ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ยางพาราปี 60 สดใส เศรษฐกิจ จีน – อเมริกา คือตัวแปร

จากสถานการณ์ด้านราคายางพาราที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และปรับสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทั้งราคายางตลาดในประเทศ ต่างประเทศและตลาดล่วงหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้า ปรับสูงขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.70 บาท คิดเป็นร้อยละ 17.62 หากมองทิศทางราคายางในช่วงนี้ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ดี ราคายางที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลดีต่อเกษตรกรชาวสวนยาง

 ดร. ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า การที่ราคายางปรับสูงขึ้นเป็นผลมาจากปัจจัยหลายด้าน

สำหรับปัจจัยบวกด้านอุปทานสำหรับภายในประเทศ เป็นผลสืบเนื่องจากนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการลดพื้นที่ปลูกยาง 4 แสนไร่ต่อปี ต่อเนื่อง 7 ปี จะทำให้ปริมาณยางที่ออกมาจากตลาดมีปริมาณที่สมดุลมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมและควบคุมคุณภาพยาง ส่งผลให้ supply ยางตรงตามความต้องการของตลาดมากขึ้น

ในขณะเดียวกันปัจจัยบวกด้านอุปสงค์ที่เกิดขึ้นภายนอกประเทศ เกิดจากกลุ่มผู้ส่งออกยาง 3 ประเทศทั้งไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ได้มีการกำหนดนโยบายควบคุมปริมาณการส่งออก ประมาณ 615,000 เมตริกซ์ตันต่อปี ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกมีความสมดุลกับปริมาณการใช้ยางในโลกมากยิ่งขึ้น

เพราะฉะนั้น เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระดับราคามีการสะสมตัวและมีการปรับตัวสูงยิ่งขึ้น ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมา สภาพอากาศทางภาคใต้ของประเทศไทยและประเทศมาเลเซียมีฝนหนักอย่างต่อเนื่องและเกิดอุทกภัยในหลายพื้นที่สำคัญของการปลูกยาง ทำให้ผลผลิตยางมีปริมาณน้อยกว่าความต้องการใช้ยางของตลาด

 ผู้ว่าการ กยท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ยังมีปัจจัยบวกด้านอื่นๆ ที่มีผลทำให้ราคายางสูงขึ้น ทั้งการเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐมีการแข็งค่าในหลายรอบปีหลังการประกาศชัยชนะของทรัมป์ การอ่อนค่าของเงินเยน มีผลต่อราคาล่วงหน้าของยางในตลาด TOCOM การเก็งกำไรอย่างหนักในตลาดล่วงหน้าเซียงไฮ้ (SHFE) เนื่องจากค่าเงินหยวนอ่อนค่า รวมถึงสต๊อกยางในประเทศจีนกระทบต่อตลาด TOCOM และ SICOM รวมทั้งสนับสนุนการเก็งกำไรในตลาดล่วงหน้าเซียงไฮ้ (SHFE) 

“ในช่วงทุกสิ้นปี ราคายางอาจชะลอลงเล็กน้อย เนื่องจากทุกประเทศผู้ซื้อเข้าสู่ช่วงวันหยุดจากเทศกาลต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม จากปริมาณสต็อกยางในเดือนธันวาคมที่เพิ่มขึ้นไม่มาก ประกอบกับแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายของจีนยังคงแข็งแกร่ง จึงคาดว่าราคายางในเดือนมกราคม 2560 โดยเฉลี่ยยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้น สำหรับผู้ประกอบการควรต้องทยอยซื้อยางเพื่อลดความเสี่ยง เนื่องมาจากราคายางที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว”

“สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางยังคงสามารถตัดสินใจขายเมื่อได้ราคายางอยูในระดับที่พอใจ ยังไม่จำเป็นต้องเทขายยาง สามารถทยอยขายได้เพื่อเก็งกำไรในแต่ละช่วง เนื่องจากราคายางยังคงรักษาระดับต่อไปจนถึงปีหน้า”

ดร.ธีธัช คาดการณ์ถึงการค้าและการส่งออกยางในปี 2560 ว่า เมื่อพิจารณาพื้นที่ปลูกยางกับปริมาณการใช้ยางของโลก พบว่า มีแนวโน้มเกิดความสมดุลระหว่างผลผลิตยางและความต้องการใช้ยางของโลก เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่ปลูกยางโดยรวมของโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่สัดส่วนลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านๆ มา
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาดในปี 2560 ประมาณ 7 แสนตัน หรือประมาณ 5.7% ของผลผลิตยางของโลก

สำหรับประเทศไทยในปี 2559 ผลผลิตถึงเดือนกันยายน 2559 ประมาณ 4.452 ล้านตัน ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อน 0.32% ในปี 2559 ผลผลิตโดยรวมของประเทศไทยลดลงกว่าปี 2558 เล็กน้อย เป็นผลมาจากการดำเนินการตามมาตรการของรัฐและจากสภาพอากาศที่มีฝนตกต่อเนื่องยาวนาน

ในขณะเดียวกัน ปริมาณการใช้ยางโลกโดยเฉลี่ย ตั้งแต่ปี 2553-2558 เพิ่มขึ้น 2.48% ในปี 2558 มีปริมาณรวม 12.146 ล้านตัน น้อยกว่าปริมาณการผลิต 0.132 ล้านตันหรือร้อยละ 1.08 ซึ่งจีนยังคงเป็นประเทศผู้ใช้ยางรายใหญ่ 

สำหรับในปี 2559 ถึงเดือนมิถุนายน ปริมาณการใช้ยางโลกเพิ่มขึ้น 2.7% และจากการคาดการณ์ GDP ในปี 2560 คาดว่า GDP โลกจะโตขึ้น 3.34 เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่ง GDP อยู่ที่ 2.94 โดยประเทศหลัก เช่น สหรัฐคาด GDP จะอยู่ที่ 2.27 จากเดิม 1.53 จีน 6.43 จากปี 2558 6.66 ญี่ปุ่น 1.03 จากปี 2558 0.75 อินเดีย 7.56 จากปี 2558 7.44

“จากคาดการณ์เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกและเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ พบว่า แนวโน้มการค้าและสถานการณ์การส่งออกยางในปี 2560 ยังคงมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีน เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ ได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมฉบับที่ 13 (2016-2020) เน้นการพัฒนาทางการแพทย์ และนโยบาย ‘One Belt One Road’ เส้นทางที่ทำให้ภูมิภาคเอเชียสามารถเชื่อมต่อกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลกได้ สร้างเขตการค้าเสรีที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกจากปี 2017 นับว่าเป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จึงเป็นผลดีกับอุตสาหกรรมยางไทย ประกอบกับในปี 2560 เป็นปีแรกของการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ คาดว่าทรัมป์จะพยายามผลักดันให้เศรษฐกิจสหรัฐเติบโต และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกดีตาม อีกทั้ง แนวโน้มการเกิด over supply ที่ลดลง อาจคาดได้ว่า การค้าและการส่งออก และราคายางในปี 2560 คงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น” ผู้ว่าการ กยท. กล่าว

  - Advertisement - 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม