คุณลิ ภาณะรมย์ ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามเหลี่ยมมรกต จังหวัดอุบลราชธานี เท้าความให้เว็บยางปาล์มฟังว่า ก่อนจะจับมือกันเหนียวแน่นเป็นกลุ่มใหญ่แบบนี้ก็ผ่านอุปสรรค์มาไม่น้อยเลยเดียว เพราะเมื่อก่อนนั้นปาล์มน้ำมันเป็นพืชตัวใหม่ที่ดูจะมีอนาคตดี แต่ยังไม่มีใครปลูกมาก่อน ทั้งยังเป็นพืชที่มาจากภาคใต้ที่ฝนตกชุก ต่างจากอีสานที่ขึ้นชื่อเรื่องความแห้งแล้งจนถึงที่สุด จึงทำให้หลายๆ คนยังไม่มีความมั่นใจในพืชตัวนี้
แม้ว่าเกษตรกรหลายๆ จะอยากปลูก
แต่ด้วยความที่การลงทุนในเริ่มแรกนั้นสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นราคาต้นพันธุ์
หรือการลงทุนทำระบบน้ำ จึงเข้าไปขอกู้เงินกับ ธกส.
แต่ก็ไม่ได้รับการอนุมัติเนื่องจากเชื่อว่าอีสานปลูกปาล์มน้ำมันไม่ได้
อย่างไรก็ตามยังมีเกษตรกรบางรายที่ตัดสินใจลงทุนปลูกปาล์มน้ำมัน
เพราะต้องการทดลองปลูกพืชชนิดใหม่ๆ นอกจาก นาข้าว มันสำปะหลัง
และพืชเกษตรอายุสั้นอื่นๆ ที่ต้องปลูกใหม่ทุกปีและเก็บผลผลิตได้เพียงครั้งเดียว
ต่างจากปาล์มน้ำมันที่ปลูกเพียงครั้งเดียว แต่สามารถตัดผลผลิตจำหน่ายได้ทุก 15 วัน
ทั้งยังเป็นพืชที่ราคาดีอีกด้วย จนกระทั่งปาล์มน้ำมันรุ่นแรกๆ
พิสูจน์ตัวเองในพื้นที่อีสานว่าสามารถให้ผลผลิตได้
แต่ระยะแรกก็มีปัญหาเรื่องการขายผลผลผลิต เกษตรกรจึงรวมกลุ่มกันในนามสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามเหลี่ยมมรกต เพื่อรวบรวมผลผลิตปาล์มน้ำมันและนำไปขายให้กับโรงงาน เมื่อปาล์มน้ำมันขายได้ราคาดีกว่าพืชเศรษฐกิจดั้งเดิมส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ทำให้มีเกษตรกรรายอื่นๆ ให้ความสนใจและต้องการปลูกปาล์มน้ำมันเช่นกัน จนต้นกล้าปาล์มน้ำมันไม่เพียงพอกับความต้องการอยู่ช่วงหนึ่ง
คุณลิ เล่าต่อไปว่าช่วงแรกๆ นั้น
เกษตรกรก็ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปลูกและการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน
ก็ได้รับคำแนะนำจาก บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด
ที่เป็นผู้จำหน่ายต้นกล้าปาล์มน้ำมันในขณะนั้น โดยมีการให้คำแนะนำเรื่องการปลูก
การใส่ปุ๋ยต้นปาล์มทุกช่วงอายุเพื่อให้ได้ผลผลิตสูง
พอเห็นผลว่าปาล์มน้ำมันปลูกได้จริงในภาคอีสาน ทำให้คนนั้นก็อยากปลูก คนนี้ก็อยากปลูก บริษัท ซีพีไอ ก็เข้ามาช่วยแนะนำเรื่องการปลูกและการใส่ปุ๋ยให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตดีและให้มีทะลายเยอะๆ ปุ๋ยตัวนี้ใส่อย่างไร ช่วงไหน ช่วงแล้งทำอย่างไร ทำให้เกษตรกรจัดการสวนปาล์มได้ดีขึ้น เกษตรกรจึงประทับใจในบริษัท ซีพีไอ
ประธานสหกรณ์ฯ บอกกับเว็บยางปาล์ม นอกจากนั้นอีกหนึ่งปัญหาหลักของภาคอีสานก็คือความแห้งแล้ง สหกรณ์ฯ จึงส่งเสริมให้ทำระบบน้ำในสวนปาล์ม ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรนิยมเจาะบ่อบาดาลและใช้ระบบโซล่าเซลล์สูบน้ำจากบ่อบาดาลมาใช้ ทางสหกรณ์ฯ จึงมีการสนับสนุนเรื่องเงินกู้สำหรับเกษตรกรด้วย สำหรับพันธุ์ปาล์มยอดฮิตของชาวสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามเหลี่ยมมรกต ก็คือ พันธุ์ซีพีไอ ไฮบริด (CPI hybrid)
เกษตรกรการันตีเองว่า ซีพีไอ
ไฮบริด ทนแล้งแล้ง 3 เดือน
ถึงจะไม่ให้น้ำนี่ก็ไม่เป็นไรยังให้ผลผลิตอยู่
แต่ตอนหลังก็มีการทำระบบน้ำช่วยแก้ปัญหาในช่วงฤดูแล้งยิ่งทำให้ได้ผลผลิตต่อเนื่องมากขึ้น
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ทำรายได้ดีกว่าพืชเศรษฐกิจดั้งเดิม เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น บริษัท ซีพีไอ ก็มีการเข้ามาจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอยู่เรื่อยๆ โรงงานในพื้นที่ก็รับซื้อทะลายปาล์มต่อเนื่อง รวมถึงสหกรณ์เองก็มีแนวทางช่วยสนับสนุนเกษตรเมื่อมีปัญหาทำให้สมาชิกรู้สึกมั่นใน มั่นคง ในอาชีพชาวสวนปาล์ม
ปัจจัยแห่งความสำเร็จสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามเหลี่ยมมรกต
- ผลตอบแทนที่ดีกว่าพืชเศรษฐกิจดั้งเดิม
- การสนับสนุนจากสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามเหลี่ยมมรกต
- ความร่วมมือของเกษตรกรในการรวมกลุ่มกัน
การปลูกปาล์มน้ำมันเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรในภาคอีสาน เนื่องจากเป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนสูง สามารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกรและชุมชน ที่สำคัญคือ สหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามเหลี่ยมมรกต จะเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานต่อไป
เพื่อให้การปลูกปาล์มน้ำมันในภาคอีสานประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติม เช่น การให้ความรู้และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการผลิตปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณสูงขึ้น
ขอขอบคุณ
คุณลิ ภาณะรมย์
ประธานสหกรณ์ผู้ปลูกปาล์มน้ำมันสามเหลี่ยมมรกต อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น