เรามักได้ยินเสมอว่าการทำสวนปาล์มน้ำมันนั้นต้องดูแลเอาใจใส่ ใส่ปุ๋ยต้องต่อเนื่องและเพียงพอเพื่อบำรุงต้นและผลผลิตให้ทะลายใหญ่ น้ำหนักดี แต่นอกจากการใส่ปุ๋ยแล้วการจัดการสวนด้านอื่นๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะสามารถเป็นตัวชี้วัดได้เลยว่าในอนาคตต้นปาล์มของเราจะสมบูรณ์แข็งแรงพร้อมสำหรับการให้ผลผลิตหรือไม่
คุณสมเกียรติ
ประสูติสวัสดิ์ เจ้าของแปลงเพาะปลายพระยาพันธุ์ไม้&ครูเล็กพันธุ์ปาล์ม
แนะนำว่าสิ่งสำคัญหลังจากปลูกปาล์มน้ำมันก็คือ เรื่องการกำจัดวัชพืชรอบวงโคนให้โล่งเตียน
เพื่อป้องกันหนูเข้ามากัดแทะทำลายต้นปาล์มปลูกใหม่ และไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยซ่อนตัวของหนู
แมลงศัตรูพืชต่างๆ รวมถึงโรคเน่าต่างๆ
ที่มีสาเหตุมาจากความชื้นและอากาศไม่ถ่ายเทบริเวณวงโคน หลังจากปลูก 1 เดือนก็สามารถใส่ปุ๋ยตามตารางได้เลย
แมลงกินใบ
และ หนูกินลำต้น ปัญหาใหญ่ของปาล์มเล็กหลังปลูก
หลังจากนั้นเมื่อต้นปาล์มเริ่มตั้งตัวได้แล้วจะมีใหม่ออกมา
เป็นช่วงที่ดึงดูดแมลงกินใบชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ “ด้วงกุหลาบ”
จะออกกินใบปาล์มในช่วงกลางคืน
วิธีแก้ปัญหา คือ ฉีดสารกำจัดวัชพืชประเภทคาร์บาริล
อัตราการใช้ตามที่ระบุข้างขวด ฉีดในช่วงเย็นเพื่อให้สัมผัสกับตัวด้วงกุหลาบโดยตรง
และฉีดซ้ำ 2-3 รอบ
หรือจนกว่าจะไม่พบการระบาด นอกจากนั้นสามารถใช้ คาร์โบฟูราน โรยบริเวณโคนต้น
หรือกาบใบ งดโรยลงยอดอ่อนเพราะอาจความเข้มข้นของสารเคมีอาจทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ยังอ่อนเน่าได้
ปัญหา “หนูกินต้นปาล์ม”
เป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ต้นปาล์มตายได้ โดยทั่วไปจึงแนะนำให้ใช้ตาข่ายหุ้มต้นก่อนปลูก
เพราะกับดัก/ยาเบื่อหนูช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งเท่านั้น
ตรวจสอบอาการผิดปกติของต้น
และปัญหาที่อาจเกิดหลังปลูก 6 เดือน - 2.5 ปี
หลังจากปลูกไปแล้ว 6 เดือนจะเป็นช่วงที่ต้นกล้ากำลังสวย มีความสม่ำเสมอ ช่วงนี้ให้สังเกตต้นที่มีอาการผิดปกติแตกต่างไปจากต้นอื่นๆ ให้ถ่ายภาพและส่งมาที่ปลายพระยาพันธุ์ไม้&ครูเล็กพันธุ์ปาล์ม เพื่อรับคำแนะนำเพิ่มเติม หรือหากเป็นต้นผิดปกติทางแปลงเพาะจะดำเนินการเคลมต้นกล้าให้กับลูกค้า
“โคนต้นลอย”
“ต้นเอียง” “โคนต้นจม” ในช่วงนี้ดินจะเริ่มแน่นและกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากที่เราไถพรวนเพื่อเตรียมแปลงปลูก
หลายๆ แปลงอาจจะพบปัญหานี้ มีสาเหตุมาจากดินยุบทำให้โคนต้นลอย
ในอนาคตจะทำให้ต้นล้มเอียง ให้ถมดินเข้าให้มิดโคน
แต่ถ้าปลูกลึกเกินไปก็สามารถเขี่ยดินออกได้
“ด้วงแรด”
เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มักพบเข้าทำลายต้นปาล์มเล็ก
เพราะบริเวณที่มีการโค่นล้มต้นปาล์มมักจะมีด้วงระบาดมากกว่าปกติ
โดยปกติจะใช้วิธีทำถังฟีโรโมนล่อด้วงแรดเพื่อลดประชากรด้วงแรด
แต่ถ้าระบาดหนักก็จำเป็นต้องใช้ยากำจัดแมลงปีกแข็ง อย่าง ไดอะซินอน
หรือคาร์โบซัลแฟน ฉีดเข้าไปที่ยอด 1-2 ครั้ง/สัปดาห์ พร้อมกับสังเกตว่าการระบาดลดลงหรือไม่
หลังจากนั้นต้นปาล์มจะพัฒนาไปเรื่อยๆ ประมาณ 1 ปีครึ่งจะเริ่มออกดอก เป็นตัวผู้บ้าง ตัวเมียบ้าง แนะนำให้หักทิ้งเพื่อเลี้ยงให้โคนต้นใหญ่ อวบ อาจจะมีทางใบเก่าที่แห้งบ้างก็ไม่เป็นไร ขอให้กำจัดวัชพืชรอบวงโคนให้สะอาดอยู่เสมอ และใส่ปุ๋ยตามโปรแกรม
การดูปาล์มหลังปลูก
2.5-4 ปี
ต้นปาล์มอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่กำลังกางทรงพุ่มสวยงาม หากที่ผ่านมามีการใส่ปุ๋ย จัดการเรื่องโรค/แมลงศัตรูพืชมาอย่างต่อเนื่อง จะเห็นต้นปาล์มออกทะลายเต็มต้นสวยงาม เมื่อถึงปีที่ 3 หรือ 3 ปีครึ่ง จะเริ่มออกดอกตัวผู้ เกษตรกรอาจจะตกใจเล็กน้อย แต่ที่จริงแล้วเป็นเรื่องปกติ ให้ดูแลใส่ปุ๋ยต่อไปให้ต่อเนื่อง ให้ถูกช่วงเวลา ทุกอย่างก็จะเริ่มลงตัว ต้นปาล์มจะให้ผลผลิตต่อเนื่องตามที่เกษตรกรดูแลเอาใจใส่
ปาล์ม 3.5-4 ปี
ถึงเวลาตัดแต่งทางใบครั้งแรก
เมื่อต้นปาล์มอายุ 3.5-4 ปี ต้นปาล์มจะอวบใหญ่อย่างเห็นได้ชัด มีทางใบด้านล่างบางส่วนแห้งติดดิน การตัดทะลายและเก็บลูกร่วงจะเริ่มยากขึ้น ถ้าเก็บลูกร่วงไม่หมดก็จะงอกเป็นต้นปาล์มเล็กๆ กลายเป็นวัชพืชให้ดึงออกตามแนวรัศมีใบจะดึงง่ายขึ้น
ฉะนั้นช่วงนี้คนตัดปาล์มจะเริ่มแต่งทางใบออกด้วย คนที่มีความชำนาญจะมองออกว่าปาล์มต้นไหนทางใบ “เวียนซ้าย” หรือ “เวียนขวา” เมื่อตัดแต่งทางใบเรียบร้อยแล้วจะเห็นความสูงของต้นปาล์มประมาณ 1-2 ฟุตอย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตามปาล์มเล็กนิยมไว้ทางใบ 2 ชั้น เรียกว่า “ทางรับทะลาย”
อีกชั้นหนึ่งจะเป็น “ทางรับน้ำฝน” จึงเห็นว่าปาล์มเล็กจะมีการไว้ทางใบมากกว่าปาล์มใหญ่
ทรงพุ่มโดยรวมจะสวยงาม ทางใบที่อยู่ในแถวเดียวกันจะเริ่มประสานกัน
ขนาดทะลายใหญ่ขึ้น สมบูรณ์ขึ้น
อาจมีทะลาย 2-3 ชั้น
สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการจัดการเรื่องปุ๋ย ไนโตรเจน (N),ฟอสฟอรัส
(P), โพแทสเซียม (K), แมกนีเซียม (Mg)
และ โบรอน (B) ที่ต้องใส่ในปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของต้นปาล์มน้ำมัน
.
คุณสมเกียรติ ประสูตรสวัสดิ์ ปลายพระยาพันธุ์ไม้ & ครูเล็กพันธุ์ปาล์ม อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ โทรศัพท์ : 089-586-5373
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น