ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

จุนฮุย แซ่เล้า พิสูจน์ ปุ๋ยซีพีไอ พลัส ได้ผลผลิต 5 ตัน/ไร่/ปี ในสวนปาล์มน้ำมันชุมพรอุตสาหกรรมฯ (Advertorial)

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ปุ๋ย” สำคัญกับการทำสวนปาล์มน้ำมัน เพราะเมื่ออ้างอิงจากวิชาการแล้ว “น้ำมัน” หรือ “ไขมัน” เป็นสารที่พืชต้องใช้พลังงานในการสร้างสูงกว่าสารจำพวก น้ำตาล และโปรตีน ซึ่งธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินนั้นไม่เพียงพอสำหรับการผลิตปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง 

สอดคล้องกับความจริงที่ว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ผลิต “น้ำมัน” ได้ปริมาณสูงกว่าพืชนิดอื่น จึงต้องการปุ๋ยมากเป็นพิเศษนั่นเอง

เมื่อได้ผลสรุปแล้วว่าปาล์มน้ำมันต้องการปุ๋ยในปริมาณมากเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและออกผลผลิต ก็ยังมีคำถามต่อไปอีกว่าเกษตรกรควรจะ ใช้ แม่ปุ๋ย หรือ ปุ๋ยสูตร ดีกว่ากัน 
คุณจุนฮุย แซ่เล้า ผู้จัดการฝ่ายสวน บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
ประเด็นคำถามนี้ยางปาล์มออนไลน์ได้สัมภาษณ์พิเศษ คุณจุนฮุย แซ่เล้า (คุณเล้า) ผู้จัดการฝ่ายสวน บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ที่มีประสบการณ์ในการทำสวนปาล์มมากกว่า 41 ปี ทั้งในมาเลเซียและเมืองไทย โดยในเมืองไทยนั้นคุณจุนฮุย เริ่มทำสวนปาล์มน้ำมันมาตั้งแต่ปี 2521 นับเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้านปาล์มน้ำมันสูงสุดคนหนึ่งของเมืองไทย

“สวนปาล์มของ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมฯ ใช้มาทั้งปุ๋ยสูตรและแม่ปุ๋ย ทั้ง 2 แบบมีข้อดีแตกต่างกันไป เช่น แม่ปุ๋ยดีตรงที่เราสามารถเลือกใส่ได้ตามค่าการวิเคราะห์ใบ แต่ข้อเสียคือต้องแยกใส่ทีละตัวถือว่าใช้เวลามากพอสมควร และสิ่งสำคัญคือธาตุอาหารเสริมบางตัวเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถหาซื้อได้เอง ตรงนี้เป็นจุดเล็กๆ ที่สำคัญ เป็นสิ่งที่เราได้ประสบพบเจอจากการที่เราได้พูดคุยกับเกษตรกร

“ส่วนการใส่ปุ๋ยสูตร ในที่นี้เราจะพูดถึงปุ๋ย ซีพีไอ พลัส นะครับ ปุ๋ยตัวนี้จุดเด่น คือ มีการรวมเอาธาตุอาหารที่ต้นปาล์มต้องการ 9 ชนิดมารวมกัน ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะมีการผลิตปุ๋ยสูตรนี้ออกมา มันเกิดจากกระบวนการคิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรจริงๆ  ผ่านการวิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มน้ำมันจริงๆ และทดสอบในสวนปาล์มของชุมพรอุตสาหกรรมฯ เอง

“และอย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าธาตุอาหารบางตัวเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถหาซื้อเองได้ ซีพีไอ พลัส จึงนำมารวมกันไว้ในถุงเดียวกัน ให้เกษตรกรใช้ได้ทันที ใช้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น ใช้เวลาในการใส่ปุ๋ยน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายเรื่องแรงงานลงไปได้มาก...นี่คือสิ่งที่ทาง ซีพีไอ อะโกรเทค ได้มองเห็นจริงๆ” คุณเล้าอธิบายเรื่องจุดเด่น/จุดด้อยของปุ๋ยทั้ง 2 แบบ
การดูแล-บริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันของ บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน โดย คุณจุนฮุย  ใช้ประสบการณ์การทำสวนปาล์มในมาเลเซียมาใช้อย่างเต็มรูปแบบในระยะแรกและค่อยๆ ปรับให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของเมืองไทยขึ้นเรื่อยๆ

คุณจุนฮุย บอกว่า การนำวิชาการมาใช้ในสวนปาล์มเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น เพราะช่วงแรกพื้นที่แถบนี้ค่อนข้างแห้งแล้ง แทบไม่มีต้นไม้ ที่ดินทำไร่เลื่อนลอยมาก่อนส่งผลให้หน้าดินมีปัญหา ดังนั้นการแก้ไขอันดับแรกก็คือการปรับปรุงดินด้วยการปลูก ถั่วคลุมหน้าดิน จนเต็มพื้นที่

ถัดมาคือเรื่อง การเก็บเกี่ยวปาล์มที่ไม่สุกหรือดิบเกินไป ปาล์มดิบยังมีแป้งในผลปริมาณมาก แต่มีน้ำมันน้อย ทำให้หีบน้ำมันได้น้อยลงและมีผลต่อการประเมินราคาปาล์มน้ำมันแน่นอน

ที่สำคัญที่สุด คือ การใส่ปุ๋ย แรกๆ ที่นี่ใช้ปุ๋ยสูตร แต่พอปาล์มโตขึ้นและให้ผลิตก็เริ่มหันมาใช้แม่ปุ๋ยและใช้วิธีใส่ปุ๋ยตามผลการตรวจวิเคราะห์ค่าใบ และตามปริมาณผลผลิต ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม วิจัยร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 

ที่สำคัญต้องใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อเนื่อง แม้แต่ช่วงอายุที่ปาล์มยังเล็กยังไม่ให้ผลผลิตก็ต้องใส่ปุ๋ยตามที่เรากำหนดไว้ให้เพื่อให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตต่อเนื่องเตรียมพร้อมสำหรับการออกทะลายต่อไป 
แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนจากการใช้แม่ปุ๋ยไปใช้ปุ๋ยสูตร ปุ๋ยซีพีไอ พลัส จาก บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ที่คิดค้นร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้วิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มน้ำมันอ้างอิงผลวิเคราะห์ความเข้มข้นของธาตุอาหารในต้นปาล์ม จาก สถาบันปุ๋ยเคมีนานาชาติ (International Potash Institute, IPI) นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับข้อมูลมวลชีวภาพและข้อมูลการผลิตทะลายปาล์ม 

รวมทั้งผ่านการทดลองใช้งานจริงในสวนปาล์มน้ำมันของ บมก.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เป็นเวลามากกว่า 30 ปี

ด้วยการบริหารจัดการทั้งหมดนี้ทำให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 2 ตันกว่า/ไร่/ปี มาเป็น 4-5 ตัน/ไร่/ปี โดยเฉพาะปี 2551 ได้ค่าเฉลี่ย 5 ตัน/ไร่/ปี ในกว่าหมื่นไร่ แสดงให้เห็นว่าเทคนิคที่ใช้มาถูกต้องแล้ว

“ตอนอยู่ที่มาเลเซียผมก็ทำงานด้านปาล์มน้ำมัน ทำทั้งสวน ทั้งแปลงเพาะ กับบริษัทขนาดใหญ่ พอมาอยู่เมืองไทยผมก็มาทำปาล์มน้ำมันอีก ถือว่าบริษัทชุมพรอุตสาหกรรมฯ เป็นรายใหญ่รายแรกๆ ที่มาทำสวนปาล์มที่นี่ ปัจจุบันปาล์มที่ปลูกรุ่นแรกของเราโค่นไปแล้ว ชุดใหม่นี้อายุประมาณ 10 ปี

“หลังจากที่บริษัทประสบความสำเร็จในการทำสวนปาล์ม ก็สนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงปลูกปาล์มน้ำมันมาตลอดและถ่ายทอดความรู้แบบที่เราทำจริงๆ ให้กับเขา ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อก่อนเกษตรกรจะปลูกแบบเลื่อนลอย แรกๆ เขาก็ไม่ยอมปลูก แต่พอเห็นว่าผลตอบแทนดีก็หันมาปลูกปาล์มกันมากขึ้นจนตอนนี้พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา” คุณจุนฮุย เล่าประสบการณ์คร่าวๆ ในเส้นทางสายปาล์มน้ำมันของเขา 
นอกจากนี้คุณจุนฮุยถ่ายทอดประประสบการณ์จากการเปลี่ยนปุ๋ยจากแม่ปุ๋ยมาใช้ปุ๋ยสูตร ซีพีไอ พลัส ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ในปาล์มน้ำมัน มีทั้งสิ้น 3 สูตร พบว่าผลผลิตยังคงได้ดีต่อเนื่องเหมือนเดิม เพราะในปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารหลักที่จำเป็นกับปาล์มน้ำมันถึง 9 ชนิด ซึ่งมากกว่าปุ๋ยสูตรทั่วไปที่มีไม่เกิน 5 ชนิด จึงต้องมีการใส่ปุ๋ยบ่อยขึ้น 

ยิ่งเป็นตอนที่ใช้แม่ปุ๋ยที่ต้องแยกกันใส่ถือว่าใช้เวลากับการใส่ปุ๋ยไปมากพอสมควร แม้ว่าจะได้ผลดีได้ปาล์มผลผลิตสูงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายเรื่องการจ้างแรงงานเพิ่มเข้ามาอีก 

แต่หลังจากที่ใช้ปุ๋ยสูตร ซีพีไอ พลัส ทำให้ใช้เวลาและแรงงานในการจัดการสวนน้อยลง เหมาะกับวิถีเกษตรปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วและแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานสวนปาล์มได้ไม่น้อยทีเดียว 
ด้วยจุดเด่นของ ปุ๋ยซีพีไอ พลัส คือ มีธาตุอาหารสำคัญ 9 ชนิด ได้แก่
  • N ไนโตรเจน : สร้างใบให้เขียว กระตุ้นการเจริญเติบโต
  • P ฟอสฟอรัส : ช่วยพัฒนาการรากและต้น เร่งดอก
  • K โพแทสเซียม : ช่วยการเจริญเติบโต มีส่วนในกลไกการเปิด-ปิดปากใบ
  • Ca แคลเซียม : ทำงานร่วมกับโบรอน ช่วยให้เซลล์แข็งแรง ช่วยการผสมเกสร
  • Mg แมกนีเซียม : เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยสร้างแป้ง โปรตีน และไขมัน
  • S กำมะถัน : ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ กรดอะมิโน และโปรตีน
  • B โบรอน : ช่วยการติดผล ขยายขนาดผล
  • Zn สังกะสี : ช่วยการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรดและโปรตีน ช่วยสร้างฮอร์โมนออกซิน ซึ่งควบคุมการเจริญเติบโต 

ปุ๋ยซีพีไอ พลัส แบ่งเป็น 3 สูตร ได้แก่

สูตร 1 23-6-15+TE (เร่งโต)
เหมาะสำหรับต้นปาล์มที่เน้นการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่เริ่มปลูก เป็นสูตรที่จำเป็นในการสร้างลำต้นและระบบลำเลียงท่อน้ำ ท่ออาหาร ให้แข็งแรง ตรงความต้องการของต้นปาล์ม
ข้อแนะนำในการใช้
  • ใส่ครั้งแรก หลังปลูก 1 เดือน จำนวน 300 กรัม/ต้น
  • จากนั้นใส่ 2-3 กิโลกรัม/ต้น/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)
สูตร 2 15-5-25+TE (เพิ่มผลผลิต)
เหมาะสำหรับการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้ได้ทะลายดก ได้น้ำหนักดี และเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง สูตรปุ๋ยได้ออกแบบในสัดส่วนที่พอเหมาะและสอดคล้องกับความต้องการในการสร้างทะลายปาล์ม
ข้อแนะนำในการใช้ : 7-8 กิโลกรัม/ต้น/ปี ที่ระดับผลผิต 3.5 ตัน/ไร่/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)

สูตร 3 12-5-20+TE (บำรุงต้น)
บำรุงต้นปาล์มขั้นพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
ข้อแนะนำในการใช้ :
  • ปาล์มเล็ก 2-3 กิโลกรัม/ต้น/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)
  •  ปาล์มใหญ่ 5-8 กิโลกรัม/ต้น/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)
ในช่วงท้าย บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ได้แนะวิธีบำรุงดูแลสวนปาล์มน้ำมันทั้งปาล์มเล็ก-ปาล์มใหญ่เป็นแนวทางคร่าวๆ สำหรับเกษตรกร ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่ บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้ 
ปาล์มเล็ก 1-3 ปี
  • กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาดอยู่เสมอ
  • สำรวจโรค และแมลงศัตรูปาล์มอย่างสม่ำเสมอ
  • ตรวจค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ถ้าดินเป็นกรด (ค่าต่ำกว่า 5.5) ให้ใส่ปูนโดโลไมท์ 1 กก./ต้น/ปี โดยใส่ภายในทรงพุ่มช่วงฤดูแล้ง
  •  หว่านปุ๋ยภายในบริเวณทรงพุ่มช่วงที่ดินมีความชื้น หลังจากการกำจัดวัชพืช
ปาล์มใหญ่ที่ให้ผลผลิตแล้ว
  • กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาดเพื่อความสะดวกในการเก็บลูกร่วง
  • สำรวจโรค และแมลงศัตรูปาล์มอย่างสม่ำเสมอ
  • นำทางใบที่ตัดแต่งลงมาจากต้นมากองภายในสวนให้ง่ายต่อการจัดการ
  • ตรวจค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ถ้าดินเป็นกรด (ค่าต่ำกว่า 5.5) ให้ใส่ปูนโดโลไมท์ 2-3 กก./ต้น/ปี โดยใส่บนกองทางใบช่วงฤดูแล้ง
  • หว่านปุ๋ยบริเวณบนกองทางใบที่กองไว้ภายในแปลงในขณะที่ดินมีความชื้น 
คุณจุนฮุย ได้เสริมประเด็นเรื่องการใส่ปุ๋ยในกองทางเพิ่มเติมว่า การวางกองทางในสวนปาล์มเป็นวิธีการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน สร้างพื้นที่ให้มีความชื้นสำหรับใส่ปุ๋ย ช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรดได้ง่าย 

ทั้งยังช่วยลดการชะล้างหน้าดิน ลดการถูกชะล้างของปุ๋ย เมื่อใส่ปุ๋ยจึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยในกองทางเพราะตรงนั้นมีทั้งความชื้น มีสภาพ pH เหมาะสมที่จุลินทรีย์จะย่อยสารอาหารจากปุ๋ยให้ต้นปาล์มนำไปใช้ 

ส่งผลให้สภาพดินดีขึ้น เมื่อดินดีขึ้นก็ได้ผลผลิตสูงขึ้น เพียงแค่วางกองทางในสวนปาล์มเกษตรกรก็ได้ประโยชน์เพิ่มอีกหลายต่อโดยแทบจะไม่ต้องใช้ต้นทุนใดๆ เพิ่มเลยนั่นเอง
  
ขอขอบคุณ
คุณจุนฮุย แซ่เล้า
บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด
16 หมู่ 16 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร 86140
โทรศัพท์ : 077-975-522 และ 098-016-6775
Facebook : @CPIHYBRID
Lind : @CPIHIBRID
- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม