ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

1 ทศวรรษยางพาราไทย : สำเร็จหรือล้มเหลว

ผมตั้งใจจะเขียน “ยางพาราไทยภายใต้โควิด” เลยแบ่งการเขียน ออกเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 คือ “หนึ่งทศวรรษยางพาราไทย” และตอนที่ 2 คือ “ยางพาราภายในโควิด” ขอเริ่มตอนที่ 1 โดยประเมินในช่วง 12 ปี ตั้งแต่ปี 2550 ถึงถึงปี 2561 ก่อนครับ ท่านประเมินเอาเองนะครับว่า “สำเร็จหรือล้มเหลว”


💥 พื้นที่กรีดยางเพิ่มขึ้น “ฉุดไม่อยู่”
เมื่อพูดถึงพื้นที่ปลูกยางพาราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ พื้นที่ปลูกกับพื้นที่กรีด (พื้นที่ให้ผลผลิต) ตลอด 12 ปี ที่ผ่านมา มีพื้นที่กรีดจากเพิ่มจาก 12.9 ล้านไร่ เป็น 19.9 ล้านไร่ เฉลี่ยเพิ่มปีละ 6 แสนไร่ ในขณะที่พื้นที่ปลูกเริ่มมีทิศทางที่ลดลงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่เราจะควบคุมปริมาณการผลิตที่มากเกินไป

💥 ติดกับดัก “ผลผลิตต่อไร่ต่ำ”
การวัดประสิทธิภาพของสินค้าเกษตรวัดกันที่ผลผลิตต่อไร่ ผลผลิตต่อไร่ยางพาราไทยยังต่ำกว่า 250 กก.ต่อไร่ ช่วง 10 ปีที่ผ่านประเทศไทยยังไม่สามารถหาทางออกเรื่องนี้ได้ ในขณะที่ผลผลิตต่อไร่ของเวียดนามสูงกว่า 260 กก.ต่อไร่

💥 ยางแผ่นรมควัน” ลดความสำคัญ
ผลผลิตยางพาราในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลักคือ ยางแท่ง (ใช้ผลิตล้อยาง) น้ำยางข้น (ใช้ผลิตถุงมือ ถุงยาง ลูกโป่ง) ยางแผ่นรมควัน (ใช้ทำยางล้อ ยางรัดของ พื้นรองเท้า ยางลบ ท่อยาง) และยางผสม (ใช้ขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางหลากหลาย) ช่วงที่ผ่านมา มีสัดส่วนการใช้ยางแท่งลดลง จากเดิมที่มีการใช้ยางแท่งมากที่สุด สัดส่วนลดลงจาก 38% เหลือ 28% โดยความต้องการใช้ยางในประเทศหันไปใช้น้ำยางขึ้นเพิ่มจากสัดส่วน 26% เป็น 46% ใช้ขณะที่สัดส่วนการใช้ยางแผ่นรมควันลดลงเช่นกัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสัดส่วนการใช้ยางแท่งที่ลดลง แต่ยังมีมากกว่าสัดส่วนการใช้ยางแผ่นรมควันเนื่องจากยางแท่งมีการควบคุมและมาตรฐานคงที่และแน่นอน


💥 ความต้องการใช้ยางในประเทศ “ยังไม่ถึงฝัน”
แม้ว่าสัดส่วนการใช้ยางที่เพิ่มขึ้นและมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในหัวข้อที่ 3 ก็ตาม แต่ความต้องการใช้ยางพาราในประเทศยังเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ต่ำ เพิ่มจาก 10% เป็น 16% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมด นั้นหมายความว่า ราคายางพาราของประเทศไทยยังต้องถูกกำหนดจากต่างประเทศอีกต่อไป

💥 ส่งออกยางพารา “สาละวันเตี้ยลง”
ประเทศไทยส่งออกยางพาราใน 2 ชนิดคือ ยางพาราที่เป็นวัตถุดิบได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และน้ำยางข้น ส่วนใหญ่จะเป็นยางแผ่นรมควันชั้นที่ 3 และผลิตภัณฑ์ยางพารา โดยมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราเพิ่มขึ้นทุกปีจาก 2.3 แสนล้านบาท ในปี 2558 เป็น 3.5 แสนล้านบาทในปี 2562 แต่มูลค่าการส่งออกของยางพาราในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 3.7 แสนล้านบาทในปี 2554 เหลือ 1.2 แสนล้านบาทในปี 2562

💥 ราคายางพารา “กระดานลื่น”
นับตั้งแต่ที่ราคายางเฉลี่ยสูงสุดในปี 2554 ที่เกือบ 200 บาทต่อ กก. แต่หลังจากนั้นมาราคายางพาราก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง ราคายางแผ่นรมควันเฉลี่ยไตรมาส 1/2020 อยู่ที่ 42.9 บาทต่อ กก. เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2019 อยู่ที่ 46.7 บาทต่อ กก.

💥 นโยบายที่ผ่านมา “ยังไม่ตอบโจทย์”
นโยบายการแก้ปัญหาที่ผ่านมาเป็นการแก้ปัญหาด้านราคาที่ตกต่ำเป็นหลัก ทำให้ปัญหาเดิมๆ ของยางพาราทั้งระบบ ยังไม่ได้รับการแก้ไข ปัญหาพื้นฐานของยางพาราไทยจึงยังคงอยู่ต่อไป

💥 ต้นทุนการผลิต “เท่าไรกันแน่”
ยังมีการถกเถียงกันตลอดในแวดล้อมยางพาราว่า “ต้นทุนการผลิตยางพารา” เท่าไรกันแน่ ถามเกษตรกรจะบอกว่า “สูง” ถามผู้ประกอบการจะบอกว่า “ต่ำ”

💥 ผลตอบแทนเกษตรกร “ติดลบ”
ตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้น ผลตอบแทนสุทธิยางแผ่นดิบของเกษตรกร ติดลบมาโดยตลอด จากเดิม 6 หมื่นบาทต่อตัน เป็น -1.5 หมื่นบาทต่อตัน

ที่มา :
1.งานวิจัยยางพาราหลายโครงการ ของ “อัทธ์ พิศาลวานิช”
2.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)
3.การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) 


เรื่องโดย : ดร.อัทธ์  พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ  มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม