ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ผลิตไฟฟ้า และกำหนดโครงสร้างราคา แนวทางแก้ปัญหาราคาปาล์มไทย ll อธิราษฎร์ ดำดี

เว็บไซต์ยางปาล์ม สัมภาษณ์พิเศษ อธิราฎร์ ดำดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคนหนึ่งของไทย ประเด็นเรื่องมาตรการ Zero Palm Oil ของกลุ่มประเทศยุโรป (อ่าน อธิราษฎร์ ดำดี วิเคราะห์ มาตรการ Zero Plam Oil ของกลุ่มประเทศยุโรปและผลกระทบต่อไทย)

นอกจากนั้นยังได้สัมภาษณ์เรื่องการแก้ปัญหาปาล์มน้ำมันของไทย ควรจะแก้ไขในทิศทางใด

 
 นขณะที่ค่าครองชีพก็สูงขึ้น ค่าเชื้อเพลิง ค่าน้ำมันดีเซลก็สูงขึ้น แต่กลับไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงพลังงานทางเลือกที่ช่วยลดค่าครองชีพเขาได้ ผมมองว่า “รัฐบาลใจดำ
คนที่ติดตามจากข่าวอาจจะมองว่าน้ำมันปาล์มกำลังอยู่ในช่วงขาลง จากข่าวมาตรการ Zero Palm Oil นำไปผูกกับเรื่องราคาปาล์มที่กำลังต่ำ ถ้าประเทศไทยจะแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ ควรทำอย่างไร...?

ผมดูสถิติแล้วประเทศไทยไม่มีสถิติที่จะส่งออกน้ำมันปาล์มไปทางยุโรปเลย แล้วเราเคยมีแผนสำรอง อย่างแผนเรื่องไบโอดีเซลก็เป็นหนึ่งในแผนหลัก ถ้าวันนี้เราใช้ B10 ประมาณ 1.5-1.6 ล้านตัน มันก็หมด แล้วก็บริโภคพอในประเทศอีก 1-1.2 ล้านตัน น้ำมันที่มีอยู่ในประเทศทั้งหมด 2 ล้านกว่าตัน/ปี มันก็จะเหลือสต็อกนิดเดียว แต่เป็นเพราะเรายังใช้ไบโอดีเซล B7 น้ำมันในสต็อกจึงล้น

ผมมองว่าการบริหารจัดการภายในประเทศเป็นวิธีการง่ายที่สุดที่สามารถแก้ได้ แก้ได้ก่อนแล้วค่อยขยับไปทำอย่างอื่น คนไทยอาจจะไม่เก่งเรื่องตลาดสากล แต่ก็ต้องค่อยๆ พัฒนากันไปเพื่อออกไปต่อสู้ในตลาดโลกให้ได้

วันนี้ปาล์มที่ถูกปลูกเพิ่มขึ้นมา เป็นไปตามแผนเพื่อป้อนไบโอดีเซล เมื่อเราไปหยุดไว้แค่ B7 มันก็เลยทำให้มีปัญหาทั้งระบบ มันก็จะย้อนกลับไป “กินตัวเอง”

อย่าง B20 อาจจะเปิดเป็นบางสถานีบริการ แต่ต้องมีให้มากกว่านี้ เพราะว่ามีการทดสอบ B20 ของกระทรวงพลังงานตั้งแต่เมื่อหลายปีที่แล้ว ซึ่งมีผลทดสอบที่น่าพอใจ แต่เมื่อมีสถานีเปิดให้บริการจำนวนน้อย แล้วก็ไม่เปิดโอกาสให้ B20 เป็นพลังงานทางเลือกสำหรับประชาชนทั่วไป ในขณะที่ค่าครองชีพก็สูงขึ้น ค่าเชื้อเพลิง ค่าน้ำมันดีเซลก็สูงขึ้น แต่กลับไม่มีโอกาสที่จะเข้าถึงพลังงานทางเลือกที่ช่วยลดค่าครองชีพเขาได้ ผมมองว่า “รัฐบาลใจดำ”

สำหรับคนที่มีปาล์มอยู่แล้วผมคิดว่าถ้าหากทุกภาคส่วนร่วมกันทำงาน ร่วมกันบูรณาการจริงๆ เพราะวิธีการปฏิบัติต่างๆ มันต้องอยู่ในระบบของผู้ที่เข้าใจปัญหาและมีส่วนได้ส่วนเสีย อย่าง ปาล์มคุณภาพช่วยยกระดับราคาขึ้นไปได้ ถึงราคาไม่ดีแต่อย่างน้อยช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรสามารถดูแลผลผลิตต่อไปได้

ถ้าระบบคุณภาพจะเกิดขึ้นมาได้ หมายความว่า สวน ลานเท และโรงงานจะต้องทำงานร่วมกัน ราชการเป็นแค่เพียงคนกลาง หลักเกณฑ์ต่างๆ ถ้าจะไปกำหนดโดยไม่เข้าใจมันก็จะใช้ไม่ได้ เดี๋ยวก็จะล้มเหลวอีก แต่ถ้าเอาคน 3 ฝ่ายที่ผลิตด้วยกัน คนหนึ่งผลิตปาล์ม คนหนึ่งรวบรวมปาล์ม อีกคนหนึ่งเอาปาล์มไปผลิตน้ำมัน 3 ฝ่ายมาคุยร่วมกัน แล้วหน้าที่ของภาคราชการก็คือดูแลให้ระบบมันเกิดความสมดุล ไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ไม่ให้มีการฉ้อฉล ทุจริตต่างๆ หรือไม่ให้เกิดความปั่นป่วนขึ้นในตลาด

วันนี้น้ำมันปาล์มดิบอยู่ที่ 18 บาท น้ำมันปาล์มขวดควรจะอยู่ที่ 30 บาท หรือน้ำมันไบโอดีเซลควรจะอยู่ที่ 25 บาท ก็แค่ดูแลตรงนี้ไป นั่นคือหน้าที่ของรัฐ แต่ถ้ารัฐคิดว่าจะลงมาเป็นผู้เล่นเสียเอง ลงมาใช้เงินเสียเองเพื่อเอาเงินของรัฐมาจ่ายให้ตรงนั้นตรงนี้ อย่างนี้เป็นวิธีการเล่นที่ผิด มันผิดไปจากระบบเศรษฐกิจเดิม ไม่ได้อาศัยกลไกทางการตลาดทำงาน รัฐควรจะมีหน้าที่เพียงเพื่ออำนวยให้กลไกการตลาดอยู่ในสภาพคล่องเท่านั้น

ผมคิดว่าถ้าระบบคุณภาพดีขึ้น ระบบกลไกต่างๆ เริ่มขยับ ปาล์มน้ำมันก็ยังคงเป็นอาชีพที่ยังทนต่อเศรษฐกิจอยู่ได้ แต่ถ้ายังปล่อยให้ล้มเหลวอยู่อย่างนี้ ปาล์มน้ำมันตอบโจทย์ทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรไม่ได้แล้ว
  
โรงไฟฟ้ากระบี่ให้คำตอบว่าพร้อมที่จะผลิตอยู่ตลอดเวลา รอแต่ “เบื้องบน” เป็นคนสั่งการ ใช่ว่าจะต้องไปเริ่มทำอะไรใหม่ รถน้ำมันปาล์มวิ่งเข้าไปวันนี้สตาร์ทเครื่อง 18 ชั่วโมงก็จ่ายไฟเข้าระบบได้ทันที
ประเด็นเรื่องการนำน้ำมันปาล์มไปใช้ผลิตไฟฟ้า พี่อธิราษฎร์มองอย่างไร ในเรื่องของต้นทุนและความคุ้มค่า...?

เรื่องนี้อย่าเอาวิศวกร อย่าเอานักคณิตศาสตร์มาคิด ต้องเอานักเศรษฐศาสตร์และนักสังคมมาคิดครับ เราอาจจะมองว่าต้นทุนสูงขึ้นเมื่อเทียบกับถ่านหิน เพราะรัฐมีเป้าหมายที่จะทำโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กระบี่ ต้นทุนอยู่ที่ 4-5 บาท/กก. 

ความจริงแล้วกระบี่มีโรงไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิตเครื่องเพียงแค่ 100 MW ขณะที่ทั้งประเทศมีจำนวน 30,000 MW ผมคิดว่าสัดส่วนของค่า FT ที่จะเพิ่มขึ้นไม่ถึง 1 สตางค์ มันอาจจะอยู่ที่ ¼ สตางค์ด้วยซ้ำไป มันไม่ใช่ภาระที่ยิ่งใหญ่

แต่การใช้น้ำมันปาล์มผลิตไฟฟ้ามันเป็นเรื่องของ กุศโลบาย มันเป็นเรื่องของ CHR ยกตัวอย่างของอดีตที่ผ่านมาเมื่อปี 2558 ตอนนั้นราคาปาล์มเริ่มต่ำกว่า 4 บาท การไฟฟ้าเปิดประมูลน้ำมันเดือนละ 5,000 ตัน ประมูลอยู่ 3 เดือน ได้น้ำมันตั้งแต่ 22 บาทกว่าขึ้นไป จนกระทั่งทำให้น้ำมันในตลาดขึ้นไปถึง 28 บาท ปาล์มผลสดจากที่ราคาแตะ 3 บาท ขยับขึ้นไปอยู่ที่ 4.80 บาท แล้วตลาดมันก็เริ่มเคลื่อนไหว แล้วการไฟฟ้าก็หยุดซื้อเพราะเห็นว่ากลไกตลาดอยู่ในภาวะปกติ ไม่ใช่ไม่เคยทำ เคยทำครับแล้ว

การไฟฟ้าอาจจะไปตั้งธงว่าใช้ปีละ 100,000 ตัน ใช้เงินไปกี่พันล้านบาทไม่คุ้มค่า แต่จริงๆ แล้ว การเข้ามาเป็นผู้เล่นในลักษณะ ผู้เล่นสำรอง แต่เป็นผู้เล่นที่คอยเปลี่ยนเกมในตลาดทำให้ตลาดมันเริ่มเคลื่อนไหว โรงไฟฟ้ากระบี่เราใช้คำว่าเป็น “ฟองน้ำ” ที่คอยดูดซับน้ำมันที่ล้นสต็อก ไม่ใช่ว่าจะต้องเป็นตัวหลัก
ลองวันนี้รัฐประกาศว่า จะเปิดประมูลน้ำมันดิบเพื่อใช้ในการผลิตไฟฟ้ากระบี่เดือนละ 10,000 ตัน ราคาในตลาดก็จะเริ่มขยับทันที แล้วทำแผนไว้เลยปีละ 100,000 ตัน แต่จะซื้อหรือไม่ซื้อก็ดูสถานการณ์ตลาด วันนี้ราคาน้ำมันเตาราคา 20-21 บาท แต่ปล่อยให้ราคาน้ำมันปาล์มในเมืองไทยอยู่ที่ 16-17 บาทได้ยังงัย แล้วก็ยังบอกว่าต้นทุนแพงกว่า เพราะฉะนั้นงานนี้อย่าเอาวิศวกรมานั่งคิด คนเป็นรัฐมนตรี คนเป็นผู้บริหารจะต้องคิดในบริบทของเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ คิดในเชิงสังคมด้วย

แล้วโรงไฟฟ้ากระบี่เป็นเจตนารมณ์ของคนกระบี่ ที่เรียกร้องแล้วก็ดำเนินการจนกระทั่งสำเร็จ พร้อมที่จะทำงานอยู่ตลอดเวลา โรงไฟฟ้ากระบี่ก็ให้คำตอบว่าพร้อมที่จะผลิตอยู่ตลอดเวลา รอแต่ “เบื้องบน” เป็นคนสั่งการ ไม่ใช่ว่าจะต้องไปเริ่มทำอะไรใหม่ เครื่องมือติดตั้งทุกอย่างเรียบร้อย ถังน้ำมันขนาด 1,500 ตัน มีอยู่พร้อม รถน้ำมันปาล์มวิ่งเข้าไปวันนี้ผลิตวันนี้ได้ทันที สตาร์ทเครื่อง 18 ชั่วโมงก็จ่ายไฟเข้าระบบได้ทันที

หลายปีก่อนบอกว่าไฟฟ้าไม่พอ วันนี้กลับบอกว่าถ้าเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่เดี๋ยวไฟจะเกิน ปล่อยให้ตลาดตกต่ำจนกระทั่งเงียบกันทั้งเมือง เศรษฐกิจของกระบี่มีอยู่ 3 ด้าน มียางพารา ปาล์มน้ำมัน และการท่องเที่ยว ท่องเที่ยวตอนนี้อยู่ในหน้ามรสุมอยู่ในช่วงโลว์ซีซัน ซึ่งมียางพาราและปาล์มน้ำมันที่ขับเคลื่อนอยู่ตอนนี้ เกษตรกรคนสองกลุ่มนี้เข้าไม่ถึงโอกาสด้านการท่องเที่ยวเลย ท่องเที่ยวดียังงัยเข้าก็เข้าไม่ถึง เพราะเขาอยู่ในอีกสังคมหนึ่ง เป็นสังคมเกษตร รัฐไม่ดูแลปล่อยให้เศรษฐกิจ  2 ขา จากทั้งหมด 3 ขา มันหักไปได้ยังงัย
 
สาเหตุต่างๆ เกิดจากการไม่ทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อสั่งการไปแล้วก็ยังไม่ทำงานหรือยังล่าช้ากันอีก ผมเสนอว่าขอให้มีการ “ลงโทษทางวินัย” ต่อหน่วยงานที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กนป. และของรัฐบาล
จากการชุมนุมของเกษตรกรเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่ จ.กระบี่ มีตัวแทนภาครัฐมาขอให้เกษตรกรหยุดชุมนุมพร้อมรอฟังข่าวดีในการประชุม กนป. วันที่ 1 พ.ย.นี้ ในฐานะที่พี่อธิราษฎร์เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป. คาดเดาได้มั้ยครับว่า มาตรการที่รัฐจะช่วยอะไรบ้าง

ผมไม่เดาดีกว่า...แต่จะไปช่วยกันผลักดันให้มาตรการต่างๆ ดำเนินการทันที เพราะว่าเท่าที่รัฐพูดถึงก็มี 3 มาตรการเดิม คือ หนึ่งชดเชยเรื่องการส่งออก สองเรื่องเพิ่มการใช้น้ำมันไบโอดีเซลเป็น B20 เมื่อวันที่ 26 ต.ค.ก็เปิดตัวไปแล้วว่าจะใช้เพิ่มขึ้นวันละ 400 ลิตร แต่ก็ยังเป็นการทดลองใช้อยู่ ส่วนเรื่องที่สาม คือการบังคับโรงงานหีบปาล์มน้ำมันเปอร์เซ็นต์ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 18% ซึ่งเมื่อประกาศออกมาแล้วก็ยังมีเวลาในการผ่อนปรนให้อีก 6 เดือน

มาตรการทั้ง 3 ข้อนี้ ไม่ได้มีผลทันทีต่อตลาดปาล์มน้ำมัน แต่ถ้ามาตรการโรงไฟฟ้าหรือการเพิ่มไบโอดีเซล B20 เพิ่มสถานีทันที 100 200 สถานี ไม่ใช้ทำอยู่ไม่กี่สถานี ทุกวันนี้ยังมีไม่ถึง 30 สถานีเลย ขสมก.จะใช้เพิ่มวันละ 400 ลิตร อย่างนี้มันไม่ตอบโจทย์ บขส.ผมไม่ทราบว่าจะใช้วันละกี่ร้อยลิตร แต่ผมดูแล้วเสียดายเงินค่าจัดอีเวนต์มากๆ เพราะมันเป็นแค่การจัดงานฉาบฉวย ให้เป็นข่าวเพื่อลดกระแสเท่านั้นเอง แต่ในข้อเท็จจริงผมคิดว่าผู้ประกอบการแล้วก็เกษตรกรทราบกันดีอยู่ว่ามันไม่ได้มีผลดีต่อตลาดอะไรเลย

อีกข้อหนึ่งที่ผมจะเสนอในที่ประชุม กนป. ว่าสาเหตุต่างๆ เกิดจากการไม่ทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อสั่งการไปแล้วก็ยังไม่ทำงานหรือยังล่าช้ากันอีก ผมจะเสนอว่าขอให้มีการ “ลงโทษทางวินัย” ต่อหน่วยงานที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของ กนป. และของรัฐบาล เพราะ กนป.เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ดูแลเรื่องปาล์มน้ำมัน เป็นองค์สูงสุดทางด้านปาล์มน้ำมัน เมื่อมีมาตรการออกมา เมื่อมีคำสั่งออกมา หน่วยงานราชการที่รับงานต่อมาต้องทำงาน

แต่เราพบว่า 5 เดือนครึ่งแล้วไม่มีความเคลื่อนไหวทางด้านใดๆ เลย ปล่อยให้สถานการณ์แย่ลงๆ ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นก็ควรมีการพิจารณาเรื่องการลงโทษด้วย ไม่เช่นนั้นทุกคนก็จะ “ลอยตัว” อยู่เหมือนเดิม

มาตรการหนึ่งที่อยู่ในข้อเสนอของเกษตรกร คือกำหนดราคาขั้นต่ำ 4.50 บาท/กก.หรือไม่ให้ต่ำกว่าต้นทุน จะได้รับการตอบสนองหรือไม่...?

ถ้าทางภาครัฐติดตามความคิดเห็นของกลุ่มพี่น้องชาวสวนปาล์มก็จะรู้ว่าความเดือดร้อนขยายวงไปทั่วจริงๆ ผมว่าก็ควรจะมีการพิจารณาในเรื่องของราคาขั้นต่ำ เพราะว่าผลปาล์มน้ำมันถูกประกาศให้เป็นสินค้าควบคุม หมายถึงผลปาล์มน้ำมันทะลายสด เป็นสินค้าควบคุมลำดับที่ 14 ประกาศเมื่อปี 2556 เพราะฉะนั้นมันก็ต้องอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ราคาสินค้าและบริการ ที่จะต้องดูแลไม่ให้มีความปั่นป่วนเกิดขึ้น ไม่ให้ต่ำกว่าทุน ไม่ให้มีใครเอากำไรเกินควร
  
รัฐบาลไม่ต้องเป็นคนที่เอาเงินมาซื้อปาล์ม นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาซื้อปาล์มจากเกษตรกร เพียงแค่กระตุ้นให้มันเกิดการทำงาน ให้กำลังซื้อมันมาจากตลาด
ถ้าสมมุติราคาต้นทุนปาล์มน้ำมันอยู่ที่ 3.50 บาท รัฐประกาศได้วันนี้เลยมั้ย ว่า ราคาผลราคาซื้อขั้นต่ำได้เลย โดยรัฐไม่ต้องใช้เงินอุดหนุน...?

ผมมีความเห็นที่แตกต่างอยู่ คือ ผมมองว่าราคาควรเป็นราคาที่มาจากตลาด รัฐบาลไม่ต้องเป็นคนเงินมาซื้อปาล์ม นายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาซื้อปาล์มจากเกษตรกร เพียงแค่กระตุ้นให้มันเกิดการทำงาน ให้กำลังซื้อมันมาจากตลาด ถ้าหากวัตถุดิบไม่ล้นตลาดมันมีช่องทางไป จะบอกว่ามาตรการส่งออก มาตรการ B20 และมาตรการหีบปาล์มให้ได้ 18% มันทำเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้น ราคาสูงขึ้น หรือมีการเอาไปใช้ในโรงไฟฟ้า พอน้ำมันมันเริ่มไหลได้มันไม่ล้นสต็อก ราคาในตลาดมันก็จะค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้นๆ เมื่อปรับตัวขึ้นไปอยู่ในระดับที่เกษตรกรรับได้ ราคาไม่ต่ำกว่าต้นทุน พอจะมีรายได้ที่จะกลับไปดูแลสวนได้ตามปกติ ผมคิดว่าเกษตรกรจะพอใจ

แต่ราคามันคงจะกระชากขึ้นทันทีไม่ได้ เพราะมันจะกระทบต่อตลาดมาก ราคาน้ำมันปาล์มดิบในเมืองไทย ผมมองว่าไม่จำเป็นต้องเทียบกับตลาดโลกหรือตลาดมาเลเซีย มันอาจจะสูงกว่าสัก 1-2 บาท มันก็เป็นกำแพงพอที่จะทำให้ไม่เกิดการนำเข้า ถ้าราคาต่างกันแต่ 2-3 บาทการนำเข้าก็เป็นไปได้ยาก แล้วก็จัดระบบภายในขึ้นมาให้เกิดการหมุนเวียน ตลาดเกิดการเคลื่อนไหวเดี๋ยวราคามันจะเริ่มมา จะบวกทีละ 10-20 สตางค์ไล่ขึ้นไป เคยมีนะครับสัปดาห์หนึ่งราคาขึ้นไป 2-3 ครั้ง ถ้ามันขึ้นไปเรื่อยๆ ตลาดก็จะเกิดการปรับตัว แล้วทุกอย่างก็จะเข้าสู่ภาวะปกติได้
   
เราอาจจะติดอยู่กับเงื่อนไขของความเป็นไทย แล้วก็การละเลยเรื่องของคุณภาพมาอย่างยาวนาน เราเลยมองว่าแก้ยาก จริงแล้วมันแก้ไม่ยาก
ฝากความคิดเห็นเรื่อง ระบบปาล์มคุณภาพ จำเป็นต้องขับเคลื่อนอย่างจริงจัง

ความคิดเห็นส่วนตัวผมอยากให้มีการทำ “โครงสร้างราคาปาล์มน้ำมัน” เพราะถ้ามันไม่มีราคาที่สะท้อนคุณภาพ ระบบคุณภาพปาล์มน้ำมันจะไม่มีทางเกิดขึ้นในเมืองไทย ถ้าประกาศขึ้นมาขั้นต่ำ 18% ก็จะอยู่อย่างนี้ ขยับคุณภาพขึ้นไปไม่ได้

เรามีตัวอย่างจากมาเลเซียซึ่งเขามีปาล์มเยอะกว่าเรามาก เขาสามารถดูแลระบบปาล์มของเขาให้นิ่งได้ เขาก็ใช้ระบบโครงสร้างราคา มีสูตรราคาเรียบร้อย แล้วผมเองผมศึกษาเรื่องนี้ของมาเลย์ ของอินโดฯ มา เพื่อดูว่าเขาพัฒนาโครงสร้างราคาได้อย่างไร

เขาพยายามทำเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 1900 เขาใช้เวลาแค่ปีครึ่ง ตั้งแต่ปี 2000-2002 เขายกระดับจาก 18.5% ไปอยู่ที่ 20-21% แล้วนิ่งอยู่ระดับนี้ตลอด เขาพบว่ายิ่งเขาขยายกำลังการผลิตมากจะมีผลกระทบต่อเปอร์เซ็นต์น้ำมันจะเริ่มต่ำลง เนื่องจากการควบคุมคุณภาพ

แล้วก็มาเลเซียถ้าในแผ่นดินใหญ่เปอร์เซ็นต์จะค่อนข้างต่ำ เพราะว่าเขาปลูกปาล์มซ้ำมา 4 รอบแล้ว เขาปลูกมา 100 ปีแล้ว แต่ในพื้นที่ที่เป็นดินภูเขาไฟหรือป่าปลูกใหม่ได้เปอร์เซ็นต์เฉลี่ยได้ระดับ 23% สูงสุดถึง 28% ก็มี

เรื่องของคุณภาพเรื่องของเปอร์เซ็นต์น้ำมัน มันส่งผลต่อรายได้ของภาคเกษตร และของอุตสาหกรรมโดยตรง ยิ่งทำเปอร์เซ็นต์ได้สูงเกษตรกรก็ยิ่งได้ราคาดี ยิ่งลดต้นทุนของเกษตรกรของโรงงานด้วย เพราะฉะนั้นราคาน้ำมันปาล์มมันจะมีมูลค่าสูงขึ้นตามคุณภาพของมัน เป็นผลตอบแทนที่ดี

แต่ว่าเราอาจจะติดอยู่กับเงื่อนไขของความเป็นไทย แล้วก็การละเลยเรื่องของคุณภาพมาอย่างยาวนาน เราเลยมองว่าแก้ยาก จริงแล้วมันแก้ไม่ยาก มาเลเซียพอเขามีกฎหมายรองรับเขาใช้การ “บังคับใช้กฎหมาย” เขาใช้เวลาเพียงแค่ปีครึ่งเท่านั้นเอง

ตอนนี้เราก็กำลังรอดู “สุราษฎร์โมเดล” อยู่ มีการนำทหารมาช่วยดู ก็คงไม่มีอำนาจทางกฎหมายอะไร แต่ว่าทุกคนคงเกรงใจ “ท็อปบูท” อาจจะทำให้คุณภาพปาล์มดีขึ้น ก็ต้องเอาใจช่วยทางสุราษฎร์ฯ ด้วย แล้วก็หวังว่าทุกจังหวัดที่มีปาล์มเยอะอย่าง กระบี่ ชุมพร หรือทุกจังหวัดที่มีปาล์มน้ำมันต้องขับเคลื่อนไปด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม