ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

สมคิด โพธิ์เพชร ต้นแบบสวนยางเอทธิลีน เพิ่มน้ำยาง 3 เท่า พิสูจน์มาแล้วกว่า 14 ปี

เอทธิลีน ฮอร์โมนเพิ่มน้ำยาง ปกติชาวสวนยางจะนำมาใช้กับต้นยางแก่ให้ผลผลิตต่ำ เพื่อรีดน้ำยางก่อนโค่นต้นยาง 

ภาพของเอทธิลีน หรือที่ชาวสวนยางเรียกว่า แก๊ส จึงกลายเป็นสารเร่งน้ำยางชนิดรุนแรง มีอันตรายกับต้นยาง

ต่อมาฮอร์โมนเอทธิลีนได้ถูกพัฒนาให้มีความบริสุทธิ์สูง และนำมาใช้กับต้นยางที่มีอายุ  15 ปีขึ้นไป ที่หมดหน้ากรีดระดับปกติ เพื่อเร่งน้ำยางจากวิธีกรีดยางหน้าสูง ซึ่งสามารถเพิ่มน้ำยางได้มากกว่าปกติ 3-5 เท่าตัว และยังช่วยยืดอายุกรีดต้นยาง และเพิ่มผลผลิต

โดยทำควบคู่กับกับการเพิ่มปุ๋ยให้กับต้นยาง หรือ ใส่ปุ๋ยเท่าเดิมแต่แบ่งใส่ถี่ขึ้น เพื่อชดเชยน้ำยางที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เว้นระยะเวลากรีดห่างขึ้นเพื่อให้ต้นยางมีเวลาพักตัว จึงกรีดยางน้อยลงแต่น้ำยางเพิ่มขึ้น ช่วยลดปัญหาด้านแรงงาน

นายสมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี เข้าใจและรู้ถึงข้อดีข้อด้อยของการทำสวนยางเอทธิลีนเป็นอย่างดี เพราะเขาเริ่มใช้มาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 14 ปี จนถึงปัจจุบัน( 2559) 
และยังกล้าที่จะใช้กับต้นยางเปิดกรีดใหม่ที่มีอายุ 5 ปีครั้ง ซึ่งปัจจุบันสวนยางแปลงนี้เกิดกรีดมาแล้วต่อเนื่อง 6 ปี 
นายสมคิด โพธิ์เพชร เจ้าของสวนยางใน อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี
สภาพต้นยางที่ให้เอทธิลีนตั้งแต่อายุ 5 ปีครึ่ง และใช้ต่อเนื่องมา 6 ปี แล้ว
ด้วยประสบการณ์และความชำนาญ นายสมคิดจึงกล้าใช้เอทธิลีนกับสวนยางเปิดกรีดใหม่อายุ 5 ปีครึ่ง เขาเอาความกล้านี้มาจากไหนไปฟังแนวความคิดของเขากัน

“ผมใช้เอทธิลีนมา 14 ปีแล้ว ตอนแรกเราก็ใช้ในยางโตเหมือนทั่วไป แต่ตอนหลังเรามาทดลองใช้ในยางเปิดกรีดใหม่ 5 ปีครึ่ง แต่มีข้อแม้นะว่าเส้นรอบวงของต้นต้องได้ขนาด 50 ซ.ม.ขึ้นไป ปัจจุบันกรีดมา 6 ปีแล้ว 


“คนที่ได้ฟังเขาก็จินตนาการไปว่าต้นยางผมคงผอมแกรนและโทรมจากการที่น้ำยางออกมามากขนาดนี้ แต่ปรากฏว่าเราไม่มีปัญหาเรื่องต้นยางหยุดการเจริญเติบโต แต่กลับโตและสมบูรณ์ดีกว่าแปลงที่อายุไล่ๆ กันแต่ไม่ใช้เอทธิลีน

“จะสังเกตได้ว่ายางที่ใช้เอทธิลีนต้นใหญ่ สมบูรณ์ ใบเขียวงาม นั่นเป็นเพราะในธรรมชาติต้นยางสร้างเอทธิลีนอยู่แล้ว เราเติมตรงนี้เข้าไปเพื่อเร่งน้ำยาง แต่เราปรับเปลี่ยนรูปแบบวันกรีด คือ กรีด 1 วัน หยุด 2 วัน เพื่อให้ต้นยางได้พักปรับตัว 
แต่การหยุดกรีด 2 วัน กรีดแค่ 1 วัน ไม่ได้ทำให้ได้น้ำยางน้อยลง กลับได้น้ำยางเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า ชดเชยวันที่หยุดกรีดไปได้แบบสบายๆ” นายสมคิดเล่าให้ฟัง
กรีดหน้าสั้น ช่วยประหยัดหน้ายาง ยืดอายุกรีดได้นานขึ้น
จากคำบอกเล่าแสดงให้เห็นว่านายสมคิดมีความเชี่ยวชาญและเข้าใจระบบการทำงานของแก๊สเอทธิลีนกับต้นยางเป็นอย่างดี และสามารถนำไปทอดลองปรับใช้กับต้นยางอายุน้อยได้อย่างไร้ปัญหา

เพราะการที่ต้นยางสมบูรณ์มีใบเขียวครึ้มย่อมทำให้การปรุงอาหารของต้นยางเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอสำหรับบำรุงต้นและสร้างน้ำยางใหม่ไปพร้อมๆ กัน

คุณสมคิดใช้วิธีลดความกว้างของหน้ากรีดลงเหลือเพียง 4 นิ้ว หรือแบ่งหน้ากรีดประมาณ 4-5 ส่วนของต้น ทำให้ประหยัดหน้ายางสามารถกรีด จึงยืดอายุต้นยางได้นานขึ้น ขณะที่หน้ากรีดสั้นช่วยให้แผลกรีดหายไวจึงลดการเกิดโรคที่เกิดทางหน้ายาง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาทาหน้ายางเลย

“ยกตัวอย่างยางพาราพันธุ์ RRIM 600 อายุ 19 ปีของผมที่กรีดมาร่วมๆ 10 ปี แต่หน้ายางยังสมบูรณ์ดี เปลือกที่งอกมาใหม่ไม่มีแผลปุ่มโปน เปลือกเรียบ และเท่าที่สังเกตต้นยางสร้างเปลือกเร็วกว่าปกติด้วย ใช้แก๊สแล้วน้ำยางเพิ่ม ต้นยางสมบูรณ์ แถมยืดอายุกรีดได้นานขึ้น” นายสมคิดบอก

แผลกรีดสร้างใหม่ไวและไม่มีโรคทางหน้ายาง
เทคนิคการใช้เอทธิลีน ของ สมคิด โพธิ์เพชร 

1. ใช้เอทธิลีนอัดครั้งละ 20 ซีซี. ต่อการกรีด 3 ครั้งหรือ 3 มีด คิดเป็นต้นทุน 500 บาท/เดือน
2. เปลี่ยนจากการใช้ถุงเก็บเอทธิลีนที่มักถูกแมลง จิ้งหรีด ตั๊กแตน กัดแทะเสียหายมาใช้หลอดไซลิงค์ (หลอดเข็มฉีดยา) เพราะทนทานมากกว่าสามารถใช้ซ้ำได้นาน
3.ไซลิงค์สามารถกำหนดปริมาณแก๊สที่อัดเข้าไปได้แม่นยำโดยดูจากตัวเลขวัดปริมาตรข้างหลอด
4. อุปกรณ์ติดตั้งง่าย เพียงแค่ตอกหัวจ่ายเอทธิลีนเข้าไปในเปลือกยาง (ไม่ตอกถึงเนื้อไม้) แล้วใช้กาวน้ำทารอบๆ เพื่อช่วยลดแก๊สรั่วไหล 
5. ปรับเปลี่ยนกำหนดวันกรีดจากกรีด 2 วัน เว้น 1 วัน เป็นกรีด 1 วัน เว้น 2 วัน ให้ต้นยางมีเวลาพักมากขึ้น วันกรีดน้อยลง แต่การกรีดแต่ละครั้งได้ปริมาณน้ำยางเพิ่มขึ้น 3 เท่า หมายความว่าทำงานน้อยลงแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น
6. สวนยางระบบเอทธิลีนใช้แรงงานน้อยลงเพราะกรีดยางเดือนละ 10 วัน ไม่ต้องเก็บยางทุกวัน เมื่อคนงานน้อยรายได้ของคนกรีดที่แบ่งจากเจ้าของสวนแล้วจะมีตัวหารน้อยลงจึงได้เงินมากขึ้น


อ่านรายละเอียด การทำสวนยางเอทธิลีนเพื่อเพิ่มผลผลิต


สวนยางระบบเอทธิลีนลงทุนเพิ่มแต่มีกำไรมากกว่าสวนยางปกติ (สวนยาง 50 ไร่ หรือ 700 ต้น)

1. ต้นทุนเอทธิลีน กระป๋องละ 68 บาท คิดเป็นราคา 500 บาท/เดือน
2. ชุดอุปกรณ์ประมาณ 25 บาท แต่อยู่ได้หลายปี
3. ถังรองน้ำยางต้องใช้ขนาด 2 ลิตร ราคา 12 บาท จำเป็นต้องซื้อถังรองน้ำยางชุดใหม่ในครั้งแรกเพื่อรองรับปริมาณน้ำยางที่มากขึ้นอย่างน้อย 3 เท่า ลดปัญหาการคอยเปลี่ยนภาชนะเป็นการประหยัดแรงงานไปในตัว
4. ถ้าราคาน้ำยางสด 50 บาท/กก. แต่ถ้าใช้เอทธิลีนร่วมด้วย จะได้น้ำยางเพิ่มขึ้น 3 เท่า เท่ากับว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น
5. ในส่วนการใส่ปุ๋ยกำหนดเป็นปีละ 2 ครั้ง ในอัตราส่วนปุ๋ยเคมีต่อปุ๋ยอินทรีย์ 1:4 ส่วน เช่น หากใช้ปุ๋ยเคมี 1 กระสอบ จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 4 กระสอบ จึงลดต้นทุนในส่วนของปุ๋ยไปได้อีก


ด้วยประสบการณ์และความสำเร็จจากการทำสวนยางเอทธิลีนมาอย่างยาวนาน สวนยางของนายสมคิด จึงเป็นสวนยางต้นแบบของการทำสวนยางระบบนี้ มีเกษตรกรในพื้นที่ภาคใต้สนใจมาศึกษาดูงานจำนวนมาก 
 เปลี่ยนจากการใช้ถุงเก็บเอทธิลีนที่มักถูกแมลง จิ้งหรีด ตั๊กแตน กัดแทะเสียหายมาใช้หลอดไซลิงค์ (หลอดเข็มฉีดยา) เพราะทนทานมากกว่าสามารถใช้ซ้ำได้นาน
จะเห็นได้ว่าการทำสวนยางระบบเอทธิลีนของนายสมคิดนั้นประสบความสำเร็จทั้งในแง่ของปริมาณ คุณภาพ ลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตไปพร้อมๆ กัน ต้องยอมรับว่าเมื่อใช้ระบบนี้แล้วทั้งเจ้าของสวนและคนกรีดต้องปรับตัวหลายๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น การเว้นวันกรีด การลดความกว้างของหน้ากรีด ระยะแรกอาจไม่คุ้นชินและห่วงว่าจะได้น้ำยางน้อยลง 

แต่ถ้าเปรียบเทียบแล้วกลับกลายเป็นว่าได้ผลผลิตมากกว่า ระยะนี้หากเกษตรเห็นปริมาณน้ำยางมากแต่เกิดโลภไม่ยอมพักกรีดตามระยะเวลาที่กำหนดจะส่งผลให้ต้นยางทรุดโทรมเร็ว

ดังนั้นการใช้เอทธิลีนในสวนยางจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลและวิธีใช้งานที่ถูกต้องตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตเพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรเอง


ภาพพิสูจน์โค่นยางพาราที่ใช้เอทธิลีน เมื่อปี 2565


ขอขอบคุณ
สมคิด โพธิ์เพชร
อ.เคียนซา จ.สุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ 08-7465-2988

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม