ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

โรคกาโนเดอร์มา ในปาล์มน้ำมัน มีวิธีป้องกันและรักษาอย่างไรให้ได้ผล

“โรคลำต้นเน่า” หรือ โรคกาโนเดอร์มา เป็นหนึ่งโรคปาล์มน้ำมันที่ถูกพูดถึงมากที่สุด เพราะด้วยความรุนแรงของโรคทำให้ต้นปาล์มตายได้ และไม่มีทางรักษา ซึ่งเดิมโรคนี้มักจะเกิดกับสวนปาล์มอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป แต่ปัจจุบันความรุนแรงของโรคมีแนวโน้มมากขึ้น โดยเฉพาะสวนปาล์มที่มีการปลูกทดแทนสวนปาล์มเดิม ซึ่งมีการสะสมของเชื้อโรค จนพบว่าโรคลำต้นเน่าเกิดขึ้นกับต้นปาล์มอายุต่ำกว่า 20 ปี  กระทบโดยตรงต่อผลผลิต รายได้ และอาชีพการทำสวนปาล์ม

 

ส่วนโรคนี้เกิดจากอะไร และมีวิธีป้องกันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

 

สาเหตุ : เกิดจากการเข้าทำลายของ เชื้อรากาโนเดอร์มา (Ganoderma boninense) เชื้อราชนิดนี้กระจายอยู่ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเริ่มแพร่กระจายมายังประเทศไทย  โดยการระบาดของเชื้อกาโนเดอร์มา ถือว่ามีความรุนแรง เพราะต้นพืชที่ติดเชื้อแล้วจะตาย และไม่มีทางรักษา พืชที่เป็นแหล่งอาศัย ได้แก่ พืชสกุลถ่อน หมากสง สนทะเล พืชสกุลค้อ มะพร้าวปาล์มน้ำมัน และพืชสกุลปาล์ม เป็นต้น

 

อาการของโรค : อาการของต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรค ใบด้านล่างจะเหลือง ใบยอดมีจุดสีเหลือง ใบไม่คลี่ ยอดอ่อนพับตัวลงและเริ่มเน่า ต่อมาต้นจะโตช้า รากบริเวณโคนต้นจะเริ่มแห้งและเน่า และสุดท้ายมีดอกเห็ดกาโนเดอร์มา ลักษณะคล้ายเห็ดหลินจือ งอกออกมาจากโคนต้น โดยหลังจากแสดงอาการแล้ว ปาล์มเล็กจะตายภายใน 6-12 เดือน และ ปาล์มใหญ่จะยืนต้นตายภายใน 2-3 ปี โดยหากมีการติดเชื้อ

กระจายไปมากกว่า 20% ของพื้นที่ ถือว่าไม่มีความคุ้มค่าต่อการทำสวมปาล์มน้ำมัน


ข้อสันนิษฐานการเกิดโรค

การปลูกทดแทนพืชในพื้นที่เดิม โดยไม่กำจัดตอเก่าออกให้หมด เช่น ล้มยางปลูกปาล์มน้ำมัน ล้มมะพร้าวปลูกปาล์มน้ำมัน ล้มปาล์มน้ำมันปลูกไม้ผล เป็นต้น

ต้นพืชอ่อนแอ ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ

สภาพของดินไม่เหมาะสม เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป

อินทรียวัตถุในดินมีน้อย ทำให้ดูดซับธาตุอาหารไว้ได้น้อย ระบบรากจึงเติบโตได้ไม่ดี

 

เมื่อพบการระบาด

  • 1. เผาทำลายต้นปาล์มที่เป็นโรคให้หมด และอย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มที่เป็นโรค
  • 2. ฆ่าเชื้อบนผิวดินบริเวณต้นที่เป็นโรค ด้วยปูนขาว หรือโดโลไมท์
  • 3. เพิ่มอินทรียวัตถุในสวน เช่น การใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก การวางกองทาง หรือการปลูกพืชคลุมดิน
  • 4. ฉีดหรือรด เชื้อราไตรโคเดอร์มารอบโคนต้นปาล์มน้ำมัน
  • 5. ปรับสภาพดิน ให้มีค่าพีเอช (กรด-ด่าง) ที่เหมาะสม ซึ่งควรอยู่ในช่วง 5.0 ถึง 5.5
  • 6. ป้องกันและกำจัดด้วยเชื้อราชนิดดี เช่น ไตรโคเดอร์มา

 

วิธีการรักษาโรคลำต้นเน่าด้วย เชื้อราไตรโคเดอร์มา

ป้องกันและกำจัดด้วยเชื้อรา ไตรโคเดอร์มา ซีพีไอ พลัส ดีอย่างไร

ไตรโคเดอร์มา จาก ซีพีไอ พลัส ใช้ปริมาณน้อย อัตราการผสมเพื่อป้องกันโรค 1:10 หรือเพื่อกำจัดโรค 1:20 เป็นเชื้อมีชีวิต สด ใหม่ ไม่ค้างสต็อค จึงป้องกัน กำจัดโรคพืชอย่างได้ผล โรคร้ายตายเรียบ…หมดปัญหา กาโนเดอร์มา, แอนแทรคโนส, ไฟทอปธอร่า, ราใบไหม้, รากเน่าโคนเน่า, ราใบจุด, ใบติด


👉คอลัมน์สารพันปัญหาคาใจปาล์มน้ำมัน กับ ซีพีไอ ไฮบริด เป็นบทความพิเศษจาก บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด





ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม