ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

นำเงิน เซส หนุนเกษตรกรทำ “ยางเครปคุณภาพ" สยยท. มีตลาด ตุรกีและจีนรองรับ

ยางก้อนถ้วย เป็นประเภทยาง “เจ้าปัญหา”
เพราะหนึ่ง ระบบซื้อขายเอื้ออำนวยให้ถูกกดราคาได้ง่าย เนื่องจากไม่มีระบบตรวจวัดมาตรฐาน
สอง เป็นประเภทยางที่มีความชื้นและสิ่งสกปรกสูง
สาม สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม เรื่องกลิ่นและน้ำเสีย
มีดี อย่างเดียวคือ ต้นทุนการผลิตต่ำ และทำง่าย จึงเป็นประเภทยางที่เกษตรกรนิยมทำกันมากที่สุด
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
HIGHTLIGHT : 
🔴 สยยท.เสนอ กยท. นำเงินเซสจาก กองทุนพัฒนายางพารา สนับสนุน กลุ่มเกษตรกรลงทุนและแปรรูปยางเครป คุณภาพเทียบเท่ายางแท่ง STR 20 เพื่อแก้ปัญหาการซื้อขายยางก้อนถ้วย

🔴 นายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธาน สยยท. เผมมีตลาดส่งออกยางเครปคุณภาพ ตุรกีและจีนรองรับ หนุนเกษตรกรทำยางเครปบาง 5 มม.
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
 หน่วยงานราชการที่ทำหน้าที่ส่งเสริมเกษตรกรผลิตยางคุณภาพยังจนปัญญาที่จะทำให้ เกษตรกร ลด ละ เลิก ทำยางก้อนถ้วย แล้วหันมาทำยางคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นยางแผ่นดิบ ยางแผ่นรมควัน และ น้ำยางสด 
แต่มีแนวทางหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ โดยที่เกษตรกรยังคงทำยางก้อนถ้วยอยู่ นั่นก็คือ แปรรูปยางก้อนถ้วยเป็น “ยางเครป” ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มพ่อค้ารับซื้อยางก้อนถ้วย ที่ประสบปัญหา ถูกกดราคาจากโรงงานยางแท่ง และต้องการเพิ่มกำไรจากธุรกิจยางก้อนถ้วยนั่นเอง

แนวคิดการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ให้รับซื้อยางก้อนถ้วยจากสมาชิกมาแปรรูปเป็นยางเครป จึงเกิดขึ้น ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตเคยมีโครงการส่งเสริมของ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง หรือ สกย.เดิม แล้ว แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะใช้เงินลงทุนสูง และต้องแข่งขันกับพ่อค้ายาง รวมถึงถูกบล็อกจากโรงงานยางแท่ง เป็นต้น
- Advertisement - 



หากแต่ปัจจุบันยางเครปกลายเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะยางเครปที่ผลิตได้คุณภาพ สามารถนำไปใช้ทดแทนยางแผ่นรมควัน สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่เน้นคุณภาพเข้มข้นนัก โดยมีพ่อค้ายางชาวจีนเข้ามารับซื้อถึงในประเทศ

เรื่องนี้ทางสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) ได้เตรียมหารือแนวทาง พร้อมกับเตรียมเสนอให้ การยางแห่งประเทศไทย นำเงิน CESS จาก กองทุนพัฒนายางพารา สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรลงทุนธุรกิจยางเครป
วีระศักดิ์ สินธุวงศ์ ประชาสัมพันธ์ สยยท. อธิบายว่า หลายปีก่อนในช่วงที่ราคายางตกต่ำยาวนาน สกย.พยายามผลักดันให้สหกรณ์ในสังกัดแปรรูปยางก้อนถ้วยเป็นยางเครป โดยกำหนดยุทธศาสตร์ โมเดล 10 โรงงานยางเครปขึ้นทั่วประเทศ

แต่ยุคนั้นไม่สัมฤทธิ์ผลเนื่องจากไม่มีตลาดส่งออกเป็นของตัวเอง ต้องเลี้ยวหัวกลับมาขายให้กับ 5 เสือผู้ส่งออกยาง ซึ่งต้นทุนทำเครปของสถาบันเกษตรกรอยู่ที่ 3 บาท/กก. แต่ 5 เสือรับซื้อ ยางเครปสูงกว่ายางก้อนถ้วยแค่ กก.ละ 2 บาททำให้สถาบันเกษตรกรขาดทุนกิโลละ 1 บาทจึงล้มเลิกไป

ก่อนหน้านั้นผู้ประกอบการรายใหญ่หัวใสแจกเครื่องทำยางเครปให้สถาบันเกษตรกรแล้วรับซื้อก้อนถ้วยมาทำเครป แต่ต้องล้มเลิกไปเพราะยางเครปคือเนื้อยางแห้งเกือบ 100% ไม่สามารถกดค่า DRC จากเกษตรกรได้ก็ล้มเลิกโครงการดีดีไปอีก
โรงงานผลิตยางเครป ของ สหกรณ์กองทุนสวนยางในโตน จ.พังงา เป็นหนึ่งในตัวอย่างของสถาบันเกษตรกร ที่ลงทุนผลิตยางเครป แก้ปัญหาการซื้อขายยางก้อนถ้วยที่ไม่เป็นธรรม

แต่คราวนี้ การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ควรเป็น “แม่งาน” ในการผลักดันให้สถาบันเกษตรกรกลายเป็นผู้ประกอบกิจการยาง จากการแปรรูปยางเครปส่งออกต่างประเทศโดยไม่ผ่าน 5 เสือ

ในเรื่องนี้สภาเครือข่ายยาง สยยท.ได้นำเสนอผ่านคณะกรรมการ สยยท.ที่เข้าไปเป็นคณะกรรมการเครือข่ายเกษตรกรระดับประเทศของ กยท. ให้ผลักดันโครงการสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางเครปส่งออกต่างประเทศโดยด่วน โครงการนี้ กยท. สามารถนำมาตรา 49 (3) จากกองทุนพัฒนายางพารา 35% มาส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรมากู้เงินไปใช้เพื่อการแปรรูปยางเครป กระจายไปทั่วประเทศ ทำให้ยางก้อนถ้วยทั้งหมดอยู่ในมือของเกษตรกรไม่ใช่ในมือของพ่อค้าดังเช่นที่เป็นมา เมื่อไม่มีพ่อค้าคนกลางก็ไม่มีใครกดราคายางก้อนถ้วยได้อีกซึ่งราคายางเครปแพงกว่ายางก้อนถ้วย 1015 บาท เกษตรกรในภาคเหนือและอีสานไม่ต้องขายยางก้อนถ้วยอีกต่อไป แต่เปลี่ยนไปทำยางเครป

เงินส่วนต่างมหาศาลเหล่านี้แหละจะตกอยู่ในมือของเกษตรกรโดยตรงไม่หลงอยู่ในกระเป๋าใครอีก  เมื่อปริมาณยางกว่า 30% อยู่ในมือของสถาบันเกษตรกร กยท และชาวสวนยางทั้งประเทศก็จะกลายเป็นผู้ควบคุมกลไกลตลาดยางพารา
“โลกกำลังขาดแคลนยางผู้ประกอบการรายใหญ่ในต่างประเทศได้เข้ามาติดต่อขอซื้อยางจากสถาบันเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของ สยยท. ทั้งภาคเหนือและอีสาน ในหลายสถาบัน โดยเฉพาะต้องการยางเครปอัดก้อนจำนวนมากส่งออกจีนโดยไม่ต้องมีใบเซอร์....ทางคณะกรรมการสภาเครือข่ายยางมีตลาดและผู้ต้องการยางเครปอยู่จำนวนมาก จึงมีความเห็นฟ้องยินดีที่จะให้คำปรึกษาสถาบันเกษตรกรที่ต้องการแปรรูปยางเครปด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง”

ด้านนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธาน สยยท. กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ปัจจุบันเกษตรกรทำยางก้อนถ้วยจำนวนมาก โดยเฉพาะในภาคเหนือและอีสาน ถูกเอาเปรียบเรื่อง DRCและถูกกดราคาซื้อต่ำ แนวคิดการส่งเสริมให้เกษตรกรเปลี่ยนยางก้อนถ้วยเป็นยางเครป โดยใช้ พ.ร.บ. กยท.มาตรา 49(3) ซึ่งมาตรานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันแปรรูปยางในการทำยางเครปนั้นเราสามารถดูด้วยตาเปล่า เพียงถูกตัดเปอร์เซนต์น้ำ 1-4% เหมือนยางแผ่นดิบไม่โดน 50-60% เหมือนยางก้อนถ้วยที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ เพราะโรงงานยาง STR 20 อยากซื้อยางก้อนถ้วยมากกว่ายางเครป เพราะกด% ยางได้ง่าย

ปัจจุบันเมื่อประเทศจีนมารับซื้อยางเครปไม่อั้นโรงงานในไทยก็จำเป็นต้องรับซื้อ% ยางก็จะไม่ถูกตัดมากนัก
ผมขอเรียนเกษตรกรว่าถ้าเราแขวนยางตากไว้ 20 วันยางก็จะเท่ายาง STR 20 และคุณภาพดีกว่าด้วยเพราะความยืดหยุ่นดีกว่ายางที่ผ่านโรงงาน STR 20 คุณภาพจะเหมือนยางแผ่นรมควัน ถ้าทำได้อย่างที่เรียนมาล้อยางรถยนต์จะมีความต้องการสูงเหมือนยางแผ่นรมควันที่มีราคาสูงกว่า STR 20 

ล่าสุด นายอุทัยได้แจ้งความคืบหน้าเรื่องการส่งเสริมการทำยางเครป ว่า ทางสภาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย(สยยท)ได้หาทางในการสนับสนุนไม่ให้เกษตรกรถูกเอารัดเอาเปรียบในการขายยางก้อนถ้วยและรวบรวมกันเป็นกลุ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อรวบรวมยางก้อนถ้วยและใช้เครืองรีด ซึ่งไม่เกิน 5 มม. และอบเพื่อให้ความชื้นออกจากแผ่นยาง ได้เร็วขึ้นเพื่อส่งออกไปต่างประเทศได้

สยยท.จะเป็นผู้บริหารจัดการการและจะขออนุญาตส่งออกเองโดยได้หาลูกค้าจากประเทศตรุกีและจีน ผมในฐานะประธาน สยยท.จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเป็นผู้ประสานงานและรวบรวมยางเพื่อการส่งออกสยยท.จึงจะต้องหาผู้ที่จะต้องการส่งออกยางร่วมกัน

จึงขอเรียนเพื่อนสมาชิกได้โปรดแจ้งความประสงค์ที่ 08-1330-1945 เพราะเราจะพึ่งตนเองส่งออกเองโดยเกษตรกรเพื่อเกษตรกร สยยท. จะได้เป็นผู้รวบรวมจึงขอให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการด่วน

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม