ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

โรงยางเครปขนาดเล็ก ทำอย่างไรจะอยู่รอด

หากจะพูดว่าธุรกิจยางเครปกำลังได้รับความนิยมมากที่สุดในภาคอีสานคงไม่ผิด เพราะการทำยางเครป ดูเหมือนว่าจะเป็นการแปรรูปยางพาราที่สอดคล้องกับการทำยางก้อนถ้วยของพี่น้องชาวสวนยางมากที่สุด

กอปรกับโรงงานยางก็หันมารับซื้อยางเครปมากขึ้น เพราะยางเครป คือ ยางที่ผ่านการทำความสะอาด บด และรีดเป็นแผ่น ช่วยลดขั้นตอนการผลิตยางแท่ง STR 20 ได้ดี ซึ่งเป็นยางที่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมล้อยาง

ที่สำคัญการทำธุรกิจยางเครปไม่จำเป็นต้องสร้างเป็นโรงงานขนาดใหญ่เหมือนกับการแปรรูปยางประเภทอื่นๆ เครื่องจักรก็ราคาไม่แพง สามารถลงทุนและได้ผลกำไรคืนรวดเร็วกว่า
นายทศวรรษ เทพรักษ์
สอดคล้องกับแนวคิดของ นายทศวรรษ เทพรักษ์ เจ้าของโรงยางเครปใน อ.สังคม จ.หนองคาย แม้จะเป็นโรงเครปขนาดเล็ก แต่เป็นความใฝ่ฝันที่ยิ่งใหญ่ของอดีตลูกจ้างที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ 

ผมเองเคยทำงานในโรงเครปมาก่อน ก็เก็บประสบการณ์ตรงนั้นมาใช้ และได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ (ประธาน สังหาญ โรงยางเครปยางทอง)  เพราะผมฝันมานานแล้วว่าอยากมีโรงเครปเป็นของตัวเอง เราได้เห็นการทำงาน การขาย การตลาดมันไปได้แน่นอน ภาคอีสานเองชาวสวนยางก็นิยมทำยางก้อนถ้วย โรงงานรับซื้อยางเครปมากขึ้น ดูสถานการณ์ก็อื้ออำนวยกันในหลายๆ ฉะนั้น เริ่มก่อนได้เปรียบ

เขาเริ่มต้นธุรกิจด้วยการลงทุนเครื่องรีดเครป TSP ระบบเครื่องยนต์ดีเซล 1 เครื่อง กำลังการผลิต 1.5 ตัน/ชั่วโมง ข้อดีคือ ไม่ต้องลงทุนระบบไฟฟ้า สามารถทำได้ในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง
เครื่องรีดยางเครป ระบบเครื่องยนต์ดีเซล เครื่องใหญ่กำลังการผลิตสูง 
นอกจากเครื่องจักรแล้ว หัวใจสำคัญของธุรกิจนี้คือ การเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาผลิต นายทศวรรษ เลือกที่จะรับซื้อยางก้อนถ้วยจากเกษตรกรในพื้นที่ อ.สังคมเป็นหลัก และ อ.ใกล้เคียงบ้าง โดยเลือกยางที่สะอาด ไม่มีน้ำปนมาก รีดแล้วมีเปอร์เซ็นต์ยางสูง ทำให้มีกำไร และซื้อยางตามกำลังการผลิต 3-4 ตัน/วัน

นายทศวรรษให้ข้อมูลว่า แม้ปัจจุบันราคายางพาราจะไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน แต่การนำยางก้อนถ้วยมารีดเครปขายจะได้ส่วนต่างมากขึ้น ซึ่งขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเรื่องแรงงานที่ต้องหันมาจ้างรีดคิดราคา 250 บาท/ตัน วันหนึ่งๆ รีดได้ 4 ตัน ค่าจ้างรีดจึงอยู่ที่ 1,000 บาท หากจ้างคนงาน 2 คน ก็ได้คนละ 500 บาท เป็นต้น
เครื่องจักรสมรรถนะสูง ลูกรีดกินยางดี ไม่เปลืองแรง
ยางเครปที่ผลิตได้จะส่งขายโรงงานวงษ์บัณฑิต จ.อุดรธานี ส่งไปขายท่าเรือเชียงแสน จ. เชียงราย เป็นหลัก เจ้าตัวก็ยอมรับว่าการนำยางไปขายไกลๆ ก็เป็นต้นทุนที่สำคัญอย่างหนึ่ง ดังนั้นการเลือกสถานที่ตั้งโรงเครปให้อยู่ในพื้นที่ปลูกยาง เพื่อให้เกษตรกรนำมาจำหน่ายสะดวก และโรงเครปเองก็ขนไปโรงงานสะดวกจึงจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางแม้ว่าจะมีบริษัทรับจ้างขนส่งอยู่แล้วก็ตาม

อีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญก็คือการเลือกใช้เครื่องรีดเครปที่แข็งแรงทนทาน เขาเลือกใช้ เครื่องรีดยางเครป TSP ระบบเครื่องยนต์ดีเซล เพราะไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ขณะที่ตัวสมรรถนะเครื่อง รีดยางได้ดี  ขนาดลูกรีดใหญ่ 16 นิ้ว แม้จะเป็นระบบเครื่องยนต์ แต่ลูกรีดกินยางดี ไม่ต้องใช้แรงกด รีดได้เร็วและยางสะอาด 
รีดยางเครปได้คุณภาพดีเปอร์เซ็นต์ยางสูง
ในอนาคตทศวรรษวางแผนไว้ว่าอาจจะต้องใช้เครื่องรีดเครปถึง 3 เครื่องเพื่อทำไลน์ผลิตให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้เป็น 6-7 ตัน/วัน ซึ่งผลดีของการผลิตยางเครปได้ปริมาณมากและรวดเร็วนั้นเท่ากับว่าสามารถรวบรวมยางไปขายได้เร็วขึ้น มีทุนหมุนเวียนมากขึ้น จึงมีรายได้เพิ่มขึ้นไปด้วยนั่นเอง
  
ขอขอบคุณ
ทศวรรษ เทพรักษ์
62 ม.1 ต.นางิ้ว อ.สังคม จ.หนองคาย
โทร. 09-5280-1918
ประธาร สังหาร โทร. 08-3843-1999


- Advertisement -


- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม