ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ถนนผสมยางพารา 10% ม.อ. วิจัยใช้ยางมาก ปลอดภัยสูง

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี เปิดถนน มีส่วนผสมของยางพารา 10% ซึ่งเป็นถนนเส้นแรกที่ใช้ส่วนผสมของยางพารามากที่สุดในประเทศไทย มีความนุ่มนวลในการขับขี่ และ ระยะเบรกจะสั้นกว่า ส่วนความคงทนและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาติดตามผลต่อไป

นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และที่ปรึกษาสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) เป็นประธานในพิธีเปิดถนนยางพารา ทศพาราวิถี และ เบญจพาราวิถี ณ ลานศรีวิชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวรายงานการดำเนินโครงการ 
รองศาตราจารย์ ดร.เจริญ นาคะสรรค์ รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กล่าวถึง โครงการวิจัยและพัฒนาการสร้างถนนยางพารา ทศพาราวิถี และ เบญจพาราวิถี ว่า เป็นผลงานของคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จากหลายวิทยาเขต ซึ่งมีการศึกษาวิจัยในการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ โดยถนนทั้ง 2 เส้น มีส่วนผสมของยางพารากับแอสฟัลต์คอนกรีต ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากัน โดยถนนเบญจพาราวิถี มีส่วนผสมของยางพารา ร้อยละ 5 และ ถนนทศพาราวิถี มีส่วนผสมของยางพารา ร้อยละ 10 และ เป็นถนนเส้นแรกที่ใช้ส่วนผสมของยางพารามากที่สุดในประเทศไทย

ทั้งนี้ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพการใช้งานของถนนที่มีส่วนผสมของยางพาราที่แตกต่างกัน 
ในปัจจุบันมีถนนหลายสายที่สร้างโดยมีส่วนผสมของยางพารากับแอสฟัลต์คอนกรีต แต่โดยทั่วไปจะมีส่วนผสมของยางอยู่ไม่เกิน ร้อยละ 5 และใช้น้ำยางพาราเป็นส่วนผสม แต่จากนักวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในฐานะผู้ทำวิจัยและทำงานเรื่องยางพารามายาวนาน โดยมีการร่วมมือกันในทุกวิทยาเขต ได้มีการศึกษาส่วนผสมในรูปแบบใหม่คือ เปลี่ยนเป็นใช้ยางแห้งเป็นส่วนผสมแทนน้ำยางโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ทำให้สามารถผสมยางได้มากขึ้นกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการผสมยางในปริมาณมากขึ้น ไม่ได้มีความยุ่งยากในกระบวนการผลิต

จากการทดลองใช้งาน ถนนที่มีส่วนผสมยางพารามากจะมีความนุ่มนวลในการขับขี่ และ ระยะเบรกจะสั้นกว่า ส่วนความคงทนและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นเรื่องที่จะต้องใช้เวลาติดตามผลต่อไป และจะมีการติดต่อให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ เข้ามาตรวจสอบคุณภาพถนนอย่างต่อเนื่อง เพื่อเก็บข้อมูลและกำหนดมาตรฐานในโอกาสต่อไป
- Advertisement - 



สำหรับเหตุผลหนึ่งที่ใช้ยางแห้งแทนน้ำยาง เพราะจากการศึกษาการผสมระหว่างยางกับแอสฟัลท์นั้น น้ำไม่ได้มีประโยชน์ในกระบวนการผสมดังกล่าว ดังนั้นการใช้เนื้อยางอย่างเดียวเพื่อหลอมผสมกับแอสฟัลท์ ซึ่งเป็นการนำพอลิเมอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันมาหลอมละลายเข้าด้วยกัน ด้วยความร้อนจึงเป็นสิ่งที่น่าจะเพียงพอ

จริงๆ แล้วส่วนผสมของยางอาจได้มากกว่าร้อยละ 10 แต่จะคุณภาพดีหรือไม่ยังไม่มีคำตอบเพราะยังมีเคยมีใครทำมาก่อน เรากำลังจะหาคำตอบว่าปริมาณที่เหมาะสมคือเท่าไหร่ ซึ่งนี่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มมูลค่ายางในภาวะที่ราคายางตกต่ำ ประเทศไทยผลิตยางดิบ 4 ล้านตันต่อปี และส่งออก 3 ล้านตัน แต่ที่ได้นำไปแปรรูปขายเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น มีมูลค่ามากกว่าราคายางที่ส่งออก ซึ่งหากมีการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากขึ้น จะทำประเทศจะมีรายได้เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท 

รองอธิการบดีวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี กล่าว
ที่มา : สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์

เพิ่มเพื่อน
- Advertisement -
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ศูนย์วิจัยยางสงขลาเคยทำการทดลองทำถนนด้วยยางมะตอยผสมยางพาราไว้แล้วเมื่อ ๔๐ กว่าปีก่อน โดยผสมยางพาราลงไปมากกว่าร้อยละ ๑๐ ถนนสามารถใช้งานได้ ๓๐ กว่าปีโดยไม่ต้องมีการซ่อมแซม สูดท้ายต้องรื้อทิ้งไปเพราะจะขยายถนนเป็น ๔ เลน จุดที่ทำการสร้างทดสอบการใช้งานไว้คือถนนสงขลาหาดใหญ่สายเก่า บริเวณหน้าค่ายทหาร ระยะทาง ๑ กม. ซึ่งผลการทดลองนายกสมัยนั้นได้รับทราบ(จอมพลอะไรจำไม่ได้แล้ว) อธิบดีกรมทางหลวงขณะนั้นก็รับทราบ ข้อมุลจากนายชิต ทัศนกุล นักวิชาการของศูนย์วิจัยยางฯ ผู้ทดลองเล่าให้ฟังเมื่อสัก ๑๐ กว่าปีมาแล้วครับ ตอนนั้นท่านเกษียณอายุราชการมาประมาณ ๒๐ กว่าปีแล้ว

บทความที่ได้รับความนิยม