ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

“สวนยางพาราถูกต้องตามหลักการสวนป่าทุกประการสามารถพัฒนาเป็นป่าได้ คุณโค่นทำไม…?” คำถามจาก พงศา ชูแนม

ผลจากมาตรการ “ทวงคืนผืนป่า” เพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าของรัฐบาล โดยเฉพาะการบุกรุกป่าด้วยการปลูกยางพารา ทำให้ต้นยางจำนวนมากถูกตัดโค่น ซึ่งมาตรการดังกล่าวกำหนดไว้ว่า

หากต้นยางมีอายุปลูก 1-3 ปี จะใช้มาตรการตัดโค่นทิ้งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกแปลงเล็กหรือแปลงใหญ่ เพื่อปลูกป่าทดแทนฟื้นฟูสภาพแหล่งต้นน้ำ หากต้นยางอายุ 4 ปีขึ้นไป หรือเติบโตพอจะสามารถกรีดน้ำยางได้แต่ไม่เกิน 20 ปีจะทยอยตัดทั้งหมดพร้อมปลูกไม้ยืนต้นเสริมแล้วฟื้นฟูสภาพป่า

อีกทั้งการลดพื้นที่ปลูกยางในเขตบุกรุกจะช่วยลดปริมาณการผลิตยางลง จะช่วยแก้ปัญหาราคายางตกต่ำได้อีกทาง

ในมุมของ พงศา ชูแนม อดีตหัวหน้าหน่วยอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ จ.ชุมพร เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว และรองผู้จัดการใหญ่ธนาคารต้นไม้ ได้เคยแสดงจุดยืนในนามของชาวธนาคารต้นไม้ ขอให้รัฐบาลหยุดตัดโค่นต้นยางพารา เพื่อทวงคืนผืนป่า โดยให้เหตุผลว่า

1.ยางพาราเป็นต้นไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ พลังงานและสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับต้นไม้ที่รัฐปลูก
2.ยางพาราเป็นเสมือนไม้โตเร็วเบิกนำเพื่อฟื้นฟูบำบัดเยียวยาธรรมชาติจากพืชไร่เชิงเดี่ยวมายาวนาน
3.การปลูกยางพาราไม่ต่างจากการทำสวนป่าเชิงเดี่ยวที่รัฐกำลังส่งเสริมเพื่อใช้พลังงานชีวมวล โดยที่รัฐไม่ต้องลงทุนส่งเสริม
4.การโค่นยางพารา 4 ล้านไร่ไม่ใช่การได้ป่าคืนมา 4 ล้านไร่ มีแต่การสูญเสียที่ทำกิน 4 ล้านไร่และสูญเสียสวนป่าพร้อมกัน 4 ล้านไร่
5.การโค่นยางพารา 4 ล้านไร่ ไม่ใช่หลักประกันว่าผลผลิตจะล้นหรือไม่ล้นตลาดและราคายางจะขึ้นหรือลง
6.การโค่นยางพารามีค่าใช้จ่ายสูงทั้งจัดกำลังและการปลูกทดแทนและหมายถึงมีเป้าหมายการคอรัปชั่นในการใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่าไร่ละ 5,000 บาท × 4 ล้าน = 2 หมื่นล้าน หรือเท่ากับงบ อบต.หนึ่งพันแห่งในหนึ่งปี
7.วิธีการแบบนี้ไม่มีประเทศใดในโลกเขาทำกัน เพราะมีแต่สูญเสีย ทั้งเศรษฐกิจสังคมสิ่งแวดล้อม
8.การไม่โค่นต้นยางพาราไม่ได้ทำให้ประเทศสูญเสียที่ดินแต่อย่างใด..เพราะอย่างไรมันก็เป็นแดนดินไทยและคนไทยเป็นเจ้าของทุกประการ

พร้อมกับเสนอแนะรัฐบาลว่า
1.ประกาศหาเจ้าของทุกแปลงแล้วจัดการให้ขออนุญาตใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมาย
2.สร้างเงื่อนไขในการอนุญาตว่าต้องลดจำนวนต้นยางพาราลงเพื่อปลูกต้นไม้ป่าแทรกในอัตรารวม 100 ต้น/ไร่ จะหนาแน่นเหมือนป่าสมบูรณ์
3.ให้ต้นไม้เป็นของคนปลูก ที่ดินเป็นของรัฐ จ่ายค่าเช่าที่ในอัตราสูงขึ้นเมื่อเกิน 25 ไร่
4.สร้างเงื่อนไขในการยึดคืนและลงโทษถ้าฝืนกฎที่ตกลง
5.แยกแยะผลผลิตระหว่างผลผลิตจากที่ดินกรรมสิทธิ์ให้ชัดเจนด้วยข้อมูลจริง
6.การรักษาสภาพนิเวศให้เสถียรโดยการให้ตัดโค่นต้นไม้และต้นยางพาราได้แต่ต้องคงไว้ไม่น้อยกว่า 25 ต้น/ไร่ ตลอดไป
วิธีการนี้จะรักษาสังคมเศรษฐกิจและสร้างป่าโดยรัฐไม่ต้องลงทุนไม่เกิดการคอรัปชั่น
 

พาศา แสดงความคิดเห็นไว้อีกว่า สวนยางพาราถูกต้องตามหลักการสวนป่าทุกประการ เพราะ...
1. การปลูกสร้างสวนป่าฟื้นฟูทดแทนป่าเสื่อมโทรม ต้องเริ่มจากการปลูกไม้เบิกนำโตเร็วเพื่อให้เกิดการเติบโตปกคลุมพื้นดินโดยเร็ว และยางพาราคือพืชเบิกนำโตเร็ว

2.การปลูกสร้างสวนป่าในช่วงเริ่มต้นต้องได้รับการดูแลให้อัตราการรอดตายมาก จึงต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลเบื้องต้นจนเติบใหญ่ สวนยางพาราก็เป็นเช่นนั้น โดยไม่ต้องเปลืองและให้ใครโกงภาษีประชาชน

3.การปลูกสร้างสวนป่าจะต้องเกิดการจ้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชน สวนยางเป็นแหล่งรายได้ตั้งแต่ปลูกจนตัด

4.การสร้างสวนป่าต้องสร้างสำนึกรักต้นไม้และคำนึงถึงการจัดการผลผลิตไม้เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไม้เพื่อวัสดุและเชื้อเพลิง รวมถึงการปลูกทดแทนซึ่งสวนยางพาราก็ตอบโจทย์นี้

5.การปลูกสร้างสวนป่า เมื่อต้นไม้หนาแน่นเกินก็ตัดสางให้ระยะจำนวนพอดี ทั่วโลกยึดเอา 60-120 ต้น/ไร่ ซึ่งสวนยางพารา มีจำนวน 60-80 ต้นอยู่แล้วจึงเหมาะและไม่ต้องตัดสาง

6.การสร้างสวนป่าปลายทางคือการตัดไม้เพื่อการค้า สร้างรายได้ เมื่อถึงเวลาหรือโตเต็มที่สวนยางพาราก็ใช่อีก

7.สวนป่า รัฐทำเองโดยกรมป่าไม้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) และเคยส่งเสริมให้ประชาชนปลูกในพื้นที่ต่างๆ เพื่อวัตถุประสงค์การใช้ไม้และฟื้นฟูระบบนิเวศ แม้นแต่การส่งเสริมรายใหญ่เช่าป่าปลูกยูคาก็มี และที่สำคัญรัฐออกมติครม.ให้ ออป.ปลูกป่าในป่าสงวนแล้วตัดเพื่อการค้า.และยังโค่นไม้มีค่าหันมาปลูกยางพาราแทน เพื่อฟื้นฟูป่าด้วยหลักหลายแสนไร่ ซึ่งคือสวนยางพาราเหมือนกัน

8.สวนยางพาราประเทศอื่นสามารถนับเป็นป่าแบบป่าปลูก แต่ประเทศไทยไม่นับ แม้สวนยางพาราจะสร้างเศรษฐกิจ รายได้หล่อเลี้ยงชาติมาเป็นศตวรรษเป็นป่าเศรษฐกิจที่ดีที่สุดและรัฐไม่ต้องลงทุน


- advertisement -



“ผมจึงยืนยันว่า สวนยางพาราคือสวนป่าตามหลักวิชาการ เป็นป่าเศรษฐกิจ และมีพัฒนาการเป็นป่าสมบูรณ์หลากหลายทางชีวภาพสามารถเก็บกักคาร์บอนได้ดีกว่าป่าธรรมชาติทุกประเภทของไทย จากพื้นดินโล้นแล้งจากพืชเชิงเดี่ยว ด้วยการสร้างป่ายางพาราอย่างยั่งยืน ที่ชาวธนาคารต้นไม้ได้ทำเป็นตัวอย่างจำนวนมาก” เขาแสดงจุดยืน

ที่มา : พงศา ชูแนม ข้าราชการหัวใจประชาชน

เพิ่มเพื่อน
- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม