ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เปิดตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพารา จ.ตรัง สร้างมูลค่าเพิ่ม 700 ล้านบาท/ปี

การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดตรัง เปิด เครือข่ายตลาดกลางยางพารา  ศูนย์กลางให้บริการซื้อขายยางพาราที่เป็นระบบ ช่วยให้เกษตรกรได้รับความยุติธรรมในการซื้อขายยางและเข้าถึงตลาดได้ง่าย

สหกรณ์การเกษตรย่านตาขาว จำกัด ปัจจุบันดำเนินธุรกิจเป็นปีที่ 46 มีการพัฒนาการเจริญเติบโตตามแผนพัฒนาสหกรณ์ระยะยาว มีสมาชิก 5,630 คน มีทุนดำเนินงาน 1,245 ล้านบาท ให้บริการสมาชิก 8 กิจกรรม ปริมาณการดำเนินงานทั้งสิ้น 2,328 ล้านบาท อาทิ เป็นแหล่งเงินทุนให้สมาชิก จัดหาสินค้ามาจำหน่าย รวบรวมผลผลิตยางพารา แปรรูปยางพาราอัดก้อน GMP รวมถึงการส่งเสริมอาชีพสมาชิกและส่งเสริมการออม

ด้วยผลงานดังกล่าว จึงได้รับคัดเลือกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็น สหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2560 ประเภทสหกรณ์การเกษตร โดยหนึ่งกิจกรรมหลัก คือ การรวบรวมผลผลิตยางพาราจากสมาชิก สร้างมูลค่าในปีที่ผ่านมา ประมาณ 700 ล้านบาท 
กยท. มองเห็นถึงศักยภาพที่จะยกระดับจากจุดรวบรวมผลผลิตยาง  เป็นตลาดเครือข่ายของตลาดกลางยางพาราจังหวัดสงขลาแห่งแรก เพื่อให้เกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรที่รวบรวมผลผลิตยางพาราจากสมาชิก และสมัครเป็นลูกข่ายของตลาดยางพาราแห่งประเทศไทย มีการให้บริการซื้อ-ขายยาง ภายใต้กฎและระเบียบที่ตลาดกลางยางพาราแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งจะได้รับสิทธิ์และราคาที่ประมูล เสมือนหนึ่งเป็นการขายที่ตลาดกลางยางพาราแห่งประเทศไทย 

ทั้งนี้ กยท.มีเป้าหมายที่จะดำเนินการผลักดันให้มีการเปิดตลาดเครือข่ายตลาดกลางยางพาราการยางแห่งประเทศไทย จำนวน 5 ตลาด ในปีงบประมาณ 2561 โดยตลาดเครือข่ายแห่งแรกของประเทศไทย และอีก 4 ตลาด ใน 4 อำเภอ คือ อ.ปะเหลียน อ.รัษฎา อ.เมืองตรัง และ อ.สิเกา ที่จะดำเนินการผลักดันเพิ่มเติม เพื่อให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสามารถขายผลผลิตได้ตามราคาที่มีการประกาศชัดเจน
โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 5 ต.ค. 60 มีนายศิริพัฒ พัฒกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานเปิด พร้อมกับกล่าวว่า  จังหวัดตรัง มีพื้นที่กรีดยางจำนวน 1,331,767 ไร่ มีผลผลิต 303,981 กิโลกรัม/ ปี มากเป็นลำดับที่ 4 ของประเทศ ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรในจังหวัดตรัง ส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรชาวสวนยาง และโดยส่วนใหญ่เกษตรกรชาวสวนยาง จะส่งขายยางในรูปของน้ำยางสด และยางแผ่นดิบ ซึ่งเป็นวัตถุดิบขั้นต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง เช่น ยางล้อรถยนต์ เครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น 


ในกระบวนการรับซื้อยางจากเกษตรกร จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อ ไม่มีราคาแน่นอน ไม่มีการคัดชั้นยาง ซึ่งอาจทำให้เกษตรกรได้รับราคาไม่ยุติธรรม และตลาดกลางยางพารามีเพียง 6 แห่ง ทั่วประเทศ ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางที่ต้องการขายยางให้แก่ตลาดกลางยางพาราเข้าถึงได้ยาก 
ดังนั้น การพัฒนาเป็นเครือข่ายตลาดกลางยางพาราของการยางแห่งประเทศไทยจะช่วยลดปัญหาด้านราคาจากพ่อค้าคนกลาง มีราคาอ้างอิงที่ชัดเจน ทำให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางได้รับความยุติธรรมในการ ซื้อ- ขาย ยาง มีราคาอ้างอิงชัดเจนทุกวัน และที่สำคัญ ทำให้เกษตรกรรายย่อยเข้าถึงตลาดได้ง่าย เนื่องจากตลาดแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้บ้าน เกษตรกรผู้ที่ขายยางกับตลาดเครือข่ายจะได้รับสิทธิ์ตามราคาที่ประมูล เสมือนหนึ่งเป็นการขายที่ตลาดกลางยางพาราการยางแห่งประเทศไทยโดยตรง

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์


Advertising
- Advertisement - 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม