลผลิตสูงแบบเดียวกัน

คำถามก็คือ “ปุ๋ยปาล์ม” มีสูตรสำเร็จหรือไม่...?

ข้อมูลวิชาการจาก “หนังสือสารพันปัญหาคาใจ ปาล์มน้ำมัน” อธิบายประเด็นนี้ว่า สวนปาล์มแต่ละสวนมีความแตกต่างกัน ทั้งสภาพพื้นที่ สายพันธุ์ การดูแล และปริมาณผลผลิต จึงก็อปปี้สูตรปุ๋ยมาใช้ร่วมกันไม่ได้ แต่หากจะใส่ปุ๋ยให้ได้ประสิทธิภาพต้องใส่ตามความต้องการของต้นปาล์ม หรือ ตามปริมาณผลผลิต

โดยแบ่งเป็นช่วงปาล์มอายุน้อยยังไม่ให้ผลผลิต และปาล์มช่วงให้ผลผลิต 

สำหรับในปาล์มอายุน้อยยังไม่ให้ผลผลิต หรือช่วงอายุ 1-3 ปี ช่วงนี้ยังไม่ควรไว้ทะลาย ต้องหักช่อดอกทิ้ง ต้นปาล์มจึงไม่จำเป็นต้องการปุ๋ยไปเลี้ยงทะลายมาก ช่วงนี้อาจใช้ปุ๋ยสูตรเสมอได้ เช่น สูตร 15-15-15 หรือปุ๋ยสูตรปาล์มเล็กที่มีธาตุอาหารตัวหน้า (ไนโตรเจน N) สูงได้

เมื่อปาล์มเริ่มให้ทะลายแล้ว ซึ่งปัจจุบันปาล์มสายพันธุ์ใหม่จะเริ่มออกทะลายตั้งแต่อายุ 2 ปีกว่าๆ จำเป็นต้องเพิ่มปุ๋ยตัวท้าย (โปแตสเซียม K) หรือ 0-0-60 มากขึ้นเนื่องจากในทะลายปาล์มมีธาตุโปแตสเซียมสูง (2.9% ของทะลายเปล่าที่แห้ง) เมื่อมีการตัดทะลายปาล์ม ธาตุโปแตสเซียมก็จะออกไปกับทะลาย เพื่อรักษาสมดุลของปริมาณธาตุอาหารในปาล์มจึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ย 0-0-60 ให้กับปาล์มมากกว่าปุ๋ยตัวอื่น

ควรใส่ปริมาณเท่าไหร่...?
เนื่องจากปาล์มน้ำมันแต่ละสวนจะให้ทะลายแตกต่างกัน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยให้ปาล์มของแต่ละสวนจึงแตกต่างกัน 

นอกจากนั้นในแต่ละปีปาล์มจะให้ทะลายไม่เท่ากัน หากปีไหนปาล์มมีทะลายมากกว่า การใส่ปุ๋ยในปีถัดไปก็จะต้องเพิ่มปริมาณมากขึ้น แต่ถ้าปาล์มมีทะลายไม่มากจนผิดปกติก็ยังคงใส่ปุ๋ยในระดับเดิม

สรุป คือ การใส่ปุ๋ยในสวนปาล์ม “ไม่มีสูตรสำเร็จ” แต่จะใส่ตามความต้องการของปาล์ม หรือตามผลผลิตปาล์ม ถ้าปาล์มออกทะลายมากก็จะต้องการปุ๋ยมากเช่นกัน แต่สัดส่วนโดยประมาณ N:P:K เท่ากับ 2:1:3

เราจะรู้ได้ว่าปาล์มต้องการปุ๋ยเท่าไหร่ เพื่อความแม่นยำ จำเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ตัวอย่างใบเพื่อดูปริมาณธาตุอาหารที่สะสมในปาล์มแล้วนำค่าวิเคราะห์ไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน จะทำให้ทราบว่าปาล์มมีปริมาณธาตุอาหารในใบขาด พอดี หรือเกิน ถ้าปริมาณธาตุอาหารในใบขาดก็จะเพิ่มปุ๋ย ถ้าเกินก็จะลดปุ๋ย


อ้างอิง : สารพันปัญหาคาใจ ปาล์มน้ำมัน สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
คณะผู้เขียน
อาจารย์ธีระพงศ์ จันทรนิยม (ศูนย์วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.)
รศ.ดร.สุธัญญา ทองรักษ์ (คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.)
ผศ.ดร.สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย (คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.)
นายธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ หัวหน้าทีมที่ปรึกษาการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (GIZ) 
- Advertisement -



ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม