ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กยท. พัฒนายางพารา “ครบวงจร” ดันไทยสู่ มหาอำนาจด้านยางพาราของโลก

 กยท. วางเป้าสร้างผลงานวิจัยใช้ประโยชน์ได้จริง พร้อมให้ความสนับสนุนแปรรูปผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างความมั่นคง ยั่งยืนให้ชาวสวนยางไทย

เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.ธีธัช  สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กล่าวถึงยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ กยท. ภายในงานประชุมวิชาการยางพาราครั้งที่ 1 ประจำปี 2560 ที่ จ.กระบี่ ว่า ประเทศไทยจะไม่เป็นแค่ประเทศผู้ส่งออกยางพาราหลักเท่านั้น แต่ประเทศไทยจะต้องเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราอันดับ 1 ของโลกให้ได้

หมายถึง ห่วงโซ่อุปทานของยางพาราตั้งแต่การผลิตจนถึงการแปรรูป จะต้องสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป็นประโยชน์ต่อทั้งภาคเกษตร และภาคอุตสาหกรรม และประเทศชาติ โดย กยท. เป็นองค์กรกลางรับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของประเทศทั้งระบบอย่างครบวงจร ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา 

ทั้งนี้ นโยบายที่ผ่านมาๆ กยท.พยายามผลักดันให้เกิดการพัฒนาทั้งระบบ เพื่อให้ยางพาราของไทยมีคุณภาพ พร้อมทั้งเน้นการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางประเภทต่างๆ หากประเทศไทยปลูกยางเยอะ และสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ดีได้เยอะ ความเป็น “มหาอำนาจทางเศรษฐกิจด้านยางพารา” จะอยู่ไม่ไกล

ที่สำคัญสร้างรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล ซึ่งองค์ความรู้ ประสบการณ์ และผลงานวิจัยต่างๆ นับจากนี้ กยท. จะเน้นสร้างผลงานวิจัยให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อวงการยางพาราในอนาคต

พร้อมทั้งเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถนำยางพาราไปเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมทั้งลดต้นทุนค่าใช้จ่ายขององค์กรได้

 Advertising


ดร.ธีธัช กล่าวในงาน สัมมนาสถาบันเกษตรกรและครูยาง เรื่อง การแปรรูปยางพาราสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาง ในงานเกษตรแฟร์จังหวัดกระบี่ ประจำปี 2560 ว่า ยางพารายังสามารถนำไปแปรรูปเป็นสินค้าได้มากมาย ไม่ใช่แค่ที่นอนยางหรือหมอนยาง


กยท. มีองค์ความรู้ พร้อมทั้งนักวิจัยที่คิดค้นงานวิจัยต้นแบบ ที่สามารถช่วยให้เกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดสู่การแปรรูปยางได้จริง

ขณะนี้สินค้าแปรรูปจากยางพาราเป็นที่ต้องการในตลาดมาก แต่ยังมีการผลิตน้อย เช่น เฝือกยาง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยางที่ใช้ในวงการแพทย์ โดยยางมีคุณสมบัติในการยืดหยุ่น สามารถถอดออกเพื่อทำความสะอาดแผลได้ง่าย ในหนึ่งปีมีความต้องการใช้เฝือกยาง ประมาณ 500,000 ชิ้น

แม้แต่แผ่นรองพื้นกันลื่น สนามฟุตซอล ก็นิยมนำยางพารามาใช้เป็นวัตถุดิบ เป็นต้น 


ดังนั้น หากพี่น้องเกษตรชาวสวนยาง สามารถรวมกลุ่มกันและวางแผนในการนำยางพาราที่มีอยู่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เพิ่มรายได้ ทาง กยท. ยินดีให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ความรู้ และเงินทุน โดยสามารถขอรับคำปรึกษาและการสนับสนุนต่างๆ จาก กยท.ได้ทุกสาขา เพื่อเป็นการช่วยให้กลุ่มเกษตรกรมีช่องทางในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง

เพราะการแปรรูปนั้นถือเป็นอนาคตของยางพารา รายได้ของเกษตรกรจะไม่ต้องขึ้นอยู่กับราคายางเพียงอย่างเดียว

กยท.พร้อมให้ความสนับสนุนและหาแนวทางร่วมกัน เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มมากขึ้นจะเป็นรายได้ที่มั่งคงและยั่งยืนกว่าที่เป็นอยู่


advertivsing
สนใจลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม