ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

แนวทางป้องกันและรักษา “โรคใบจุดสาหร่าย” ในปาล์มน้ำมัน

โรคใบจุดสาหร่าย เกิดจากเชื้อสาเหตุ Phycopeltis sp.

👉อาการ : เป็นจุดเล็กหรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่ (หากลุกลาม) บนใบ โดยจุดเล็กๆ ดังกล่าวจะขยายขนาดใหญ่ขึ้น โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเป็นระยะเวลาติดต่อกัน


👉ผลกระทบ : สาหร่ายดังกล่าวจะปกคลุมบนแผ่นใบย่อยปาล์มน้ำมัน ทำให้พื้นที่สังเคราะห์แสงของใบลดลง แต่ไม่ทำอันตราย แผ่นใบเหมือนราสนิม (ความแตกต่าง หากเป็นสาหร่าย สามารถทดสอบโดยปิดสก๊อตเทปบนแผ่นใบย่อย และสามารถลอกแผ่นหรือจุดสาหร่ายออกมาได้ง่ายด้วยสก๊อตเทป โดยลักษณะผิวใบยังคงสภาพปกติ แต่หากเป็นราสนิม การปิดสก๊อตเทปบนแผ่นใบจะลอกราสนิมไม่ออก)


สำหรับปาล์มน้ำมันหรือพืชอื่นๆ ที่มีทรงพุ่มแน่นทึบ มีความชื้นในทรงพุ่มสูง ได้รับแสงแดดไม่ทั่วถึง จะพบใบจุดสาหร่ายเกิดได้โดยง่าย จากสปอร์ของสาหร่ายที่แพร่ระบาดไปยังใบอื่นๆ

อาการของโรคใบจุดสาหร่าย เป็นจุดเล็กหรือเป็นแผ่นขนาดใหญ่บนใบ จุดเล็กๆขยายขนาดใหญ่ขึ้นในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูงเป็นระยะเวลาติดต่อกัน

👉การระบาด : ระบาดมากช่วงฤดูฝน เนื่องจากสปอร์ของสาหร่ายสามารถแพร่กระจายได้ทั้งทางลมและฝน 


👉การป้องกันและกำจัด

1. ติดตามสถานการณ์โรคจุดสาหร่ายในช่วงฝน โดยสำรวจสัปดาห์ละครั้ง

2. รวบรวมใบที่เป็นโรคไปเผาทำลาย

3. หากพบอาการของโรคเพียงเล็กน้อย รีบจัดการตัดส่วนของใบย่อยดังกล่าวไปเผาทำลาย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ของสปอร์สาหร่าย

4. หากทางใบแน่นมากไป พยายามตัดแต่งทางใบแห้งออก เพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีลมผ่าน เพื่อลดความชื้นในทรงพุ่ม

5. หากแผ่นใบย่อยของทางใบปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะทางใบด้านล่าง ถูกปกคลุมด้วยสาหร่ายกว่าร้อยละ 30 แนะนำให้ใช้วิธีกล คือกำจัดทางใบดังกล่าวออก เพื่อลดการแพร่กระจาย

ภาพขยายจากกล้องจุลทรรศน์
👉ข้อควรระวัง : สำหรับคำแนะนำการใช้สารเคมี คอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่แผ่นใบ เป็นคำแนะนำเดียวกับการกำจัดโรคราสนิมในพืชอื่น และยังไม่มีงานวิจัยที่ใช้กับปาล์มน้ำมัน ซึ่งอาจมีผลกระทบกับใบปาล์มน้ำมันได้ (ข้อควรระวัง การใช้สารเคมีควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะยังไม่เคยทดสอบในใบปาล์มน้ำมัน อาจเริ่มที่อัตราตามข้างฉลากก่อน และฉีดในช่วงที่เหมาะสม : วิชณีย์ ออมทรัพย์สิน)


ดังนั้นหากการแพร่กระจายของจุดสาหร่ายไม่รุนแรงมากนัก ขอให้ใช้วิธีกล จัดการตัดแผ่นใบย่อยที่มีจุดสาหร่ายออกมากำจัดเพื่อลดการแพร่ระบาด หากระบาดรุนแรงขอให้เกษตรกรลองทดลองใช้กับบางทางใบของปาล์มน้ำมันบางต้น เพื่อศึกษาผลของสารเคมีดังกล่าวก่อน


ขอขอบคุณ การค้นหาสาเหตุโรคและภาพจากกล้องจุลทรรศน์ โดยคุณเพ็ญภัสสร คุณจิตรานุช และน้องเกษตรตำบล 3 ท่าน ของสนง. เกษตรอำเภอท่าแซะ จ.ชุมพร ที่พยายามช่วยแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกร

ที่มา : ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม