ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ภัยมืดสารจับตัวยางก้อนถ้วย สร้างความเสียหายต่อคุณภาพยางไทย


ปัจจุบันเกษตรกรทางภาคอีสานและภาคเหนือนิยมผลิตยางก้อนถ้วย เนื่องจากใช้น้ำน้อย ประหยัดแรงงาน มีเวลาในการทกิจกรรมอื่น ต้นทุนการผลิตต่ำ


ยางก้อนถ้วยนับว่าเป็นวัตถุดิบยางขั้นต้นที่ใช้ในการผลิตยางแท่ง โดยมีปริมาณการผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ 386,173 ตัน และ 55,375 ตัน (นักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) หรือร้อยละ 75 และ 70 ตามลำดับ ของผลผลิตยางทั้งหมด

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการผลิตยางแท่งหลายรายมักประสบปัญหาเรื่องคุณภาพยางก้อนถ้วยที่ไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อการนยางแท่งไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะล้อยางพาหนะ สาเหตุจากการใช้สารจับตัวยางชนิดอื่นที่ไม่ใช่กรดฟอร์มิคในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นกรดซัลฟิวริค เกลือแคลเซียมคลอไรด์ กรดที่อ้างว่าเป็นกรดอินทรีย์ กรดชีวภาพ กรดออร์แกนิค นส้มควันไม้ น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น


👉ภัยมืดของสารจับตัวยาง

สารจับตัวยางที่จำหน่ายในภาคอีสานและภาคเหนือมีมากกว่า 30 ชนิด บางชนิดใช้สัญลักษณ์เดียวกัน แต่สีของสารละลายแตกต่างกัน มีตั้งแต่ใสไม่มีสี สีเหลืองอ่อน สีเหลืองเข้ม สีด เป็นต้น

บางชนิดยี่ห้อเดียวกันแต่มีฉลากระบุสำหรับทยางก้อนถ้วยบ้าง ทยางแผ่นบ้าง มีทั้งระบุและไม่ระบุถึงวิธีการใช้งาน มีทั้งใช้โดยตรงและต้องเจือจางน้ำ ทั้งหมดจะไม่ระบุชนิดของกรด ไม่ระบุวันเดือนปี ที่หมดอายุ ยกเว้นกรดฟอร์มิคที่จะระบุชื่อว่า ฟอร์มิค

จากการสรวจพบว่าเกษตรกรภาคอีสานมีปริมาณการใช้กรดซัลฟิวริคถึงร้อยละ 60 เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้กรดฟอร์มิคจนทำให้ผู้ประกอบการยางแท่งกังวลว่าผู้ผลิตยางล้ออาจสั่งยกเลิกออเดอร์ยางอีสาน เนื่องจากปริมาณซัลเฟตตกค้างในยางสูงจนกลายเป็นปัญหาใหม่ที่กระทบต่ออุตสาหกรรมยาง

นอกจากนี้ การใช้กรดดังกล่าวยังก่อมลพิษต่อสุขภาพของแรงงานตามสวนยางและสถานที่รับซื้อ รวมถึงปัญหาน้ำยางเหม็นไหลลงตามถนน จนสร้างความเดือดร้อนต่อผู้ใช้รถใช้ถนนและชุมชน


👉สารจับตัวยางที่มีส่วนผสมกรดซัลฟิวริค

กรดซัลฟิวริคมีจำหน่ายกันมากทางภาคอีสาน ส่วนใหญ่มักเป็นสารปลอมปนสารเคมีชนิดอื่นลงไปด้วยสารปลอมปนเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของยางก้อนถ้วยที่นำไปผลิตเป็นยางแท่งแทบทั้งสิ้น โดยพบว่าสารจับตัวที่จำหน่ายในรูสารละลายมักจะอ้างชื่อต่างๆ นานา เช่น กรดออร์แกนิค กรดชีวภาพ กรดซุปเปอร์ชีวภาพ กรดอินทรีย์ กรดสู้ฝน ทำให้เกษตรกรหลงเชื่อถึงความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

จากการศึกษาพบว่าสารจับตัวตามที่อ้างมีส่วนผสมของเนื้อกรดซัลฟิวริค ร้อยละ 8 – 25 นอกจากนี้ ยังพบองค์ประกอบของเกลือแคลเซียม แมกนีเซียม และโซเดียมอีกด้วย ส่งผลให้ยางมีความยืดหยุ่นต่ำลง ยางแข็ง ค่าความหนืดสูงยางเสื่อมสภาพเร็ว ทั้งยังทำให้ยางคล้ำ ผิวหน้าเยิ้มปริมาณความชื้นมีค่าสูงเกินกว่ามาตรฐานที่ระบุ ยิ่งนำสารปลอมปนต่าง ๆ เหล่านี้ไปผลิตเป็นยางแผ่นดิบจะเห็นผลชัดเจนขึ้นคือ ยางจะย้วยและอ่อนตัว ไม่สามารถจัดเป็นยางแผ่นดิบคุณภาพดีได้

ข้อดีของกรดซัลฟิวริคมีข้อเดียวคือยางจับตัวเร็วภายใน 30 นาที นอกนั้นเป็นข้อเสียของกรดซัลฟิวริคทั้งสิ้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำยางก้อนถ้วยเกษตรกรจะต้องหยอดน้ำกรดลงในถ้วยรองรับน้ำยาง การใช้กรดซัลฟิวริคที่เป็นกรดแก่แม้ว่าจะเจือจางแล้วก็ตาม โอกาสที่ไอของน้ำกรดไปสัมผัสกับหน้ากรีดหรือกระเด็นไปโดนหน้ากรีด จะทำให้หน้ากรีดมีสีคล้ำ และมีโอกาสที่จะเกิดอาการเปลือกแห้ง ส่งผลให้ต้นยางมีอายุกรีดได้สั้นลง ยกตัวอย่างสารออร์แกนิคยี่ห้อหนึ่งระบุว่า 

สามารถใช้แทนกรดน้ำส้มได้เป็นอย่างดี มีราคาถูกกว่า ปลอดภัยกว่า น้ำยางสามารถจับตัวแข็งตัวไวกว่า ก้อนยางสีสวย ไม่ติดก้นถ้วย ไม่มีกลิ่นของสารระเหยที่รุนแรงกับจมูก ไม่แสบคันเมื่อสัมผัส ขี้ยางไม่มีกลิ่นเหม็น

จากการศึกษาพบว่า มีองค์ประกอบของกรดซัลฟิวริคเป็นหลัก นอกจากนี้ ยังประกอบด้วยกรดอะซีติกในปริมาณเล็กน้อย และกรดฟอร์มิคในปริมาณที่น้อยมาก และเมื่อทดลองใช้กรดออร์แกนิคตามที่อ้างเปรียบเทียบกับการใช้กรดฟอร์มิคเกรดทางการค้าในยางก้อนถ้วยพบว่า ยางแห้งช้า เหนียวเยิ้มที่ผิวของก้อนยาง และเมื่อทดลองนำมาผลิตยางแผ่น ยางที่ใช้กรดออร์แกนิคจะมีสมบัติทางกายภาพต่ำกว่ามาตรฐานยางแท่ง STR 20 โดยเฉพาะค่าความอ่อนตัวเริ่มแรก (Po) ต่ำกว่าการใช้กรดฟอร์มิคประมาณ 10 หน่วย มีค่าความหนืดต่ำกว่าประมาณ 20 หน่วย และมีปริมาณความชื้นที่เกินกว่ามาตรฐานที่ระบุในมาตรการยางแท่ง STR


นอกจากนี้ ยังไม่มีความสามารถในการดึงปริมาณแคลเซียมออกจากเนื้อยางทั้งๆ กรดออร์แกนิคตามที่อ้างพบว่า มีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ยางเกิดการเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และสีของยางก้อนถ้วยยังคงขาวขุ่นทั้ง ๆ ที่ตั้งทิ้งไว้นานนับเดือน ทำให้ยางแผ่นดิบที่ใช้กรดออร์แกนิคชนิดนี้ในการจับตัวยาง เนื้อยางไม่แข็งแรง แผ่นยางเกิดการย้อยตัว

จึงสรุปได้ว่าไม่แนะนำให้ใช้กรดออร์แกนิคตามที่อ้างในการผลิตยางดิบทุกประเภท รวมทั้งสารอื่นๆ ที่มักพบทั้งในรูปสารละลายและที่เป็นผง ส่งผลต่อการนำยางก้อนถ้วยไปผลิตเป็นยางแท่ง โดยเฉพาะสารซัลเฟตที่ตกค้างก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกระบวนการผลิตทำให้เครื่องจักรสึกกร่อนเร็วขึ้น ใช้พลังงานสูงขึ้น

ส่วนน้ำเสียที่เกิดขึ้นมีสีคล้ำยากต่อการบำบัดและส่งกลิ่นเหม็นกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและผลิตภัณฑ์จากยางแห้งที่ทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น น้ำหมักชีวภาพ และ น้ำส้มควันไม้


สถาบันวิจัยยาง ได้กำหนดมาตรฐานยางแผ่นดิบคุณภาพดี ด้วยกรรมวิธีที่ใช้กรดอินทรีย์ที่สลายตัวง่าย เช่น กรดฟอร์มิค ในการจับตัวยางเพื่อให้ได้ยางแผ่นที่มีสีสวย ไม่มีสารตกค้างในแผ่นยาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำยางแผ่นให้มีความสะอาดนั้นจะต้องพิถีพิถันในขั้นตอนการกรอง การใช้น้ำสะอาด 

แต่การทำยางแผ่นดิบของเกษตรกรบางรายพบว่า มีการใช้สารที่สกัดจากธรรมชาติหรือสารชีวภาพ เช่น น้ำส้มควันไม้ และ น้ำหมักชีวภาพ ทดแทนการใช้กรดในการจับตัว โดยมีรายงานว่าน้ำส้มควันไม้สามารถยับยั้งเชื้อราได้

ส่วนน้ำหมักชีวภาพมีความเป็นกรดสูงใช้จับตัวยางได้เช่นกัน ทำให้มีผู้ประกอบการหลายรายจำหน่ายทั้งน้ำส้มควันไม้และน้ำหมักชีวภาพเพื่อนำมาใช้จับตัวยางก้อนถ้วย โดยให้เหตุผลว่าปลอดภัยต่อผู้ใช้ ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่น ยางไม่ขึ้นรา จับตัวเร็ว มีการใช้น้ำหมักชีวภาพทั้งในการผลิตยางแผ่นดิบและยางก้อนถ้วย

โดยพบว่าระยะเวลาการจับตัวขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ หากใช้ในปริมาณมากสามารถจับตัวได้เร็วขึ้น แต่ยางแผ่นดิบที่ได้จะมีสีคล้ำมาก เมื่อนำไปจัดชั้นยางจะได้ยางแผ่นคุณภาพคละและจากการทดลองนำน้ำหมักชีวภาพผลิตยางก้อนถ้วยจะต้องใส่ในปริมาณมากถึง 50 มิลลิลิตร ยางจะจับตัวได้อย่างสมบูรณ์ ก้อนยางสีคล้ำ เมื่อนำไปผลิตเป็นยางแท่งจัดได้ยางแท่งชั้น STR 20


หากเปรียบเทียบกับยางก้อนถ้วยคุณภาพดีจะสามารถจัดเป็นชั้น STR 10 ได้ จึงไม่แนะนำให้ใช้ ส่วนมากเกษตรกรมักใช้น้ำส้มควันไม้ในการทำยางแผ่น เนื่องจากคิดว่าแผ่นยางไม่ขึ้นรา แต่จากการศึกษาการใช้น้ำส้มควันไม้ ทั้งใส่ จุ่ม แช่ ในยางแผ่นดิบพบว่า ไม่สามารถยับยั้งเชื้อราได้ทุกกรณี ยางแผ่นดิบที่ได้จัดเป็นคุณภาพคละ โดยมีปริมาณสิ่งสกปรกในแผ่นยางมากกว่ายางแผ่นดิบที่จับตัวด้วยกรดฟอร์มิค

ทั้งยังทำให้ยางแผ่นมีสีคล้ำ ด่าง ดำ การใช้น้ำส้มควันไม้จับตัวในปริมาณที่มากเกินพอจะเสียค่าใช้จ่ายในการทำยางแผ่นเพิ่มขึ้น น้ำส้มควันไม้ 1 ลิตร ราคา 100 บาท หากเกษตรกรใส่ในอัตรา 90 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักยางแผ่น 1 กิโลกรัม จะเสียค่าใช้จ่ายในการทำยางแผ่นถึง 9 บาทต่อกิโลกรัม

ขณะที่ใส่กรดฟอร์มิค 1 ลิตร ราคา 50 บาท มีต้นทุนการใช้กรดไม่เกิน 0.32 บาทต่อกิโลกรัม ดังนั้นการผลิตยางแผ่นดิบจึงไม่แนะนำให้ใส่น้ำส้มควันไม้ นอกจากจะส่งผลต่อสมบัติยางแผ่นดิบ แล้วยังทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการจับตัวด้วยกรดอีกด้วย

👉เกลือแคลเซียม
เกลือที่มักจำหน่ายเพื่อจับตัวยางก้อนถ้วยมักอยู่ในรูปแคลเซียมคลอไรด์ โดยโฆษณาข้างขวดว่าได้น้ำหนักดี เป็นสูตรสู้ฝน ยางจับตัวดี เป็นต้น ทำให้เกษตรกรบางรายหลงเชื่อใช้เกลือชนิดนี้แทนกรดฟอร์มิค

จากการศึกษาพบว่า ยางที่จับตัวด้วยแคลเซียมคลอไรด์จะแข็งกระด้าง ขาดความยืดหยุ่น ผิวหน้าก้อนยางเหนียวเยิ้ม สีดำ คล้ำ หลังจากที่ตั้งทิ้งไว้นานกว่า 7 วัน พบว่า ก้อนยางมีสีคล้ำมากขึ้นและผิวหน้ายังคงเหนียวเยิ้ม ขณะที่ยางก้อนที่จับตัวด้วยกรดฟอร์มิคจะได้เนื้อยางที่จับตัวแน่นสมบูรณ์ ความยืดหยุ่นดี

นอกจากนี้ ผลการทดสอบสมบัติเชิงวิทยาศาสตร์เปรียบเทียบกับมาตรฐานยางแท่ง STR 10 พบว่า ยางก้อนถ้วยที่ใส่เกลือแคลเซียมคลอไรด์มีปริมาณความชื้นสูงมาก ปริมาณความอ่อนตัวเริ่มแรก และดัชนีความอ่อนตัวต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งบ่งชี้
ถึงยางขาดความยืดหยุ่น ทำให้ยางมีลักษณะเปื่อยยุ่ยขาดความคงทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความหนืดต่ำมาก แสดงถึงโมเลกุลยางถูกทำลาย

อย่างไรก็ตาม ผลการทดสอบสมบัติการคงรูปเป็นข้อแสดงให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ายางก้อนถ้วยที่จับตัวด้วยเกลือแคลเซียมคลอไรด์มีค่าความทนแรงดึง การทนต่อแรงยืดจนขาด ทั้งก่อนบ่มเร่งและหลังบ่มเร่ง ต่ำกว่ายางก้อนที่ใช้กรดฟอร์มิคในการจับตัวมาก ส่งผลให้ค่าความหนืดต่ำ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการนำยางเหล่านี้ไปทำเป็นผลิตภัณฑ์และก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระบวนการผลิตและมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ที่นำยางไปใช้


👉กรดฟอร์มิค
สถาบันวิจัยยางได้แนะนำให้ใช้กรดฟอร์มิคหรือที่เรียก “กรดมด” เป็นสารจับตัวยาง เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย มีสูตรโครงสร้างทางเคมีคือ HCOOH มีคาร์บอนเพียงตัวเดียว จึงนับว่าเป็นกรดอ่อนที่มีความแรงของกรดไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับกรดชนิดอื่น ในทางการค้ามีความเข้มข้น 94% หรือ 90% ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต นับว่ากรดฟอร์มิคเป็นกรดอินทรีย์ชนิดเดียวที่จับตัวยางได้อย่างสมบูรณ์ เนื้อยางมีความยืดหยุ่นดี ซึ่งเป็นสมบัติที่สำคัญที่สุดของยางธรรมชาติ อีกทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและไม่ตกค้างในยาง มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง

ในวงการอุตสาหกรรมด้านยางพารา กรดฟอร์มิคเป็นสารจับตัวยางใช้ในการผลิตยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และยางแท่ง STR 5L สามารถจับตัวสมบูรณ์ได้ภายใน 45 นาที สีของยางที่แห้งแล้วเหลืองสวย ไม่คล้ำยางแห้งเร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ

แต่ยังพบเกษตรกรรายย่อยยังคงใช้กรดซัลฟิวริค หรือที่เรียกกรดกำมะถัน ในการทำยางแผ่น ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นกรดแก่ค่อนข้างอันตราย มีกลิ่นเหม็นแสบจมูก หากจะใช้ในการทำยางก้อนถ้วยจะส่งผลกระทบต่อหน้ากรีด เกิดสีดำคล้ำ เพราะไอของกรดมีเกลือซัลเฟตจะเปลี่ยนสภาพเป็นซัลไฟด์ที่มีสีคล้ำ และยังพบว่าเกษตรกรมักใช้ในอัตรามากกว่ากำหนด ซึ่งส่งผลให้แผ่นยางมีสีคล้ำ เกิดฟองอากาศ แผ่นยางเหนียว แห้งช้า เนื้อแข็งกระด้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกษตรกรนำยางไปตากแดด ยิ่งทำให้ยางเสื่อมคุณภาพเร็วขึ้นจัดเป็นยางคุณภาพคละ ซึ่งขายได้ราคาต่ำกว่ายางคุณภาพดีเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.20 บาท

สำหรับต้นทุนของกรดฟอร์มิกอยู่ที่ 0.32 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่กรดซัลฟิวริคมีต้นทุนไม่เกิน 0.15 บาทต่อกิโลกรัม ในท้องตลาดมักพบสารละลายกรดซัลฟิวริกที่เจือจางแล้วเข้มข้น 5 - 10% พร้อมใช้บรรจุในขวดขนาด 750 ซีซี ราคาจำหน่ายขวดละ 15-20 บาท

หากจะเปรียบเทียบกับกรดฟอร์มิค เกรดทางการค้าแล้ว พบว่ามีราคาสูงกว่าถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

👉กรดอะซีติค
กรดอะซีติกหรือที่เรียกกรดน้ำส้ม สามารถจับตัวยางได้เช่นกัน แต่กรดชนิดนี้เป็นกรดอ่อนกว่ากรดฟอร์มิคมีกลิ่นฉุน กรดอะซีติค ทางการค้าความเข้มข้น 99.85%แกลลอนขนาด 30 กิโลกรัม ราคา 900 บาท ส่วนกรดฟอร์มิค ความเข้มข้น 94% แกลลอนขนาด 35 กิโลกรัมราคา 1,300 บาท

แต่ในการทำแผ่นต้องใช้ปริมาตรของกรดอะซีติคมากกว่าฟอร์มิคถึง 2 เท่า จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าและในการจับตัวยางยังต้องใช้ระยะเวลาการจับตัวนานกว่า ซึ่งหากเกษตรกรจะใช้ระยะเวลาในการจับตัวเท่ากับที่เคยใช้กรดฟอร์มิคจับตัวยางแล้วเนื้อยางจะจับตัวไม่สมบูรณ์ น้ำเซรั่มยังคงขาวขุ่นจะได้เนื้อยางอ่อน ส่วนสีของแผ่นจะมีสีเหลืองใสเช่นเดียวกับฟอร์มิค ส่วนความยืดหยุ่นต่ำกว่าฟอร์มิก และน้ำเสียที่เกิดจากการใช้กรดอะซีติคมีกลิ่นเหม็นฉุนจากกรดน้ำส้มที่ยังคงตกค้างอยู่

☝สรุปและข้อเสนอแนะ

กรดฟอร์มิค เป็นสารจับตัวยางที่ดีที่สุดสำหรับทำยางทุกชนิดเนื่องจากเป็นกรดอินทรีย์ที่ระเหยง่ายปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม สามารถจับตัวสมบูรณ์ไม่เกิน 1 ชั่วโมง เนื้อยางมีความยืดหยุ่นดี สีสวย เหมาะในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด

กรดอะซีติค ถึงแม้ว่าจะเป็นกรดอ่อน แต่มีกลิ่นฉุนใช้ระยะเวลาการจับตัวที่นานกว่า มีราคาแพงกว่ากรดฟอร์มิค

กรดซัลฟิวริค เป็นกรดอนินทรีย์ จัดว่าเป็นกรดแก่ที่อันตราย มีปริมาณซัลเฟตตกค้างในยางก้อนถ้วยมากยากต่อการสลายตัว ถึงแม้ว่าจะจับตัวยางได้เร็วกว่ากรดชนิดอื่นแต่ทำให้ยางรัดตัวแน่น แข็ง ปริมาณความชื้นในยางสูงจากปริมาณซัลเฟตที่ดูดความชื้นจากอากาศ ยางจึงเหนียวเยิ้มและมีสีคล้ำ ในทางการค้ามักมีการเติมเกลือแคลเซียมคลอไรด์จึงทำให้ยางมีความยืดหยุ่นต่ำ สร้างความเสียหายอย่างมากต่อผลิตภัณฑ์และเครื่องจักรที่สึกกร่อนเร็วอีกทั้งตกค้างในสิ่งแวดล้อม

น้ำส้มควันไม้และน้ำหมักชีวภาพ ถึงแม้ว่าจะเป็นสารที่สกัดจากธรรมชาติมีฤทธิ์เป็นกรด แต่ก็ส่งผลต่อสมบัติทางกายภาพของยาง ทำให้มีปริมาณสิ่งสกปรกในยางสูง ความหนืดสูง และมีต้นทุนการผลิตมากกว่ากรดฟอร์มิค

เกลือแคลเซียมคลอไรด์ ทำให้ก้อนยางเหนียวเยิ้มสีดำคล้ำ ยางแข็งกระด้าง ความหนืดสูง ความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพต่ำ ปริมาณความชื้นสูง หากนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์จะต้องใช้พลังงานในการบดยางสูงโอกาสที่บดผสมยางกับสารเคมียาก และได้ผลิตภัณฑ์ยางที่มีคุณภาพต่ำ

ดังนั้น หากเกษตรกรต้องการซื้อสารจับตัวยางควรศึกษาองค์ประกอบของสารเคมีและความเข้มข้นที่ระบุข้างขวดเท่านั้น แต่หากไม่มีก็ไม่ควรใช้และหันไปใช้กรดฟอร์มิคซึ่งจะระบุชื่อ ความเข้มข้นอย่างชัดเจน และจากการที่ใช้สารจับตัวยางชนิดที่ไม่เหมาะสม จะส่งผลกระทบต่อการนำยางก้อนถ้วยไปแปรรูปยางแท่งและผลิตภัณฑ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ยางยานพาหนะที่มีปริมาณการใช้จากยางแห้งมากที่สุด และควรช่วยกันรณรงค์มาใช้กรดฟอร์มิค ซึ่งปัจจุบันยังไม่พบว่ามีสารจับตัวยางที่มีราคาถูกกว่าและคุณภาพดีกว่า

นอกจากนี้ควรนึกถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายยางที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก

เรื่องโดย ปรีดิ์เปรม ทัศนกุล
ศูนย์วิจัยยางสงขลา สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย

4 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

น้ำหมักชีวภาพก็ใช้ได้ ประหยัด ชุมชนใกล์แหล่งวัตถุดิบสามารถทำเองได้ ทำไมศูนย์วิจัยไม่แนะนำ หรือไม่รู้เรื่อง

Unknown กล่าวว่า...

น้ำหมักชีวภาพก็ใช้ได้ ประหยัด ชุมชนใกล์แหล่งวัตถุดิบสามารถทำเองได้ ทำไมศูนย์วิจัยไม่แนะนำ หรือไม่รู้เรื่อง

Unknown กล่าวว่า...

น้ำหมักชีวภาพก็ใช้ได้ ประหยัด ชุมชนใกล์แหล่งวัตถุดิบสามารถทำเองได้ ทำไมศูนย์วิจัยไม่แนะนำ หรือไม่รู้เรื่อง

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เพราะน้ำหมักชีวภาพมีต้นทุนสูงกว่ากรดฟอร์มิก อีกทั้งกรดฟอร์มิกแท้เป็นกรดอินทรีย์ ไม่ส่งผลกระทบต่อส่งแวดล้อม ยางเนื้อแน่น มีความยืดหยุ่นดี สีสวย ทำให้ราคาดี

บทความที่ได้รับความนิยม