ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

น้ำท่วมภาคใต้อ่วม กยท. เร่งช่วยเหลือชาวสวนยางรายละ 3,000 บาท

คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย อนุมัติร่างระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 49 (5) พ.ศ. .... ประกาศใช้ทันที เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางตามพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 

ด้าน ประธาน สยยท. เรียกร้อง กยท.นำเงิน CESS ช่วยเหลือชาวสวนยาง พร้อมระดมเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศช่วยชาวสวนยาง เหมือนเหตุการณ์แหลมตะลุมพุก ปี 2505

นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เผยว่า คณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย มีมติเห็นชอบให้ประกาศใช้ร่างระเบียบการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการ ใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการเพื่อเกษตรกรชาวสวนยาง ตามมาตรา 49 (5) ของ พ.ร.บ. กยท. เพื่อให้เป็นของขวัญปีใหม่ 2560 แก่เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศที่ขึ้นทะเบียนกับทาง กยท. อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การช่วยเหลือเกษตรกรที่สวนยางประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ทันที ซึ่งในร่างระเบียบดังกล่าว จะให้เงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวสวนยางเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนกรณีสวนยางประสบภัย ในอัตรารายละไม่เกิน 3,000 บาท

นอกจากนี้ ยังจัดสรรสวัสดิการอื่นๆ แก่พี่น้องชาวสวนยาง อาทิ เงินให้แก่ทายาทของเกษตรกรชาวสวนยางกรณีเกษตรกรชาวสวนยางเสียชีวิต และ เงินทุนกู้ยืมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ร่างระเบียบนี้จะเป็นการนำร่องประกาศใช้ และสามารถปรับเปลี่ยนการจัดสรรสวัสดิการอื่นๆ เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องตามสถานการณ์ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควรตามกำหนดได้ในอนาคต 

นายธีรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ล่าสุดในพื้นที่ภาคใต้ประสบปัญหาฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้สวนยางพาราของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางได้รับผลกระทบและสวนยางพารามีน้ำท่วมขัง ในเบื้องต้น กยท. ได้รุดลงพื้นที่อย่างเร่งด่วน พร้อมผู้นำเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และหน่วยงานปกครองในจังหวัด มอบถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรจากการเกิดอุทกภัยในครั้งนี้

โดยผลการสำรวจ พบว่า มีเกษตรกรชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อน จากอุทกภัยครั้งนี้ จำนวน 60,338 ราย และมีพื้นที่ได้รับความเสียหายทั้งหมด ประมาณ 531,876 ไร่ แบ่งเป็น จังหวัดนครศรีธรรมราช 41,932 ราย มีพื้นที่ความเสียหายประมาณ 416,133 ไร่ จังหวัดพัทลุง 17,331 ราย มีพื้นที่ความเสียหายประมาณ 105,944 ไร่ จังหวัดตรัง 700 ราย มีพื้นที่ความเสียหายประมาณ 7,250 ไร่ จังหวัดสงขลา 353 ราย มีพื้นที่ความเสียหายประมาณ 2,396 ไร่ และ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 22 ราย มีพื้นที่ความเสียหายประมาณ 153 ไร่ อย่างไรก็ตาม หลังจากสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว จะมีเจ้าหน้าที่ของ กยท. เข้าไปประเมินความเสียหายของพื้นที่สวนยางที่ถูกน้ำท่วม พร้อมทั้งให้คำแนะนำดูแลสวนยางที่ถูกน้ำท่วมขัง เพื่อฟื้นฟูสวนยางอย่างถูกวิธี อ่าน แนวทางฟื้นฟูสวนยางหลังน้ำท่วม
ด้านนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ในฐานะ ประธานสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางแห่งประเทศไทย (สยยท.) เสนอให้ กยท. นำเงิน CESS มาช่วยเหลือชาวสวนยาง พร้อมระดมเจ้าหน้าที่ กยท.ทั่วประเทศ ลงพื้นที่ภาคใต้ช่วยเหลือชาวสวนยาง เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2505

“ผมในนามของ สยยท.ขอส่งกำลังใจให้พี่น้องภาคใต้ที่ประสบอุทกภัยในครั้งนี้ หลังจากเจอภาวะภัยแล้งฝนตกหนักน้ำท่วมระลอกแรก ปัจจุบันน้ำท่วมซ้ำระลอกสอง โดนทั้งภัยธรรมชาติ และภาวะเศรษฐกิจซ้ำเติม พวกเราแทบเอาตัวไม่รอดกันถ้วนหน้า ทำได้แค่รอให้รัฐบาลเยียวยา”

“กยท.ต้องตัดสินใจเอาเงิน cess ออกมาช่วยพวกเราอย่ามัวรีรอชักช้าไม่ทันการ เพราะมาตรา 49(5) ผ่านบอร์ดไปแล้ว ผมขอให้บอร์ด กยท. ประชุมด่วนตัดสินใจระดมเจ้าหน้าที่ทั่วประเทศออกช่วยเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้เหมือนสมัยปี 2505 วาตภัยแหลมตะลุมพุก สกย.สมัยนั้นปฏิบัติงานได้น่าชื่นชมมาก”


advertivsing
ติดต่อโฆษณา 08-6335-2703

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม