ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เรียนรู้การทำยางเครปให้มีกำไร จากผู้ผลิต จ.ระยอง (Advertorail)

ซื้อ-ขาย “ยางก้อนถ้วย” อย่างไรให้มีกำไร...??? คงจะเป็นคำถามที่ “ถามง่าย” แต่ “ตอบยาก” เต็มที เพราะธุรกิจซื้อมาขายไปตัวนี้เป็น “โรคเสี่ยงเรื้อรัง มานาน เสี่ยงตั้งแต่เลือกซื้อยาง เสี่ยงจากการบริการจัดการยาง เสี่ยงที่ราคาขึ้นลงรายวัน และเสี่ยงเพราะถูกโรงงานกดราคา 

เจ้าของธุรกิจซื้อขายยางก้อนถ้วยจำนวนมาก เลยหาทางออกด้วยวิธีทำเป็น “ยางเครป” โดยรีดน้ำออกจากก้อนยางพร้อมกับทำความสะอาด ทำให้ยางมีคุณภาพสูงขึ้น เพียงแต่ต้องลงทุนและทำงานเพิ่มขึ้น แต่ช่วยลดความเสี่ยง และเพิ่มกำไร

แต่จะทำ “ยางเครป” อย่างไรให้มีกำไร...??? ผู้ผลิตยางเครป ใน อ.แกลง จ.ระยอง มีคำตอบ
 ━━━━━━━━━━━━━━━
เรื่องเด่นในบทความนี้ :
-วีระพันธ์ ขัดสี อดีตผู้รับซื้อยางก้อนถ้วย บาดเจ็บจากการซื้อยางจากชาวสวนนำไปขายโรงงาน มีการแข่งขันสูง ราคาผันผวน ถูกโรงงานกดราคา เลยหันมาลงทุนทำยางเครป โดยเลือกซื้อยางที่มีคุณภาพ นำมารีดเครปให้สะอาด เมื่อยางมีคุณภาพ ก็สามารถทำกำไรเพิ่มอย่างน้อย กก.ละ 2 บาท

-เครื่องจักร สำคัญต่อธุรกิจยางเครป เคยซื้อเครื่องรีดยางเครปมือสอง แม้จะถูก แต่ทำยางได้ช้า เสียง่าย ซ่อมบ่อย เปรียบเทียบกับเครื่องใหม่กำลังสูง แต่ทำยางได้เร็วเหมาะกับยางที่มีกว่า 20 ตัน/วัน ยางมีคุณภาพ และขายยางได้ทันต่อราคาที่ขึ้นลงรายวัน

-เพิ่มช่องทางรับจ้างรีดยางเครป พร้อมกับรับซื้อ ทำกำไรทั้งสองฝ่าย
 ━━━━━━━━━━━━━━━
คุณวีระพันธ์ ขัดสี และครอบครัวทำธุรกิจรับซื้อยางแผ่นและยางก้อนถ้วยในพื้นที่ จ.ระยองมากว่า 10 ปี แต่ตอนหลังยางก้อนถ้วยกลายเป็นตัวหลัก เพราะเกษตรกรหันมาทำกันมาก แต่ก็อย่างที่บอกว่ามีการแข่งขันสูง คุณภาพยางมีหลากหลาย ถ้าเลือกไม่ดี เก็บไว้นาน มีสิทธิ์ขาดทุน เพราะราคาขึ้นลงรายวัน และที่สำคัญถูกโรงงานกดราคา จึงหันมาทำ “ยางเครป”
  
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ยางแบบไหน เหมาะสำหรับทำยางเครป...???
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
หลักง่ายๆ ของยางที่จะซื้อมาทำยางเครป คือ สะอาด มีน้ำในก้อนยางน้อย เปอร์เซ็นต์ยางสูงๆ หรือไม่ควรต่ำกว่า 70% ยางลักษณะนี้จะต้องเป็นยางที่กรีดมาไม่น้อยกว่า 7-8 มีด เวลาดูยางถ้าไม่ชำนาญก็ต้องใช้มือบีบดูว่าก้อนยางนิ่มหรือแข็ง ถ้านิ่มๆ แสดงว่ามีน้ำเยอะ รีดเครปแล้วเหลือเนื้อยางน้อยมีสิทธ์ขาดทุนสูง ยางพวกนี้ไม่ควรซื้อมาทำยางเครปเด็ดขาด

ดังนั้นเวลาซื้อยางต้องเลือกยางให้เป็น ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเพราะทำไประยะหนึ่งก็จะมีความชำนาญ เมื่อก่อนก็ลองผิดลองถูก ซื้อยางนิ่มมามันรีดง่าย แต่น้ำหนักยางยางเหลือน้อย ก็เริ่มรู้ว่ายางแบบนี้ไม่ได้ แล้วก็ดูว่ามาจากโซนไหน คราวหลังก็ไม่ซื้อ

แต่อีกวิธีหนึ่งที่แม่นยำมากที่สุด คือ นำยางมารีดทดสอบสัก 10 กก. แล้วดูว่าหลังรีดเหลือยางเท่าไหร่


━━━━━━━━━━━━━━━━━━
เครื่องรีดยางเครป สำคัญอย่างไร....???
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
เครื่องจักรรีดยางเครป คือต้นทุนสำคัญ และมีผลต่อธุรกิจยางเครป คุณวีระชัยเล่าว่า เริ่มแรกลงทุนซื้อเครื่องจักรมือสองนำมาประกอบ เพราะเห็นว่าราคาถูกเมื่อเทียบกับเครื่องใหม่ 

แต่คิดผิด เพราะเครื่องจักร ชราภาพ เต็มที รีดยางได้ช้า และสำคัญที่สุดซ่อมบ่อย เลยตัดสินใจซื้อเครื่องรีดยางเครปรุ่นใหม่ “ยี่ห้อ FMG (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “ตราช้าง”) แบบมอเตอร์ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพดีกว่า ทั้งรอบหมุนของลูกรีดแรงดีมีกำลังสูง รีดยางได้ไว และเนื้อยางละเอียด ที่สำคัญมากไปกว่านั้น คือ มีบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของเครื่องจักรที่ต้องทำงานหนักทั้งวัน

เขาใช้เครื่องรีดยางเครปจำนวน 2 เครื่อง มีสายพานลำเลียงยาง 2 ตัว ช่วยให้ทำงานได้สะดวก และรวดเร็ว ลดต้นทนแรงงาน สามารถรีดยางเครปได้วันละ 17-20 ตัน

━━━━━━━━━━━━━━━━━━
รับจ้างรีดยางเครป และรับซื้อ
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
นอกจากทำยางเครปแล้ว คุณวีระพันธ์ ยังเปิดรับรีดยางเครป แล้วรับซื้อยางเครปด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นพ่อค้ายางรายย่อยที่เปิดลานรับซื้อยางก้อนถ้วย แล้วคัดเลือกยางครั้งละ 3-4 ตัน มารีดยางเครป แทนที่จะขายยางก้อนถ้วยให้ลานขนาดใหญ่หรือโรงงาน

อย่างราคายางเครปที่เปิดรับซื้อ กก.ละ 32 บาท (ช่วงปลายเดือน พ.ค.60) แต่พ่อค้ายางอาจจะซื้อยางก้อนถ้วยจากเกษตรกรมาก กก.ละ 26-27 บาท หรือแล้วแต่เขาจะบริหารจัดการ หักต้นทุนค่ารีดเครป พ่อค้าก็จะได้ส่วนต่างเป็นกำไร มากกว่าขายยางก้อนถ้วย 

 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
เปรียบเทียบ ยางก้อนถ้วย / ยางเครป
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
“ขายยางก้อนถ้วยอยู่ที่ว่าเราเข้าถึงผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ใหญ่ๆ ของโรงงานมั้ย ถ้าเข้าไม่ถึงก็ถูกกดราคา ยางไม่ดีบ้าง ไม่สะอาด น้ำเยอะ แต่ถ้าเราสนิทสนม หรือเป็นรายใหญ่ เขาก็จะช่วยบ้าง บวกราคาเพิ่มให้บ้าง”

“ส่วนยางเครป เวลาขายโรงงานก็ลักษณะเดียวกันอยู่ที่โรงงานตีเปอร์เซ็นต์ แต่เขากดราคาแบบยางก้อนถ้วยไม่ได้ เพราะเป็นยางที่รีดเอาน้ำออก ทำความสะอาดแล้ว ถ้ายางที่ทำไปมีคุณภาพโรงงานจะบวกราคาเพิ่มให้ อย่างโรงงานที่ส่งขายประจำเขาจะบวกราคาเพิ่มให้ 2.5 บาท/กก. อย่างถ้ายางก้อนถ้วยเปิดราคา 48 บาท ยางเครปจะได้เพิ่ม 50.50 บาท”

“แต่ก็ไม่ได้ส่งแค่โรงงานเดียว ส่งสองโรงใน จ.สุราษฎร์ธานี และบุรีรัมย์ เพราะจังหวะความต้องการยางของแต่ละโรงงานไม่เท่ากัน ถ้าโรงงานต้องการยางป้อนเยอะจะเปิดราคาซื้อสูง เราต้องดูจังหวะว่าโรงงานไหนให้ราคาสูง แล้วคำนวณต้นทุนค่าขนส่งให้คุ้มค่าที่สุด”  

แต่ปัจจัยที่ผู้ผลิตยางเครปควบคุมไม่ได้คือ ราคายาง คุณวีระพันธ์บอกว่า “กำไรมันไม่ได้แน่นอนแล้วแต่จังหวะด้วย ช่วงราคายางขึ้นไม่หยุดก็กำไรดี แต่ถ้าลงไม่หยุดก็ขาดทุนได้เหมือนกัน อย่างช่วงนี้กำลังผันผวนเลย อย่างเราซื้อยางมาวันนี้แล้วยังไม่ได้ขายโรงงาน อีกวันสองวันราคายางลงก็มีโอกาสขาดทุน หรือถ้าไม่ขาดทุนกำไรก็อาจจะน้อยลง”
  ━━━━━━━━━━━━━━━
ไม่มีธุรกิจไหนปลอดความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับว่าจะบริหารความเสี่ยงยังงัยให้อยู่รอด และมีกำไร 

ยางเครป เป็นหนึ่งในวิธีบริหารความเสี่ยงของธุรกิจยาง ถ้ามองดีๆ จะเห็นว่ายางเครปก็คือ ทำยางให้มีคุณภาพขึ้นนั่นเอง คัดยางก้อนถ้วยที่มีคุณภาพ มารีดให้เหลือแต่เนื้อยางที่สะอาด เมื่อยางมีคุณภาพก็ขายได้ราคาเพิ่มขึ้น ยิ่งทำยางมีคุณภาพโอกาสที่โรงงานจะกดราคาก็น้อยลง

คุณวีระพันธ์ มองว่าการทำยางให้มีคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ายางเครปทำไม่สะอาด มีความชื้นสูง จะถูกกดราคาลงตามคุณภาพ แต่ถ้าทำให้สวยมีคุณภาพโรงงานก็กดราคาไม่ได้ และจะได้ราคาบวกเพิ่มตามคุณภาพอีกด้วย ซึ่งเขาบอกว่าคุณภาพ คือ  “ความรับผิดชอบต่อวงการ และความซื่อสัตย์ต่ออาชีพ”

วีระพันธ์ ขัดสี อดีตผู้รับซื้อยางก้อนถ้วย บาดเจ็บจากการซื้อยางจากชาวสวนนำไปขายโรงงาน มีการแข่งขันสูง ราคาผันผวน ถูกโรงงานกดราคา เลยหันมาลงทุนทำยางเครป
ขอขอบคุณ
วีระพันธ์ ขัดสี
1/8 หมู่ 5 ต.ทางเกวียน อ.แกลง จ.ระยอง โทรศัพท์ 08-9251-9000

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม