ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่า กยท. วิเคราะห์ นโยบายรัฐบาล “ทรัมป์” ไม่กระทบ ยาง ไทย


กยท. เผย นโยบายด้านเศรษฐกิจของทรัมป์ โดยทางตรงคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ยางในประเทศไทย
ยกเว้นเรื่องการตั้งกำแพงภาษีการนำเข้าจากจีน ซึ่งเป็นประเทศผู้ซื้อยางจากไทยอันดับ 1 ของโลก อาจส่งผลบ้างแต่คาดว่าในทางปฏิบัติน่าจะทำได้ยาก เพราะจะกระทบในระดับมหภาค ควรจะใช้นโยบายการค้าเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันมากกว่า แต่ไทยจะเดินหน้ายกระดับคุณภาพยางตั้งแต่การปลูกจนกระทั่งการแปรรูปเพื่อการส่งออก หวังจะเป็นประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดีอันดับ 1 ของโลก

ดร.ธีธัช  สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ประเทศไทยส่งยางพาราออกไปประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2558 ที่ผ่านมา ประมาณ 16,500 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 8,000 ล้านบาท ถือได้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศผู้ซื้อยางจากไทยเป็นอันดับ 5 ของโลก โดยส่วนมาก ยางที่ส่งออกจะเป็นยางประเภท ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และน้ำยางข้น เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของประเทศ นโยบายในการพัฒนาประเทศ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ หากพิจารณานโยบายด้านเศรษฐกิจของดอนัลด์ จอห์น ทรัมป์ ผู้ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งจะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา คนที่ 45 ในเดือนมกราคมปีหน้านั้น พบว่า ประเด็นนโยบายการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ในระยะแรกอาจจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน แต่คาดว่าในที่สุดแล้ว การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น ซึ่งจะส่งผลดีกับราคายางภายในประเทศของไทย

เนื่องจากการค้าขายยางระหว่างประเทศส่วนมากจะค้าขายในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงทำให้ราคายางเมื่อคิดกลับเป็นเงินบาทมีราคาเพิ่มขึ้น หรือกรณีนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ตามที่สหรัฐอเมริกาได้มีการกล่าวว่า จีนกดค่าเงินหยวนให้อ่อนเพื่อประโยชน์ทางการส่งออก (Currency manipulation) ทำให้สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับจีนอย่างมาก หากสหรัฐอเมริกากดดันให้เงินหยวนของจีนแข็งค่าขึ้น ผลกระทบที่เกิดกับประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้ส่งออกยางเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตของจีน

การแข็งค่าขึ้นของเงินหยวนจึงไม่ได้เป็นปัจจัยกดดันราคายาง แต่กลับจะส่งเสริมให้การส่งออกเพิ่มขึ้น หรือนโยบายการตั้งกำแพงภาษี สำหรับสินค้าที่นำเข้าจากจีนเป็น 45% ซึ่งจะส่งผลกระทบทางอ้อมกับสถานการณ์ยางในประเทศไทย เนื่องจากจีนเป็นประเทศหลักในการส่งออกยาง

ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลักในการส่งออกผลิตภัณฑ์ของจีน รวมถึงผลิตภัณฑ์ยางล้อรถยนต์ ดังนั้น หากสหรัฐอเมริกาเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของจีนในตลาดสหรัฐอเมริกาลดลง และส่งผลกระทบต่อความต้องการซื้อยางจากประเทศไทย 

“หากคาดการสถานการณ์การส่งออกยางไทยหลังจากดอนัลด์ จอห์น ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดี  นโยบายด้านเศรษฐกิจของทรัมป์ โดยทางตรงคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ยางในประเทศไทย สำหรับนโยบายการ America First  โดยขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือการกดดันค่าเงินหยวนให้แข็งค่าขึ้นคาดว่าจะส่งผลดีกับยางในประเทศไทย แต่สำหรับการตั้งกำแพงภาษีการนำเข้าจากจีน คาดว่าในทางปฏิบัติน่าจะทำได้ยาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของพลเมืองสหรัฐอเมริกา ดังนั้น สหรัฐอเมริกาน่าจะใช้นโยบายการค้าเพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการดำเนินนโยบายที่แข็งกร้าวซึ่งจะนำไปสู่การพิพาท”

ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตยางอันดับ 1 ของโลก มองว่า แม้จะมีหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศอาเซียนได้ขยายพื้นที่ปลูกยาง ในขณะเดียวกัน ไทยกำลังลดพื้นที่ปลูกยางเพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ลดปัญหาที่เกิดจากความไม่เสถียรภาพของราคายาง หรือการส่งเสริมการปลูกยางแบบผสมผสาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางไทย

แต่ศักยภาพในการพัฒนายางพาราไทย ทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการสวนยางตามหลักวิชาการ เพื่อให้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ของเกษตรกรสูงขึ้น หรือด้านการตลาดที่รัฐบาลได้ร่วมกับประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติแห่งใหญ่ของโลกคือ อินโดนีเซียและมาเลเซีย

โดยจัดตั้งบริษัทร่วมทุนยางระหว่างประเทศเพื่อรักษาเสถียรภาพของยาง รวมถึง กยท.ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบครบวงจร เร่งหาแนวทางลดต้นทุนการผลิต ยกระดับคุณภาพของผลผลิตให้ได้มาตรฐานในระดับสากล พร้อมทั้ง แสวงหาตลาดใหม่เพื่อทำการค้าระหว่างประเทศ

สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นการพัฒนายางพาราทั้งระบบตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง โดยสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องคุณภาพยางตั้งแต่กระบวนการปลูกจนกระทั่งการแปรรูปเพื่อการส่งออก


เพราะฉะนั้น ประเทศไทยจะไม่เพียงแต่จะได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลกเท่านั้น แต่ไทย จะเป็นประเทศผู้ผลิตยางคุณภาพดีอันดับ 1 ของโลกเช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม