กรมวิชาการเกษตรขานรับ นโยบายรัฐบาล พร้อมขับเคลื่อนนโยบาย การลดก๊าซเรือนกระจกภาคการเกษตร และการประเมินคาร์บอนเครดิตในพืชเศรษฐกิจ ช่วยผลักดันให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 รวมถึงบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) ในปี พ.ศ. 2608
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยความก้าวหน้าของการดำเนินการ “โครงการศึกษาการกักเก็บคาร์บอนและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปาล์มน้ำมัน” ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นโครงการตามนโยบายของกรมวิชาการเกษตร ในการส่งเสริมการจัดการ Carbon Credit ในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และสร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกร
ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี พื้นที่ดำเนินการ 666 ไร่ มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของปาล์มน้ำมัน 2.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี คิดเป็นปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บได้ทั้งสิ้น 1,658.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อลดปุ๋ยเคมีลง 5% ได้ 3.72 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี สรุปปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บได้ ทั้งสิ้น 1,658.87 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ยังมีการดำเนินโครงการศึกษาฯ ณ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ พื้นที่ดำเนินการ 175 ไร่ มีการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของปาล์มน้ำมัน 2.49 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี คิดเป็นปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บได้ทั้งสิ้น 435.75 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เมื่อลดปุ๋ยเคมีลง 5% ได้ 0.98 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี สรุปปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บได้ทั้งสิ้น 435.89 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ดังนั้น ปริมาณคาร์บอนที่กักเก็บได้จากโครงการรวม 2 ศูนย์ฯ 2,094.76 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ควรเร่งหาวิธีการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกเหนือจากการลดปริมาณปุ๋ยเคมี เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยจากให้ปุ๋ยพร้อมระบบน้ำ หรือใช้ไบโอชาร์ดูดซับคาร์บอนในดิน เพื่อให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต
อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว
ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย
ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2566 (เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2566) เฉลี่ยอยู่ที่ 120 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2565 ที่เฉลี่ยอยู่ที่ 34 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยมีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลกระทบ โดยปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่
- ความต้องการซื้อคาร์บอนเครดิตจากภาคอุตสาหกรรมและภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้น เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก
- นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของภาครัฐที่เข้มงวดขึ้น เช่น การกำหนดราคาคาร์บอนและการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน
- แนวโน้มราคาคาร์บอนเครดิตในตลาดโลกที่สูงขึ้น
สำหรับราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตแยกตามประเภทโครงการในปีงบประมาณ
2566 มีดังนี้
- โครงการลดก๊าซเรือนกระจกประเภทพลังงานทดแทน เฉลี่ยอยู่ที่ 150 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
- โครงการลดก๊าซเรือนกระจกประเภทประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เฉลี่ยอยู่ที่ 100 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
- โครงการลดก๊าซเรือนกระจกประเภทอื่นๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 90 บาทต่อตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ราคาซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยที่สูงขึ้น
ส่งผลดีต่อผู้ขายคาร์บอนเครดิต และภาคธุรกิจที่ดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจก
เนื่องจากสามารถขายคาร์บอนเครดิตได้ในราคาที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม
ภาคธุรกิจยังต้องเผชิญกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากราคาคาร์บอนเครดิตที่สูงขึ้นเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น