ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ชาวสวนปาล์มนครนายก ฝ่าวิกฤติราคาปาล์มได้ เพราะผลผลิตสูง

นาทีนี้ถ้าถามว่า ปลูกพืชตัวไหนดีที่สุด คำตอบที่ได้คงแย่พอๆ กันทุกตัว

แต่สำหรับ ศิริพร พรพนาวัลย์ ชาวสวนปาล์ม อ.องครักษ์ จ.นครนายก เธอตอบจากประสบการณ์การทำพืชหลายตัวว่า ทำสวนปาล์มน้ำมัน มีรายได้ดีและมีรายได้ต่อเนื่องกว่าพืชเศรษฐกิจ อย่าง สวนส้ม และนาข้าว

แม้ปาล์มน้ำมันจะมีบางช่วงราคาตกต่ำ แต่เพราะมีผลผลิตอยู่ในเกณฑ์สูง โดยช่วงปาล์มอายุ 3-4 ปี เธอได้ผลผลิตประมาณ 3-4 ตัน/ไร่/ปี ช่วงปาล์มอายุ 5-6 ปี ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 6 ตัน/ไร่/ปี ปัจจุบันปาล์มอายุครบ 7 ปี ผลผลิตยังคงสูงขึ้นต่อเนื่อง จึงทำให้ยังพอฟันฝ่าวิกฤติช่วงราคาปาล์ม 3 บาทกว่าๆ ได้

“ตอนทำนารายได้ไม่พอรายจ่ายเพราะมีที่แค่ 50 ไร่ ถือว่าน้อยมากๆ พอเรามาทำสวนปาล์มเรามีรายได้ดีกว่า” ศิริพรบอก 
ศิริพร พรพนาวัลย์ ชาวสวนปาล์ม อ.องครักษ์ จ.นครนายก
รูปแบบการทำสวนปาล์มของศิริพร และเกษตรกรรายอื่นๆ ใน จ.นครนายก ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สวนส้มเก่า มีการขุดร่องน้ำแบบแถวเว้นแถวเพื่อให้ปาล์มทุกต้นได้รับน้ำอย่างเพียงพอ มีพื้นที่ระหว่างแถวไว้สำหรับวางทางใบ-ใส่ปุ๋ย และใช้เรือเป็นพาหนะขนส่งในสวนก่อนจะทยอยขึ้นมาบนฝั่ง

เธอเล่าว่าก่อนที่จะมาทำสวนปาล์มได้ทำสวนส้มและนาข้าวมาก่อน โดยเฉพาะการทำนาข้าวอยู่ 2-3 ปีนั้นรายได้แทบไม่พอรายจ่าย เพราะการทำนาข้าวต้องอาศัยพื้นที่จำนวนมากจึงจะได้ผลกำไรมาก แต่พื้นที่ 50 ไร่ ของเธอไม่เพียงพอสำหรับทำนาข้าวแน่นอน

จึงศึกษาจากเพื่อนบ้านในละแวกใกล้เคียงที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ทั้งเรื่องการปลูก สภาพแวดล้อม ดิน น้ำ อากาศ รวมถึงสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ใช้ด้วย

แรกๆ เราไม่เคยปลูกมันก็ล้มลุกคลุกคลาน ถามคนโน้นทีคนนี้ที ค่อยๆ หาข้อมูลเรื่อยๆ แล้วก็สั่งกล้าปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ เดลี่ คอมแพ็ค ตัดปาล์มปีแรกๆ ปาล์มอายุ 3-4 ปี ได้ผลผลิต 3-4 ตัน/ไร่/ปี พอ 5-6 ปีขึ้นไป ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 6 ตัน/ไร่/ปี  และมีแนวโน้มผลผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ 
สายพันธุ์ เดลี่ คอมแพ็ค อายุ 7 ปี 
ทางใบปาล์มช่วยเก็บความชื้นและเพิ่มอินทรียวัตถุ
ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ปีละ 1 ครั้ง ช่วยบำรุงดิน
แนวทางการทำสวนปาล์มของศิริพรนั้นจะใส่ปุ๋ยตามอายุ ตามผลผลิตที่อ้างอิงจากวิชาการเป็นหลัก นอกจากนั้นก็ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ปีละ 1 ครั้งๆ ละประมาณ 6 รถบรรทุก และใส่ปุ๋ยเคมีปีละ 3-4 ครั้ง มีสูตรเสมอ, 0-0-60 และธาตุอาหารรองอย่าง แมกนีเซียม และโบรอน เสริม

เจ้าของสวนเล่าว่าการทำสวนปาล์มเมื่อใส่ปุ๋ยต้องให้ทั้งธาตุอาหารหลัก (N-P-K) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม โบรอน แมกนีเซียม) แม้แต่มูลสัตว์ หรือการวางทางใบเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดินเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ต้นปาล์มดึงธาตุอาหารจากปุ๋ยเคมีไปใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

แต่การทำสวนปาล์มสมัยใหม่เกษตรกรต้องเรียนรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อให้ทราบต้นทุน กำไร ของสวน แต่เนื่องจากผลผลิตในสวนค่อนข้างสูงจึงสามารถบริหารจัดการต่อไปได้ 
เธอยอมรับว่าปัญหาราคาปาล์มตกต่ำทำให้เกษตรกรใส่ปุ๋ย ดูแล ต้นปาล์มน้อยลงเนื่องจากคำนวณแล้วได้ไม่คุ้มทุน เธอเองทำต้นทุนค่อนข้างสูงเพราะใส่ปุ๋ยค่อนข้างมาก ทั้งปุ๋ยเคมี ทั้งขี้ไก่ มันคือต้นทุนที่เพิ่มเข้ามา แต่พอใส่ปุ๋ยมากผลผลิตก็มากตาม ตรงนี้มันทำให้เธออยู่ได้

“จริงๆ เคยมีช่วงที่ปาล์มราคาตกต่ำกว่านี้ ประมาณ 3 บาทกว่าๆ แต่ถ้าปาล์มราคาแบบนี้เกษตรกรก็เหนื่อยหน่อย แต่มันก็มีทั้งช่วงที่ราคาขึ้น-ลง พอราคาเป็นแบบนี้เกษตรกรก็ต้องปรับตัว

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพืชตัวอื่นที่เราเคยทำมา ไม่ว่าจะเป็นส้ม หรือว่านาข้าว มันก็มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ทำปาล์มเรารู้สึกว่าได้ดีกว่าทำนา เปรียบเทียบกับสวนส้มสวนปาล์มกำไรสู้ไม่ได้ แต่ทำสวนส้มต้องใช้แรงงานจำนวนมากกว่าปาล์ม รูปแบบปัญหามันแตกต่างกันออกไป พอเปรียบเทียบท้ายสุดมันก็ยังน่าปลูกกว่าพืชอื่นๆ ก็ภาวนาว่าปีหน้าให้ได้ราคาดีกว่านี้ ตอนนี้เราวางแผนปลูกปาล์มเพิ่ม 30 กว่าไร่ พื้นที่ตรงนั้นตั้งใจว่าจะปลูกพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า ยูนิวานิช” 

ขอขอบคุณ
>>ศิริพร พรพนาวัลย์
อ.องครักษ์ จ.นครนายก

เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ค. 2561

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม