ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เกษตรฯ มอบเครื่องย่อยทางปาล์ม กลุ่มเกษตรกรพัทลุง ทำเป็นปุ๋ยหมักสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร

นายวุฒิศักดิ์ เพชรมีศรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5 จังหวัดสงขลา กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างเยอรมัน-ไทย เพื่อส่งเสริมระบบและการบริหารจัดการด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน ผ่านเครือข่ายนวัตกรรม ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงอาหารและเกษตรแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี 

 

กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินงานโครงการความร่วมมือระหว่างเยอรมัน-ไทยฯ ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ โดยโครงการระยะที่ 1 ระยะเวลาโครงการ 3 ปี ระหว่างปี 2563- 2566 ได้มีการคัดเลือกพื้นที่ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อเป็นพื้นที่แปลงใหญ่นำร่องในโครงการ รวม 8 แห่ง ครอบคลุมสินค้าพืชสวนและพืชไร่ 4 ชนิดสินค้า ได้แก่ พืชผัก ไม้ดอก อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อุบลราชธานี ชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา 

ในส่วนของของภาคใต้ ได้เข้าร่วมโครงการระยะที่ 2 เริ่มดำเนินการ ปี 2567 เป็นปีแรกระยะเวลาดำเนินโครงการระหว่างปี 2567- 2570 ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ชนิดสินค้าปาล์มน้ำมัน และจังหวัดชุมพร ชนิดสินค้าทุเรียน 

 

ชนิดสินค้าปาล์มน้ำมันของจังหวัดพัทลุง ดำเนินการเรื่องการใช้วัสดุเหลือใช้จากแปลงปาล์มน้ำมัน ได้นำร่องโครงการที่กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 38 ราย มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันรวม  451.75 ไร่

 

จากการดำเนินจัดประชุมทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปถึงความต้องการใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร ในการช่วยย่อยทางปาล์มน้ำมันเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ จึงได้ให้การสนับสนุนเครื่องย่อยทางปาล์มที่ใช้เทคโนโลยีเยอรมัน มานำร่องให้กับกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน เป็นการใช้นวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรมาช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้จากแปลงปาล์มน้ำมัน ได้แก่ ทางปาล์มน้ำมัน นำมาทำเป็นปุ๋ยหมักสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เป็นการลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรปาล์มน้ำมัน

 

โดยหากนำทางปาล์มน้ำมันที่มีน้ำหนักทางละ 20 กิโลกรัม มาย่อยจำนวน 18 ทางปาล์มต่อต้น จะได้ทางปาล์มที่ย่อยแล้วพร้อมไปทำเป็นปุ๋ย จำนวน 360 กิโลกรัมต่อต้น หรือเป็นจำนวน 7,920 กิโลกรัม/ไร่ หากดำเนินการในกลุ่มสมาชิกทั้งกลุ่ม จะได้ทางปาล์มที่ย่อยพร้อมไปทำเป็นปุ๋ยหมัก จำนวน 3,578 ตัน ทั้งนี้โครงการจะได้มีการขยายผลในกลุ่มเกษตรกรเครือข่ายปาล์มน้ำมันกลุ่มอื่นๆ ต่อไป 

นายสมเกียรติ ทองพันธ์ ประธานแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมัน ให้ข้อมูลว่า ภาพรวมของโครงการนี้ ได้รับการตอบรับจากเจ้าของแปลงปาล์มน้ำมันที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี เป็นโครงการที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ ทำให้กลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันได้ใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ได้แก่ ทางปาล์มน้ำมัน นำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง เป็นปุ๋ยหมักช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ช่วยลดต้นทุนการผลิต และก่อให้เกิดความยั่งยืน

 

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม