ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

รวมวิธี อนุรักษ์ความชื้น ในสวนปาล์มช่วงหน้าแล้ง ของอรรณพ สุราษฎร์

ช่วงหน้าแล้งพี่น้องชาวสวนปาล์มทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ต้องพบกับปัญหาปาล์มบนต้นเต็มไปด้วยดอกตัวผู้ ถึงแม้จะเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมดา เป็นช่วงที่ปาล์มพักคอ แต่เห็นแล้วก็ไม่ค่อยจะสบายใจกันเท่าไหร่ เพราะหมายถึงผลผลิตและรายได้จะหายไปด้วย

 

แต่สำหรับชาวสวนปาล์มบางรายที่มีระบบน้ำ บางพื้นที่ฝนเยอะกว่าที่อื่นๆ ก็ยังพอได้เห็นทะลายปาล์ม แต่สวนปาล์มส่วนใหญ่ไม่มีระบบน้ำ...!!


เว็บยางปาล์มเลยขอหยิบเรื่อง “การอนุรักษ์ความชื้น” แบบฉบับของ คุณอรรณพ ยังวนิชเศรษฐ หรือ อรรณพ สุราษฎร์ มานำเสนออีกสักรอบ เพราะในสถานการณ์ที่เราไม่มีน้ำเข้ามาเติมการอนุรักษ์ความชื้นที่มีอยู่เอาไว้ก็น่าจะเป็นตัวทางเลือกที่ดี

 

ปาล์มน้ำมันแปลงนี้ปลูกอยู่ 3 สายพันธุ์ เป็นพันธุ์เนื้อเยื่อ 2 ตัว คือ ทอร์นาโด กับ ซันไลต์ ส่วนอีกชนิดหนึ่งเป็นพันธุ์ ซีหราดมิลเลนเนียม เป็นกล้าที่เพาะจากเมล็ดปกติโดยทั่วไป ปลูกระยะ 9x9x9 เมตร อายุปาล์ม 7 ปี 

คุณอรรณพเล่าว่าปาล์มน้ำมันแปลงนี้ปลูกในพื้นที่นาเก่า เป็นดินเหนียว ดินค่อนข้างเป็นกรด และอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีระบบน้ำ ต้นจึงโตช้ากว่าปกติแถมปีแรกที่ปลูกยังโดนด้วงแรดเข้าทำลาย ก็ถือว่าปาล์มชุดนี้ผ่านศึกหนักกันมาตั้งแต่ยังเล็กเลยทีเดียว แต่ถึงต้นปาล์มจะต้นไม่สูงนักแต่กลับพบว่ามีการให้ทะลายเป็นอย่างดี


เคล็ด (ไม่) ลับ อยู่ที่ “การอนุรักษ์ความชื้น” ในสวนปาล์มไว้ให้มากที่สุดตามคอนเซ็ปต์ของ อรรณพ สุราษฎร์ นั่นเอง


เทคนิคแรกก็คือ “การสร้างกองทาง” แม้ว่างานวิจัยจะบอกว่ารากต้นปาล์มสามารถหากินได้ไกลถึง 20 เมตร ใส่ปุ๋ยตรงไหนปาล์มก็ได้กิน แต่เนื้อจากว่าปุ๋ยจะละลายให้ต้นปาล์มกินธาตุอาหารได้ต้องมีความชื้นในดิน ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่ปาล์มหากินได้ไกลหลายสิบเมตร แต่กลับอยู่ที่ว่าจุดไหนมีความความชื้นมาช่วยทำละลายปุ๋ย

การสร้างกองทางช่วยรักษาความชื้นในสวนปาล์ม เมื่อย่อยสลายจะกลายเป็นอินทรียวัตถุ ส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ และปรับสภาพดินให้เป็นกลาง การใส่ปุ๋ยบริเวณกองทาง จึงเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

การสร้างกองทางจึงได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับว่าช่วยรักษาความชื้นที่หน้าดินได้ดี สังเกตได้ว่าเมื่อเราพลิกกองทางขึ้นจะเห็นรากปาล์มสีขาวกระจายอยู่ทั่วกองทาง ฉะนั้นการใส่ปุ๋ยที่กองทางจึงช่วยให้ต้นปาล์มได้กินปุ๋ยยาวนานและต่อเนื่องที่สุดเท่าที่จะทำได้


วิธีสร้างกองทางของ อรรณพ สุราษฎร์ ก็เป็นไปตามหลักการทั่วไป แต่สิ่งที่เขาเน้นเป็นพิเศษคือพยายามสร้างกองทางในลักษณะที่แผ่เป็นวงกว้าง ไม่แนะนำให้สร้างกองทางที่ตั้งเป็นกองสูง


คิดดูว่าถ้ากองทางสูงมากๆ เราใส่ปุ๋ยลงไป แล้วเมื่อไหร่ปุ๋ยจะตกถึงพื้น อันนี้หลายท่านก็จะกังวล แล้วก็คงคิดเหมือนกันว่าปาล์มจะได้กินตอนไหน เอาเป็นว่ากองทางของเราพยายามแผ่ให้สัมผัสพื้นดินมากที่สุด ยิ่งเราปูชิดดินมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งย่อยสลายได้เร็ว เพราะจะมีจุลินทรีย์ และ สัตว์ตัวเล็กๆ อย่าง กิ้งกือ ไส้เดือน เป็นผู้ช่วยย่อยเศษซากให้กลายเป็นสารอินทรีย์ แล้วกองทางที่ย่อยสลายแล้วยังช่วยดูซับปุ๋ยที่เราใส่เอาไว้ ตรงนี้เป็นประโยชน์ที่เราได้มาถึง 2 อย่าง

 

แล้วการที่ใส่ปุ๋ยบนกองทางนี่ก็ไม่ต้องกลัวว่าหญ้าจะแยงกินปุ๋ยปาล์ม เพราะใต้กองทางจะไม่มีหญ้า หลายๆ ครั้งที่มาถ่ายทำจะเห็นว่าสวนพี่มีหญ้าเยอะแต่ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใส่ปุ๋ย เพราะพี่ใส่ปุ๋ยที่กองทาง” เจ้าของสวนอธิบายให้เห็นภาพง่ายขึ้น

การไว้หญ้าในอย่างเหมาะสมช่วยรักษาความชื้นช่วงหน้าแล้งได้ค่อนข้างดี

และเรื่อง “การไว้หญ้าในสวนปาล์ม” นี่เองที่เป็นอีกเทคนิคหนึ่งในการอนุรักษ์ความชื้นในสวนปาล์มของ อรรณพ สุราษฎร์ เพราะจากการสังเกตของเขาพบว่าแปลงที่มีหญ้าเป็นพืชคลุมดินปาล์มจะให้ผลผลิตมากกว่าแปลงที่หน้าดินโล่งเตียน

 

การที่หน้าดินโล่งเตียน หรือการใช้ยาฆ่าหญ้าฉีดทั้งแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือหน้าดินก็จะถูกแสงแดดเผา ถูกลมสัมผัสกับหน้าดินมากขึ้นทำให้ดินสูญเสียความชื้นไปอย่างรวดเร็ว แต่ถ้ามีหญ้าบ้างก็จะมีไอความชื้นตลอด ในช่วงกลางคืนมีน้ำค้างหญ้าก็จะดูดซับเอาไว้

 

ข้อสุดท้ายที่จะกล่าวถึงก็คือ “การตัดแต่งทางใบให้เหมาะสมเพื่อลดการสูญเสียน้ำ” จากการคายน้ำของพืช เกษตรกรควรตัดแต่งทางใบที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ก็คือทางใบแก่หรือทางใบที่ไม่ได้รับแสง เมื่อรับแสงไม่ได้ก็ไม่สามารถปรุงอาหารได้ แต่ยังคายน้ำอยู่ และยังใช้สารอาหารจากลำต้น สำหรับบางต้นที่มีใบมากพอในการปรุงอาหารอาจจะเหลือไว้รองทะลายเพียงทางใบเดียวก็ได้เช่นกัน 

การตัดแต่งทางใบอย่างเหมาะสม ไม่ไว้เยอะหรือน้อยจนเกินไป

ตามความเห็นของ อรรณพ สุราษฎร์ เขามองว่าในกรณีที่สวนปาล์มไม่มีระบบน้ำ ยกตัวอย่างสวนปาล์มแปลงนี้ของเขาที่เป็นพื้นที่กว้าง มีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ น้ำในคูน้ำก็เข้ามาไม่ถึง หลักการการอนุรักษ์ความชื้นจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น

 

เมื่ออนุรักษ์ความชื้นแล้ว การดูแลจัดการสวน การใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอ และการเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีใบรับรอง และซื้อจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน เขามองว่าการทำผลิต 5-6 ตัน/ไร่/ปี เป็นที่ทำได้โดยไม่ยากเกินไป

ขอขอบคุณ

คุณอรรณพ ยังวนิชเศรษฐ

อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม