ทีมงานยาง & ปาล์มออนไลน์ นำวิธีการใส่ปุ๋ยสวนปาล์มของ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด มานำเสนอ ซึ่งอยู่ในครือ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน จำกัด (มหาชน) (ซีพีไอ) ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และเป็นบริษัทแรกของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศไทย ที่ดำเนินธุรกิจในลักษณะครบวงจร ตั้งแต่การทำสวนปาล์ม มากกว่า 20,000 ไร่ โรงสกัดน้ำมันปาล์มดิบ โรงกลั่นน้ำมันบริสุทธิ์ รวมถึงพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
วิธีการใส่ปุ๋ยที่สวนปาล์มของบริษัทซีพีไอที่ใช้มาอย่างต่อเนื่อง
และได้ผลโดยตลอด คือ การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอต่อการสร้างต้นและเพื่อการสร้างทะลาย กล่าวคือ ปุ๋ยส่วนหนึ่งให้ธาตุอาหารที่จะถูกตรึงอยู่ในส่วนต่างๆ
ของต้น ได้แก่ ใบ ลำต้น รากที่เพิ่มขึ้นต่อปี
และปุ๋ยอีกส่วนหนึ่งให้ธาตุอาหารเพื่อชดเชยกับที่ติดไปกับทะลายปาล์มน้ำมัน
การชดเชยธาตุอาหารตามผลผลิตทะลายปาล์ม จึงเป็นการคืนธาตุอาหารกลับคืนสู่ดิน ซึ่งช่วยรักษากำลังผลิตของดินให้ยั่งยืน และต้นปาล์มน้ำมันจะให้ผลผลิตสูงอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 1 อัตราการให้ปุ๋ยเคมีประจำปีแก่ปาล์มน้ำมัน
การศึกษามวลชีวภาพและปริมาณอาหารพืช
ของแต่ละชิ้นส่วนของต้นปาล์ม เช่น ใบ ทางใบลำต้น ราก และทะลาย เพื่อใช้คำนวณเป็นระดับอ้างอิงในการใส่ปุ๋ยให้กับต้นปาล์ม ของ บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ทำงานร่วมกับ นักวิจัยของศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร ม.เกษตรศาสตร์
👉แนวทางการใส่ปุ๋ยมีดังนี้
เนื่องจากดินปลูกปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่เป็นดินเนื้อหยาบ จึงดูดซับธาตุอาหารในปุ๋ยเคมีได้ใปริมาณน้อย และมีโอกาสสูญเสียไปกับการชะล้างของฝนได้ จึงควรเติมอินทรียวัตถุลงดินก่อน เช่น ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักขณะต้นยังเล็ก หรือใช้ทะลายปาล์มเปล่าคลุมโคนและพยายามเติมให้ทุกปี
เมื่อต้นโตให้สร้างแถวกองทาง
คือนำใบที่ตัดออกจากต้นมากองเป็นแนวขนานกับแถวปาล์มน้ำมัน แถวเว้นแถวหรือทุกแถว
วางทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ เวลาใส่ปุ๋ยเคมีให้สาดใส่บนอินทรียวัตถุหรือบนกองทางใบ
อินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายของทางใบเป็นตัวช่วยตรึงปุ๋ยไม่ให้ถูกน้ำ
ชะล้างไป และยังช่วยรักษากิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินให้ช่วยย่อยทางใบและสลายเป็น
อินทรียวัตถุบำรุงดินได้เร็วขึ้นต่อไป
การใส่ปุ๋ยเคมีหลักกับปูนโดโลไมท์ จะทำให้ต้นปาล์มน้ำมันได้ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และ กำมะถัน ซึ่งเป็นธาตุที่ปาล์มต้องการปริมาณมาก
ส่วนจุลธาตุอื่นๆ ต้นปาล์มน้ำมันต้องการโบรอนชัดเจน
จึงควรใส่โบรอนทุกปีโดยเฉพาะเมื่อใบแสดงอาการขาด ใส่ในรูปของปุ๋ยทางดิน
ชื่อทางการค้า Fertibor หรือ Quibor
มี 15%B ปริมาณ 50-100 กรัมต่อต้นต่อปี
ส่วนจุลธาตุที่มีโอกาสขาดได้คือ ธาตุทองแดงกับสังกะสี ควรใส่โดยพิจารณาจากค่าวิเคราะห์เคมีของใบ
โดยวิธีการใส่จุลธาตุก็หว่านไปบนกองทางเช่นเดียวกับปุ๋ยเคมี
ลำดับการใส่ปุ๋ยในรอบปี พิจารณาจากความยากง่ายในการละลายน้ำของปุ๋ย ปุ๋ยหินฟอสเฟตและโดโลไมท์ละลายน้ำได้น้อย ใส่ช่วงไหนของปีก็ได้ เพียงแต่ต้องระวังที่ลาดชันมากๆ ที่มีน้ำไหลบ่าพาปุ๋ยออกจากพื้นที่
ลำดับการใส่ปุ๋ยในรอบปี พิจารณาจากความยากง่ายในการละลายน้ำของปุ๋ย ปุ๋ยหินฟอสเฟตและโดโลไมท์ละลายน้ำได้น้อย ใส่ช่วงไหนของปีก็ได้ เพียงแต่ต้องระวังที่ลาดชันมากๆ ที่มีน้ำไหลบ่าพาปุ๋ยออกจากพื้นที่
ส่วนปุ๋ยที่ละลายในน้ำได้มากคือปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต
(21-0-0) หรือยูเรีย
และปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ (0-0-60) ควรแบ่งใส่อย่างน้อยเป็น 2
ครั้ง ครั้งแรกในช่วงต้นฝนและอีกครั้งในช่วงปลายฝน คือ ประมาณ 60%
ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี
เพราะเมื่อฝนตกต้นปาล์มจะได้นำปุ๋ยไปใช้ได้ทันที ปุ๋ยส่วนที่เหลือค่อยใส่ตอนปลายฝน
เพราะช่วงฝนจะมีความลำบากในการเข้าไปปฏิบัติงานในสวน
ให้หลีกเลี่ยงช่วงฝนตกชุกที่มีโอกาสของการชะปุ๋ยไปตามน้ำฝน หรือจะแบ่งใส่เป็น 3
ครั้งต่อปี คือ ต้นฝน 40% กลางฝน 30% และปลายฝน 30% ของปริมาณปุ๋ยที่ต้องใส่ทั้งปี
ทั้งนี้ขึ้นกับแรงงานที่มี
ส่วน ปูนโดโลไมท์ มีระดับความเป็นด่างสูง หากให้ ปุ๋ยไนโตรเจน สัมผัสกับปูนโดยตรง มีโอกาสที่สารประกอบไนโตรเจนถูกเปลี่ยนเป็นแก๊สแอมโมเนีย ระเหยสูญเสียจากดินได้ จึงเป็นข้อแนะนำว่าการใส่ปูน ให้โรยเป็นทางด้านหนึ่ง ส่วนการใส่ปุ๋ยตัวอื่นให้ใส่บนกองทางที่จะไม่ทับลงไปบนปูนโดยตรง การใส่ปุ๋ยตัวอื่นๆ ให้หว่านกระจายไปทั่วกองทางให้ได้มากที่สุด จะช่วยให้ชิ้นส่วนทางใบถูกย่อยสลายได้ง่ายขึ้นด้วย
ข้อควรเข้าใจคือ
ท่อน้ำและท่ออาหารภายในลำต้นพืชมีการเชื่อมติดต่อถึงกัน
การให้พื้นที่บางบริเวณของดินในเขตรากพืชมีความชื้นและมีธาตุอาหารเพียงพอ
จะทำให้เกิดกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินได้มาก
ซึ่งจะส่งเสริมการดูดใช้ธาตุอาหารของต้นพืชได้ผลดีกว่าการหว่านลงดินทั่ว บริเวณต้น
(แบบหว่านรอบโคนต้น) ที่มีสภาพแห้งและมีกิจกรรมจุลินทรีย์น้อย
การสร้างกองทางใบจึงเป็นแนวทางที่แนะนำให้ปฏิบัติเพื่อให้เกิดสภาพดินที่
เหมาะสมข้างใต้กองทาง ซึ่งรากต้นปาล์มน้ำมันจะขยายแผ่มาอยู่อย่างหนาแน่น
และยังคงมีชีวิตอยู่ได้ในช่วงแล้ง
.
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ : 25/11/59
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น