ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เกษตรกรเมืองตรัง ผลิต รองเท้าบูท จากยางพารา

👢ช่องทางและโอกาสของเกษตรกรชาวสวนยางกำลังเปิดกว้าง โดยเฉพาะด้านการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ทั้งขั้นกลางน้ำและปลายน้ำ

ดังตัวอย่างของ ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง ที่มีธุรกิจหลักรวบรวมยางแผ่นรมควันจากสหกรณ์สมาชิกมาผลิตยางแผ่นรมควันอัดก้อนส่งออกต่างประเทศ 100 ตัน/เดือน ปัจจุบันขยายธุรกิจแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ “รองเท้าบูท” โดยใช้ยางจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นวัตถุดิบ ลดปัญหาการถูกกดราคา และปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ซึ่งชุมนุมสหกรณ์ จ.ตรัง สามารถผลิตรองเท้าบูทจากน้ำยางพาราได้สำเร็จเป็นรายแรกใน จ.ตรัง และรายแรกของประเทศไทย 
นายประทบ สุขสนาน ประธานชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง กล่าวว่า ทางชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรังเริ่มผลิตรองเท้าบูท มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 มีกำลังการผลิตวันละ 40 คู่ แต่ละคู่ใช้เวลาประมาณ 18 นาที และใช้น้ำยางแห้งประมาณ 2 กิโลกรัม แต่เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด ทำให้การออกแบบลวดลาย ขนาด และสีของรองเท้าบูทยังไม่หลากหลาย อีกทั้งต้นทุนยังสูงตกอยู่ที่คู่ละกว่า 300 บาท

ต่อมาทางชุมนุมสหกรณ์ จ.ตรัง จึงเข้าร่วม “โครงการ 1 ตำบล 1 SME ของ ธ.ก.ส.จังหวัดตรัง เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เพื่อขอขยายวงเงินกู้จากเดิม 98,000,000 บาท เป็น 290,000,000 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างการรออนุมัติ

ทางชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรังได้มีการจดลิขสิทธิ์การผลิตรองเท้าบูท ภายใต้แบรนด์ “เมืองตรัง” มีรูปพะยูนเป็นสัญลักษณ์ติดอยู่บนรองเท้าทุกคู่ โดยส่งผลิตภัณฑ์ไปขอ มอก.ที่ จ.สงขลา แล้ว และจะเร่งกำลังการผลิตให้เพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของภาคการเกษตร ซึ่งมีเสียงตอบรับที่ดีมาก

แต่เนื่องจากยังผลิตได้เพียง 1 เบอร์ คือ เบอร์ 42 ทำให้ต้องรอซื้อเครื่องจักรตัวใหม่มาเสริม ขณะที่ปัญหาฝนตกชุกในภาคใต้ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อปริมาณยางแผ่นดิบ ซึ่งมีหมุนเวียนในสต็อก จำนวน 500 ตัน ตามนโยบายส่งเสริมของรัฐบาล ส่วนปัญหาน้ำยางสดก็สามารถซื้อมาแปรรูปเป็นน้ำยางแห้งเก็บเอาไว้ใช้ได้อีกด้วย 

ชุมนุมสหกรณ์จังหวัดตรัง ถือเป็นต้นแบบของการเพิ่มมูลค่าน้ำยางสด ด้วยการนำยางพารามาทำรองเท้าบูท แม้จะมีแนวโน้มการแข่งขันสูงขึ้น และยังต้องทำตลาดอีกมาก จึงจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานและสถาบันการเงินจากรัฐ สนับสนุนให้เกษตรกรปรับตัวเป็นผู้ประกอบการภาคเกษตร การนำนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อก่อให้เกิดการจ้างแรงงานในภาคชนบทเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกษตรกรมีรายได้ที่มั่นคง และมียั่งยืน

ข้อมูล : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
- Advertisement - 




ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม