ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ม. วลัยลักษณ์ เปิดตัวผลงานวิจัย นำ "ต้นปาล์มน้ำมัน" สู่ "อุตสาหกรรมไม้"

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เปิดตัวและสัมมนาวิชาการเรื่อง กำเนิดอุตสาหกรรมใหม่ไม้ปาล์มน้ำมัน ครั้งที่ 1 “การอบไม้ปาล์มน้ำมันอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการยุบตัว”

 

ผลงานวิจัยนี้เกิดขึ้นภายใต้โครงการพัฒนานักวิจัยและงานวิจัยเพื่ออุตสาหกรรม (พวอ.) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) บริษัททิมเบอร์เอ็นจิเนียริ่งออฟกระบี่ จังหวัดกระบี่ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ไม้ปาล์มน้ำมันในรูปแบบใหม่แบบครบวงจร โดยมีการศึกษาในส่วนของงานวิจัยเพื่อเข้าใจกลไกพื้นฐาน การพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปขั้นต้นสำหรับอุตสาหกรรมไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปลายน้ำจากไม้ปาล์มน้ำมัน เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ไม้ปาล์มน้ำมันในรูปแบบใหม่แบบครบวงจร โดยมีการศึกษาในส่วนของงานวิจัยเพื่อเข้าใจกลไกพื้นฐาน การพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปขั้นต้นสำหรับอุตสาหกรรมไม้แปรรูป และผลิตภัณฑ์ปลายน้ำจากไม้ปาล์มน้ำมัน

ปาล์มน้ำมันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของไทย โดยมีพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่ในภาคใต้ ซึ่งคิดเป็น 4% ของพื้นที่ปลูกทั่วโลก ในแต่ละปีประเทศไทยจะมีเศษชีวมวลต้นปาล์มน้ำมันอายุมากที่ต้องกำจัดเพื่อปลูกใหม่ทดแทนเป็นปริมาณมากสูงถึง 4 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นมูลค่าไม้แปรรูปอบแห้งเบื้องต้นประมาณ 30,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งยังไม่รวมผลิตภัณฑ์ปลายน้ำอื่นๆ ที่จะตามมา กระทั่งปัจจุบันยังไม่ได้มีการนำต้นปาล์มน้ำมันเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมแต่อย่างใด

เกษตรกรยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตัดโค่นหรือใช้สารเคมีที่เป็นพิษฉีดเข้าลำต้นเพื่อให้ย่อยสลายทิ้งไปในสวน ซึ่งนับเป็นการเสียโอกาสและเป็นความสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

 

สาเหตุหลักที่ทำให้ไม่สามารถนำไม้เหล่านี้ไปแปรรูปเหมือนไม้อื่นๆ ได้ เพราะลำต้นปาล์มน้ำมันประกอบด้วยเซลล์พาเรนไคมาผนังบาง ที่มีความชื้นสูงเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเซลล์เหล่านี้จะเกิดการยุบตัวอย่างรุนแรงจากความดันคาปิลลารีที่เกิดขึ้นในระหว่างการอบ วิธีการผลิตแบบเดิมจะมีอัตราการแปรรูปในปริมาณที่ต่ำมากประมาณ 20-30% เท่านั้น และปริมาณความชื้นที่สูงยังทำให้ระยะเวลาและพลังงานที่ใช้ในการอบมีค่าสูงมากจนไม่คุ้มทุน

คณะนักวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านไม้และวัสดุชีวภาพ ได้ค้นพบกระบวนการ Pre-treatment ที่เปลี่ยนไม้ปาล์มน้ำมันที่ถือว่าอบยากที่สุดในบรรดาไม้ทั้งหมด ให้กลายเป็นไม้ที่อบได้ง่ายที่สุด โดยคุณสมบัติต่างๆ ของไม้ไม่เสียไป เป็นนวัตกรรมใหม่สามารถแก้ปัญหาที่มีมาเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี โดยใช้กระบวนการอัดน้ำเข้าในไม้ปาล์มน้ำมันต่อด้วยการแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -10 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้เกิดรอยแตกขนาดเล็กในระดับ 1 ในล้านของเมตรในโครงสร้างไม้ปาล์มน้ำมัน ส่งผลให้ไม้ปาล์มน้ำมันสามารถอบได้อย่างรวดเร็ว อบไม้ที่ความหนามากๆ ได้

 

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม