ยูนิวานิช
ผู้นำแห่งการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันของไทย ได้เปิดตัว พันธุ์ปาล์มน้ำมันรุ่นใหม่ที่ผลิตเมล็ดจาก
ต้นแม่พันธุ์เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ หรือ โคลนอลซีด (Clonal
Seed) มาประมาณ 3 ปี ซึ่งได้รับความนิยมจากเกษตรกรจำนวนมาก
มียอดจองต้นกล้าเต็มทุกปี ขณะเดียวกันก็เกิดคำถามจากเกษตรกรชาวสวนปาล์มจำนวนมาก ว่า
พันธุ์ปาล์มตัวนี้คืออะไร แตกต่างจากพันธุ์ยูนิวานิชปกติอย่างไร และที่สำคัญคือ
มีคุณสมบัติและให้ผลผลิตมากกว่าอย่างไร
***ดูคลิป VDO : https://youtu.be/3icxu-m7dXk
คุณไพรวัลย์ โต๊ะดำ ผู้จัดการศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันยูนิวานิช อธิบายรายละเอียดทั้งหมดกับเว็บยางปาล์มว่า ยูนิวานิชต้องการพัฒนาปาล์มน้ำมันรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพในการผลิตสูงกว่าปาล์มน้ำมันรุ่นเก่า จึงใช้เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเข้ามาเพิ่มจำนวนต้นแม่พันธุ์ที่มีคุณสมบัติดีที่สุดให้มากขึ้น
ปกติแล้วยูนิวานิชมีต้นแม่พันธุ์ประมาณ 10,000 ต้น
มีการคัดเลือกต้นที่ได้ตามเกณฑ์เพื่อการผลิตทั่วไปประมาณ 2,000 ต้น
สำหรับการผลิตต้นพันธุ์เพื่อการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนั้น ยูนิวานิชได้คัดเลือกต้นแม่พันธุ์ ดูร่า (Deli Dura) ที่ดีที่สุดจากแปลงแม่พันธุ์มาจำนวน 5% ของจำนวนต้นทั้งหมดขึ้นมา โดยใช้ข้อมูลจากการบันทึกคุณสมบัติรายต้นที่มีผลผลิต การเติบโต องค์ประกอบของผล ทะลาย และมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันที่ดีที่สุดมาใช้ ซึ่งทางยูนิวานิชมีการเก็บข้อมูลและสถิติต้นแม่พันธุ์ทุกต้น เรียกง่ายๆ ว่าคัดเฉพาะต้นแม่พันธุ์ระดับหัวกะทิเลยทีเดียว
![]() |
คัดเลือกต้นแม่พันธุ์ระดับหัวกะทิ หรือ 5% ของแม่พันธุ์ทั้งหมด มาขยายพันธุ์ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ |
หลังจากที่ได้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อแล้วก็จะนำเข้ามาเลี้ยงในเนอสเซอรี่แบบพิเศษ ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ (conditioning nursery) โดยจะใช้เวลาเลี้ยงต้นกล้าอยู่ในนี้อีก 1 ปี ก่อนจะนำไปปลูกในแปลงและมีการเก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ข้อมูลผลผลิต องค์ประกอบของทะลายตามเกณฑ์การผลิตต้นแม่พันธุ์อย่างต่อเนื่องไปอีก 7 ปี
เมื่อเก็บข้อมูลครบถ้วนก็จะได้ต้นแม่พันธุ์ที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อที่เรียกว่า
“ต้นแม่พันธุ์ Clonal” เพื่อใช้เป็นต้นแม่พันธุ์สำหรับผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มยูนิวานิช
รุ่น DxP Clonal seed ต่อไป
คุณไพรวัลย์ให้ข้อมูลว่ากล้าปาล์มสำหรับนำไปปลูกนั้นต้องเป็นต้นเทเนอร่าโดยตรง
ซึ่งหากนำมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจากแล็บต้องใช้ต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง ทำให้เป็นข้อจำกัดในการทำตลาดไม่สามารถทำในเชิงการค้าได้
ทางยูนิวานิชจึงเลือกใช้ต้นแม่พันธุ์ดูร่ามาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อมาเป็นต้นแม่พันธุ์สำหรับผลิตเป็นเมล็ดและต้นกล้า
Clonal seed จะได้ต้นกล้าจำนวนมากและสามารถจำหน่ายในเชิงการค้าได้
ซึ่งต้น Clonal seed ก็มีข้อดีมากมาย
เพราะเมล็ดพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมานั้นเกิดจากต้นแม่พันธุ์ที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วทำให้ได้ลูกผสมที่มีศักยภาพในการให้ผลผลิตทั้งผลและทะลายสูงกว่าเมล็ดพันธุ์ปกติที่มาจากแม่พันธุ์หลากหลาย
ฉะนั้นแม่พันธุ์ที่ยูนิวานิชคัดเลือกมาแล้วว่ามีศักยภาพสูง
เมื่อผลิตเป็นต้นกล้าก็จะได้ต้นกล้าที่มีความสม่ำเสมอสูง
เนื่องจากว่าต้นแม่มีพันธุกรรมเดียวกัน ผลผลิตก็จะสูงมากขึ้น ประมาณ 15-20%
จากต้นกล้า DxP ปกติ
![]() |
แปลงปลูกปาล์มยูนิวานิช Clonal Seed จะเห็นว่าต้นโตสม่ำเสมอทั้งแปลง |
![]() |
สวนปาล์มของคุณสุพงษ์ นพินกุล เกษตรกร อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ |
สวนปาล์มของคุณไพศาล มโนรมย์ เกษตรกร อ.วังวิเศษ จ.ตรัง |
![]() |
สวนปาล์มของคุณอัญญภัสส์ ชิ้นดรณิรัตน์ เกษตรกร อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี |
สำหรับต้นกล้า Clonal seed รุ่นแรกที่เกษตรกรได้นำไปปลูกตอนนี้อายุมากกว่า 2 ปี จากการเข้าไปติดตาม สังเกตการณ์เจริญเติบโต การออกทะลาย พบว่าการให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ ทั้งในเรื่องความสมบูรณ์ของทะลาย เรื่องของลักษณะผล เปอร์เซ็นน้ำมันสูงกว่า และเรื่องของการเจริญเติบโตก็มีความสม่ำเสมอสูง เมื่อเปรียบเทียบกับต้นพันธุ์ที่ผ่านการผสมเกษตรและผลิตเมล็ดพันธุ์จากต้นแม่พันธุ์แบบเก่า ต่างกันอย่างเห็นได้ชัดเจน
ในอนาคตยูนิวานิชจะทยอยเพิ่มสัดส่วนการผลิตเมล็ดพันธุ์เป็น Clonal seed ให้มากขึ้นเรื่อยๆ ตามความต้องการของตลาด
เนื่องจากทางยูนิวานิชเองก็มองว่า Clonal seed ให้ผลผลิตที่ดีกว่าในทุกๆ ด้าน
![]() |
ต้นกล้าปาล์มน้ำมัน Clonal Seed ได้รับความนิยมจากเกษตรกร มียอดจองเต็มทุกปี ซึ่งยูนิวานิชวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้เพียงพอกับความต้องการ |
จึงมุ่งผลิตผลิตต้นแม่พันธุ์ดูร่าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้มากขึ้นเพื่อให้ผลิตเมล็ด Clonal seed ให้ได้มากขึ้น ไปพร้อมๆ กับการทดสอบต้นกล้าจากเนื้อเยื่อ 100% ว่าเมื่อนำไปทดลองปลูกในสวนจะได้ผลผลิตเป็นที่น่าพึงพอใจและสามารถจำหน่ายในเชิงการค้าได้หรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น