กยท.
เร่งเดินหน้าส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ ดันโครงการยางล้อประชารัฐ
พร้อมจับมือดีสโตน ผลิตยางล้อคุณภาพ ราคาเป็นมิตร คาดปริมาณใช้ยางเพิ่มในประเทศไม่ต่ำกว่า
48 ตัน/ปี เล็งนำร่องสหกรณ์และผู้ประกอบการรถแท็กซี่ กว่า 73,000
คัน
นายณกรณ์
ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย
ด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า กยท. เป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจหลักที่บริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ
ตระหนักถึงความสำคัญในการผลักดันและส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา
ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เพราะไทยเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติที่ส่งออกรายใหญ่ของโลก
หากมีการกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการแปรรูปเพื่อใช้ยางพาราภายในประเทศให้มากที่สุด
จะเป็นประโยชน์สูงสุดที่จะนำผลผลิตที่มีคุณภาพ มาผลิตเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ
เพื่อให้คนในประเทศได้ใช้ของดีมีคุณภาพ
การริเริ่มโครงการล้อยางประชารัฐ เป็นหนึ่งในโครงการที่จะมีการนำยางไปใช้มากที่สุด เพราะธุรกิจยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบจากยางพาราเป็นจำนวนมากซึ่งไทยเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติที่ส่งออกรายใหญ่ของโลก
การริเริ่มโครงการล้อยางประชารัฐ เป็นหนึ่งในโครงการที่จะมีการนำยางไปใช้มากที่สุด เพราะธุรกิจยานยนต์ เป็นธุรกิจที่ใช้วัตถุดิบจากยางพาราเป็นจำนวนมากซึ่งไทยเป็นประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติที่ส่งออกรายใหญ่ของโลก
ในปี 2558 มีผลผลิตยางประมาณ 4.47
ล้านตัน สามารถนำไปใช้ภายในประเทศประมาณ 0.6 ล้านตัน
คิดเป็นร้อยละ 13.42 ของผลผลิตทั้งหมด
และยางส่วนใหญ่ถูกใช้ในการผลิตยางยานพาหนะ 0.34 ล้านตัน
คิดเป็นร้อยละ 56.48 ของปริมาณยางทั้งหมด
ในขณะเดียวกัน
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายในประเทศจะมีความเติบโตขึ้นในช่วงปี 2560 เนื่องมาจาก
ตลาดส่งออกมีการขยายสู่ภูมิภาคอาเซียนตามแผนการส่งออกรถอีโคคาร์จากเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก
BOI ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกจะดีขึ้น
ดังนั้นหากมีการนำผลผลิตยาง
ไปผลิตยางล้อรถยนต์นั่งที่มีส่วนผสมของยางพาราเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ
ได้มาตรฐานคุณภาพในราคาต่ำกว่าท้องตลาด
จะเป็นโอกาสในการนำวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศ
เพิ่มรายได้ให้กับประเทศชาติมากขึ้นด้วย
นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า
โครงการยางล้อประชารัฐ กยท.จะจับมือร่วมกับบริษัทผลิตยางรถยนต์ ดีสโตน ซึ่งเป็นแบรนด์ยางล้อของไทยที่ส่งขายทั่วโลก ทั้งในแถบเอเชียและยุโรป ทำการผลิตยางล้อรถยนต์นั่งที่มีส่วนผสมของยางพาราเพิ่มขึ้น
โดยนำร่องขอความร่วมมือขายให้กับสหกรณ์รถแท็กซี่ และผู้ประกอบการรถแท็กซี่
ขณะนี้
มีรถแท็กซี่ที่ขึ้นทะเบียนประมาณ 73,000 คัน หากทุกคันมีการเปลี่ยนยางล้อปีละ 1 ครั้ง จะมีการใช้ยางล้อ 292,000 เส้น เป็นการใช้ยางเพิ่มขึ้นอย่างน้อยจำนวน
584,000 กิโลกรัมต่อปี
นอกจากนี้ กยท. จะนำโครงการดังกล่าว
มาใช้กับรถยนต์ของการยางแห่งประเทศไทยเอง ปัจจุบัน กยท. มีรถยนต์ทั่วประเทศ จำนวน 333 คัน แบ่งเป็นรถยนต์นั่ง 5
คัน รถกระบะ 193 คัน รถตู้ 88 คัน รถบรรทุก 6 ล้อ 44 คัน และ
รถบรรทุก 10 ล้อ 3 คัน
จะต้องใช้ยางล้อประมาณ 1,400 กว่าเส้น
และจะขยายสู่หน่วยงานราชการอื่นๆ ตั้งเป้ารถยนต์ในปี 2560 ประมาณ
5,000 คัน ทั้งนี้
โครงการยางล้อประชารัฐใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการประมาณ 2 ปี คือตั้งแต่ มกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2561 คาดการณ์ปริมาณการใช้ยางในประเทศจะเพิ่มไม่ต่ำกว่า 48 ตันต่อปี
“การที่ กยท.จับมือร่วมกับบริษัทผลิตยางรถยนต์เอกชน ดีสโตน ซึ่งเป็นแบรนด์ยางล้อของไทยที่ส่งขายทั่วโลก ทั้งในแถบเอเชียและยุโรป เป็นที่เชื่อมั่นในมาตรฐานด้านความปลอดภัย มุ่งจำหน่ายแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนที่สนใจ นับว่าเป็นโอกาสดีทั้งภาคเกษตรกร เอกชน และรัฐ ที่จะร่วมกันนำน้ำยางพาราจากภาคเกษตรกร เข้าสู่กระบวนการแปรรูป และเกิดการใช้จริง” นายณกรณ์ กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น