ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

“โดโลไมท์” ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ “ปุ๋ย” 3 เท่า


รู้หรือไม่ว่า สภาพดินภาคใต้ ส่วนใหญ่เป็น “ดินกรด” (ค่า pH ต่ำกว่า 5.5) สาเหตุเหรอ เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และพฤติกรรมการทำเกษตรของชาวสวนเอง เช่น มีการชะล้างหน้าดินจากน้ำฝนสูง ทำให้ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ (ด่าง) หายไปจากดิน ธาตุอาหารส่วนหนึ่งก็ถูกพืชก็ดูดเอาไปใช้ แล้วปลดปล่อยกรดลงมาแทน ขณะเดียวกันชาวสวนก็ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ใส่แต่ปุ๋ยเคมี ขาดการบำรุงดิน มาเป็นเวลานาน

ผลของดินกรดเหรอ เอาที่ใหญ่ๆ เลยน่ะ คือ จะทำธาตุอาหารที่เกษตรกรใส่ลงไปในรูปของปุ๋ย “ถูกตรึง” ไว้ จนพืชดูดไปใช้ไม่ได้ หมายความว่า ปุ๋ยที่ชาวสวนใส่ลงไป พืชเอาไปใช้ได้นิดเดียว (ดูตาราง) 


แต่โลกไม่ได้เลวร้ายกับชาวสวนขนาดนั้น เพราะเราแก้ปัญหาดินกรดได้ง่ายๆ ต้นทุนต่ำ แต่ประสิทธิภาพสูง หนึ่งในนั้นคือ เติม “โดโลไมท์” ลงไปในดิน

ดร.กวิน ปุญโญกุล ผู้เชี่ยวชาญการจัดการสวนปาล์ม และที่ปรึกษาสวนปาล์มขนาดใหญ่ ได้อธิบายความสำคัญของ โดโลไมท์ ว่า โดโลไมท์ เป็น “ปูน” ชนิดหนึ่ง จะมี แคลเซียม (CaCO3) 30% และแมกนีเซียม (MgCO320% 
ดร.กวิน ปุญโญกุล
ประโยชน์ของโดโลไมท์  
  • เป็นแหล่งของธาตุ “แคลเซียม” และ “แมกนีเซียม” สำหรับปาล์มน้ำมัน ปาล์มที่อายุมากกว่า 5 ปี ควรได้รับโดโลไมท์ประมาณ 3 กก./ต้น/ปี (ต้องลองทดสอบดินก่อนนะครับ ถ้ามีมากอยู่แล้ว หรือดินมีค่า pH เป็นกลางอยู่แล้วอาจใช้ปูนอย่างอื่นแทน)

  • ปรับสภาพดิน โดยที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง pH ดิน ที่เหมาะสมกับคือ 5.5-6.6 ยกตัวอย่าง เช่น ดินที่เป็นกรด pH = 4.5 ปาล์มจะใช้ N P K ได้แค่ 35%, 25% และ 30% ตามลำดับ

จากการตรวจดินส่วนใหญ่ทางภาคใต้จะเป็น “ดินกรด” ดังนั้นคนใต้เราส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยไป 100% ปาล์มใช้ได้แค่ 30% แต่ถ้าปรับ pH ให้ได้ 6.5 ปุ๋ยที่ใส่ไปจะใช้ได้มากกว่า 80% นะครับ 
การปรับสภาพดินอีกประการก็คือ การใส่อินทรียวัตถุ (ราคาไม่แพงจนเกินไป) เช่น ทะลายปาล์มเปล่า ขี้เค้กปาล์ม เพื่อช่วย

  • เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์
  • เพิ่ม C.E.C ดิน (ความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ) (C.E.C. = Catch Ion Exchange Capacity) ทำให้ปุ๋ยถูกดูดซับได้เพิ่มขึ้น พืชก็สามารถดูด ไปใช้ได้นานขึ้น

สรุป โดโลไมท์ เพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยได้ถึง 3 เท่า

หมายเหตุ : “โดโลไมด์” ต่างกับ “ปูนขาว” เพราะในปูนขาวไม่มีธาตุแมกนีเซียม แต่ในโดโลไมท์ มีธาตุแมกนีเซียม ดังนั้นการใส่โดโลไมท์จึงดีกว่าการใส่ปูนขาว แต่ในพื้นที่ดินเป็นกรดจัด ควรจะใช้ปูนขาวหากต้องการปรับความเป็นกรดให้น้อยลง

บทความที่เกี่ยวข้อง
แมกนีเซียมสำคัญต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันอย่างไร 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม