ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

วิธีป้องกันและกำจัด “หนอนหน้าแมว” ในสวนปาล์มน้ำมัน

สภาพอากาศช่วงที่มีฝนตก ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันควรรับมือ หนอนหน้าแมว ในระยะ ทุกระยะการเจริญเติบโต หนอนหน้าแมวจะกัดเข้าทำลายใบปาล์มน้ำมัน หนอนวัยเล็กจะกัดกินผิวใบ เมื่อหนอนโตขึ้นจะกัดกินจนใบขาด ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นชะงักการเจริญเติบโต และใช้เวลานานกว่าที่ต้นจะฟื้นตัว ถ้าเกิดการระบาดในแต่ละครั้ง จะใช้เวลาในการกำจัดนาน เนื่องจากหนอนหน้าแมวมีหลายระยะในเวลาเดียวกัน เช่น ระยะหนอนและระยะดักแด้ ทำให้ไม่สามารถกำจัดให้หมดในเวลาเดียวกันได้

 

ในช่วงที่ฟักจากไข่ หนอนจะมีสีขาวใส มีสีน้ำตาลอยู่กลางลำตัว จะกัดแทะผิวใบ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ลำตัวยาว 15-17 มม. กว้าง 5-6 มม.

 

ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืนขนาดเล็ก กลางวันจะเกาะนิ่งไม่เคลื่อนไหว จะบินในช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า รังดักแด้เป็นสีน้ำตาล รูปทรงกลมขนาด 5-6 มม. X 7-8 มม. อยู่บริเวณโคนทางใบหรือซอกมุมของทางใบย่อย 

ต้นปาล์มเสียหายจากการกัดกินใบของ หนอนหน้าแมว ส่งผลให้ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง

👉การป้องกัน

สำรวจการระบาด โดยสำรวจปริมาณตัวเต็มวัยและดักแด้บริเวณโคนทางใบ

ไม่ทำลายศัตรูทางธรรมชาติของหนอนหน้าแมว เช่น ตัวห้ำ ตัวเบียนในธรรมชาติ

 

👉การกำจัด

✅ตัดใบย่อยที่มีหนอนหน้าแมว หรือจับผีเสื้อ ซึ่งเกาะนิ่งในเวลากลางวันตามใต้ทางใบปาล์มน้ำมัน หรือเก็บดักแด้ตามใบ และซอกโคนทางใบรอบต้นมาทำลาย

 

ใช้กับดักตัวเต็มวัยที่เป็นผีเสื้อ โดยใช้แสงไฟ black light หรือ หลอดนีออนธรรมดา วางบนกะละมังพลาสติก ซึ่งบรรจุน้ำผสมผงซักฟอก ให้หลอดไฟอยู่เหนือน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร วางล่อผีเสื้อช่วงเวลา 180..-19.00 น. ซึ่งสามารถช่วยกำจัดการขยายพันธุ์ในรุ่นต่อไปได้

 

ใช้สารฆ่าแมลงฉีดพ่นในระยะที่หนอนยังเล็ก เช่น

Cypermethrin หรือ Permethn อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

Cyfluthin อัตรา 5-10 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

Pirimiphos methy อัตรา 20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร

เจาะลำต้นใส่สารฆ่าแมลงประเภทดูดซึม (กรณีที่ต้นสูงไม่สามารถฉีดพ่นยาได้)

ใช้เชื้อ Bacillus thuringinis ฉีดพ่นทำลายระยะวางไข่ หรือระยะตัวหนอน

.

อ้างอิง : คู่มือเกษตรกร การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ 

ระวัง หนอนหน้าแมว ในปาล์มน้ำมัน สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม