ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ใช้รถรุ่นนี้ควรรู้ Toyota รุ่น 7FD20,25,30

สำหรับท่านที่ใช่รถยก Toyota รุ่น 7FD20,25,30

เรามีคำแนะนำ และอธิบายคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องอุปกรณ์ หน้าที่การทำงาน สัญญาลักษณ์บนหน้าปัดการดูแล และบำรุงรักษาเบื้องต้น มาฝากครับ


👉ดูคลิปวิดีโอ👈
 

แผ่นนี้เรียกว่า เนมเพลท เป็นแผ่นอลูมีเนียมติดอยู่บนพลาสติกด้านขวามือคนขับใกล้ๆ คันโยกควบคุมคันโยกไฮดรอลิก จะระบุรุ่นรถหมายเลขตัวรถน้ำหนักตัวรถ, วันเดือนปีที่ผลิตตัวรถ, ความสามารถอื่นๆ พิเศษอุปกรณ์พิเศษที่ติดตั้งมา, ขนาดของยางหน้าขนาดของยางหลัง และอื่นๆ ที่จำเป็นให้ผู้ใช้รถทราบเบื้องต้นเกี่ยวกับรถคันนี้ เช่น
7FD25-36967 :

คือ รุ่น ผลิตมาเป็นรุ่น แล้วสำหรับรถคันนี้ เริ่มผลิตตั้งแต่รุ่น ไล่เรียงมาเรื่อยๆ จนถึงรุ่นนี้คือรุ่นที่ 7
F คือ คำย่อๆ มาจากคำว่า Forklift
D คือ ชนิดเชื้อเพลิงที่ใช้รถคันนี้ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง
G คือ รถคันนี้ใช้น้ำมัน Gasoline หรือน้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง

ถ้าเป็นตัว FG25 คือ ความสามารถยกน้ำหนักสูงสุดในระยะความสูงที่ยกได้และปลอดภัยได้เต็มที่ 2,500 กิโลกรัม หรือ 2.5 ตัน
อื่นๆ ถ้าเป็นเลข
10 คือ ยกได้ 1,000 กิโลกรัม หรือ ตัน
15 คือ ยกได้ 1,500 กิโลกรัม หรือ 1.5 ตัน
18 คือ ยกได้ 1,800 กิโลกรัม หรือ 1.8 ตัน
20 คือ ยกได้ 2,000 กิโลกรัม หรือ ตัน
30 คือ ยกได้ 3,000 กิโลกรัม หรือ ตัน
ในบรรทัดถัดมา : น้ำหนักรวมตัวรถๆ คันนี้หนักรวม 3,980 กิโลกรัม
และถัดมาบอกว่าเสายกได้สูง 4,000 มิลลิเมตร หรือ 4 เมตร
บอกขนาดความยาว 960 มิลลิเมตร หรือ งาเดิม 96 เซนติเมตร
บอกขนาดยางหน้า 700-12
ขนาดยางหลัง 600-9
บอกประเภทของยางเป็นยางตันติดรถเดิมๆ เมื่อเริ่มผลิตรถคันนี้
บอกปีและเดือนที่ผลิต 2000/12 คือ ผลิตปี 2000 / เดือนที่ผลิต คือ เดือน12 หรือ เดือนธันวาคม...เป็นต้น




มือจับ อุปกรณ์ตัวแรกที่เราจะสัมผัสเมื่อจะขึ้นไปนั่งบนเบาะคือมือจับขึ้นลงจากตัวรถ จะอยู่ฝั่งซ้ายของรถ ตรงข้ามกับคันเข้าเกียร์และคันโยกควบคุมระบบไฮดรอลิก เพื่อป้องกันเราขึ้นลงและเผลอไปโดนคันเข้าเกียร์และคันโยกงาเพื่อความปลอดภัย



สวิตช์กุญแจสตาร์ท อุปกรณ์ตัวที่ 2 ที่เราจะสัมผัสเมื่อจะขับขี่รถ forklift คันนี้คือสวิตช์กุญแจสตาร์ทจะมี 3 ตำแหน่ง

- ตำแหน่งแรกปิด OFF

- ตำแหน่งที่ 2 เมื่อบิดไปข้างหน้าทีแรก คือ เปิดไฟเข้าระบบ ON ไฟจะไปเลี้ยงระบบต่างๆ ไฟหน้าปัดจะติดโชว์เป็นสีแดง,
- ตำแหน่งที่ 3 บิดสตาร์ทติดเครื่องยนต์ Start Engine จะเผาหัวไปพร้อมกับตำแหน่งสตาร์ทเครื่องยนต์เมื่อเครื่องยนต์ติดก็ปล่อยมือกลับ




มือจับหมุนพวงมาลัย มีหน้าที่หมุนบังคับเลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาบังคับทิศทางการวิ่งของรถเรา เราจะใช้มือซ้ายในการจับปุ่มนี้เพื่อหมุนบังคับทิศทาง ส่วนมือขวาเราเอาไว้ใช้ควบคุมคันเกียร์และคันโยกระบบไฮดรอลิก




คันเข้าเกียร์ สำหรับเกียร์ออโตเมตริก จะมี 3 ตำแหน่ง
- ตำแหน่งกลาง ตำแหน่งเกียร์ว่าง
- ผลักไปด้านบน  เกียร์เดินหน้า
- ดึงเข้าหาตัว  เกียร์ถอยหลัง
หมายเหตุ : ถ้าเกียร์ไม่ว่างจะไม่สามารถสตาร์ทเครื่องยนต์ได้ บิดสวิตช์กุญแจไปจะเงียบไม่เจออะไรเลยนะครับ




สวิตช์ไฟหน้า จะมีจังหวะเปิดไฟ ฟรีเปิดไฟหน้าเมื่อดึงลงมาเป็นไฟเลี้ยวซ้ายผลักไปด้านหน้าไฟเลี้ยวขวา จะทำงานกระพริบเพื่อให้สัญญาณเมื่อเราต้องการเลี้ยวขวา



ปุ่มกดแตร



ไฟโชว์และสัญญาลักษณ์ เมื่อเปิดกุญแจตำแหน่ง ON ก่อนเราบิดสตาร์ทเครื่องยนต์จนติด ตัวแรกซ้ายมือสุดไฟโชว์รูปหยดน้ำมีลูกศรอัดตัววัดแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์และระดับน้ำเครื่องยนต์ในก้นอ่าง



เตือนกรองอากาศอุดตัน เมื่อแดง เตือนให้เราถอดกรองอากาศไปเป่าทำความสะอาดนะครับ



รูปแบตเตอรี่ เตือนว่าแบตเตอรี่ของเราไฟไม่ชาร์ทเข้าหม้อแบตแล้ว หรือ ไฟไม่ออกจากไดชาร์ท ให้นำไดชาร์ทไฟไปตรวจซ่อม หากเราติดเครื่องยนต์ไว้แล้วเร่งเครื่องยนต์รอบสูงสักนิดถอดขั้วบวกของแบตเตอรี่ออก ถ้าเครื่องยนต์เราดับแสดงว่าไดชาร์ทไฟเราเสียแล้ว นี่คือวิธีเช็คเบื้องต้นว่าไดชาร์ทไฟเราเสียหรือไม่



ไฟเตือนมีน้ำในกรองน้ำมันโซล่า ถ้ามีน้ำปนมากับน้ำมันในจำนวนหนึ่งไฟจะเตือนให้แก้ปัญหาโดยคลายน็อตหางปลาใต้กรองน้ำมันพร้อมกับกดแย๊กๆ น้ำมันด้านบนปั้มแย๊กโซล่าให้น้ำมันใหม่ไล่น้ำมันเก่าที่ปนน้ำทิ้งออกไป เสร็จแล้วก็ขันบิดปิดหางปลาไล่น้ำให้แน่นต่อไป



เกจ์วัดระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเก็บ ด้านซ้ายมีน้ำมันน้อย ด้านขวามีน้ำมันในถังมาก



ตัวอย่าง รถคันนี้ใช้งานมาแล้ว7,356 ชั่วโมง 7 นาที เมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์จนติดได้แล้วไฟโชว์สีแดงทุกดวงจะต้องดับหมด



คันควบคุมระบบไฮดรอลิก ตัวแรกใกล้พวงมาลัย คือ คันโยกยกและวางงาลง

- ดึงเข้าหาตัว ยกงาขึ้น

- ผลักไปข้างหน้า วางงาลง




คันโยกตัวที่สอง คันอันกลางจะควบคุมการพลัดเสายกไปด้านหน้าหรือด้านหลังของตัวรถ
- ผลักไปด้านหน้า  คือ เอนเสาไปด้านหน้าตัวรถ
- ดึงเข้าหาตัวเรา  เมื่อต้องการดึงเสาเข้าหาตัวรถ
ช้าเร็วขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วและเร่งรอบเครื่องยนต์เช่นกัน




คันโยกงาเท ควบคุมมุมของการงัดเข้าหาตัวรถของงาเทและบุ้งกี๋ตามตัวลูกศรในปุ่ม
- ดึงเข้าหาตัวเรา  งัดงาขึ้นเข้าหาตัวรถ
- ผลักไปด้านหน้า  ปล่อยงาเทและบุ้งกี๋ลงพื้นไปด้านหน้าตัวรถ
ข้าเร็วเวลาทำงานจริงขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วและเร่งรอบเครื่องยนต์อีกเช่นกัน




ก้านดึงเบรคมือ
- ดึงเข้าหาตัวดึงเบรก  เบรคมือทำงาน
- ผลักคืนตำแหน่งเดิม  ปลดเบรคมือ
- ปุ่มตรงกลาง  กดเพื่อปลดเบรกมือลง ถ้าไม่กดปุ่มนี้ไม่สามารถปลดเบรคมือได้
- ความตึงเบรกมือด้านใช้จะมีน็อตตั้ง ความตึงๆ มากตึงน้อยได้ตามความเหมา



กระปุกเติมน้ำมันเบรค และน้ำมันคลัทซ์หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา (ใช้กระปุกเดียวกัน)



กระจกส่องข้าง เพื่อมองด้านหลังขณะใช้รถร่วมกับผู้อื่นในสถานที่ทำงานจริง



โคมไฟหน้า



ท่อน้ำมันกระบอกงาเท,กระบอกงาเท



กระบอกคว่ำหงายเสาเข้าออกจากตัวรถ



กระบอกยกเสาขึ้นและลง ยกงาขึ้นลงจากพื้น



ปุ่มปรับความแข็งของสริงรองรับน้ำหนักคนขับ สามารถปรับให้ตึงก้นหรือนิ่มก้นเราเวลานั่งได้นิดหน่อยครับ



ก้านปรับเบาะเข้า-ออก เพื่อความสะดวกในการขับขี่ให้เหมาะสมกับคนขับแต่ละคน



เข็มขัดนิรภัย



แป้นเหยียบคลัทซ์ จะอยู่ซ้ายสุดเมื่อขึ้นนั่งบนรถสำหรับรถเกียร์ธรรมดา แป้นตัดเกียร์ออโต้หรือแป้นอินชิ่งตัดโบว์น้ำมันเกียร์คืนถังเมื่อเราเหยียบแป้นนี้เพื่อลดแรงฉุดของเกียร์ เมื่อเรายังไม่ได้ปลดเกียร์ว่างแต่ต้องการหยุดหรือชะลอรถ



แป้นเหยียบเบรค กดเมื่อต้องการเบรคหรือชะลอความเร็วของตัวรถเราถอนเท้าออกจากแป้นคือปล่อยเบรค



แป้นคันเร่ง กด คือ เร่งรอบเครื่องยนต์, กดมากเครื่องยนต์เร่งรอบมาก กดน้อยเครื่องยนต์เร่งรอบน้อยรถก็จะวิ่งหรือทำงานได้แบบช้าๆ



ตัวดึงเปิดฝากระโปรงห้องเครื่องยนต์ ก้านที่ติดกับพวงมาลัยกดลงสามารถยกเปิดฝากระโปรงได้ปรับคอพวงมาลัยล็อกคอพวงมาลัยได้



เครื่องยนต์ เครื่องยนต์ของ Toyota รุ่น 7 ส่วนใหญ่จะวางเครื่องยนต์ Toyota 2Z เป็นเครื่องยนต์ดีเชลรุ่นใหม่แล้วจะมีบางคันที่วาง Toyota 1DZ หรือ เบนชิน Toyota 5K, เบนชิน Toyota 4Y ขึ้นอยู่กับตามความต้องการของผู้ใช้รถครับ



กรองน้ำมันเครื่องยนต์ เปลี่ยนทุกๆ 500 ชั่วโมง เทียบซื้อท้องตลาดใช้ของ Toyota D4D ใช้ได้ครับ



กล่องฟิวส์ควบคุมระบบไฟฟ้าและไฟแสงสว่าง ไฟเตือนต่างๆ จะมีฟิวส์ต่างๆ แยกระบบวงจรไฟกัน แต่ตัวฟิวส์ตัวย่อจะใช้สัญญาลักษณ์เดียวกันกับรถยนต์เราเมื่อเปิดดูภายใน



แบตเตอรี่ใช้ขนาด 12 โวลท์ 80 แอมป์ขั้ว L



ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปะปนมากันระบบเชื้อเพลิงน้ำมันเชื้อเพลิง เปลี่ยนทุกๆ 500 ชั่วโมง เทียบชื้อใช้ของรถกระบะไมตีเอ็กซ์ได้ครับ



ใบพัดลมระบายความร้อนให้หม้อน้ำ ต้องไม่หัก แอ่น แหว่ง ถ้าแหว่งแล้วสามารถไปตีกับกรอบกันลมได้แสดงว่ายางแท่นเครื่องยนต์เราขาดแล้ว ให้ตัวได้มากเกินไปเวลาบิดตัว



กระปุกพักน้ำ พักน้ำไว้สำรองเติมคืนให้หม้อน้ำเก็บไอร้อนหรือน้ำร้อนขณะเครื่องยนต์ร้อนมาก แล้วดันลมออกมา ควรตรวจเติมให้ได้ระดับไม่มากเกินไป ควรมีช่องว่างให้น้ำโบว์คืนมาจากหม้อน้ำด้วยไม่อย่างนั้นจะล้นออกตอนรถเราทำงานจริง


กรองอากาศ เป่าทุกอาทิตย์ถ้าฝุ่นในที่ทำงานเรามาก หรือทุกเดือนหากใช้ในที่ฝุ่นละอองไม่มาก




ได้ชาร์ทไฟ มีหน้าที่ป้อนไฟคืนสู่แบตเตอรี่เมื่อเครื่องยนต์ทำงานให้รถเรามีไฟในหม้อแบตเตอรี่เพื่อเป็นสำรองตลอดเวลา ถ้าเสียหรือชำรุดจะไม่ชาร์ทเข้าแบตเตอรี่ ไฟแดงจะโชว์ที่เกจบนหน้าปัด หากล้างทำความสะอาดตัวรถเราควรปิดไดชาร์ทด้วยก็ดีเพื่อป้องกันฝุ่นละอองจับตัวกันเมื่อโดนน้ำ

- Advertisement -



ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม