ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กยท. ปัดข่าว ดึงซีพี – เบียร์ช้าง ลงทุนซื้อขายยาง พร้อมแถลงแนวทางการแก้ไขปัญหายาง เน้นสนับสนุนความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกร

กยท.ชี้แจงประเด็นข่าว เรื่อง “ดึงซีพี-ไทพเบฟ ร่วมค้ายาง กยท. ดอดเจรจาลังหลังปิดดีล บริษัทร่วมทุน 5 เสือ” ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ (26 เมษายน 2561) ในเนื้อข่าวบอกว่า ผู้บริหาร กยท.ได้พบปะกับที่ปรึกษาเครือบริษัท ซีพี และ บริษัทเทอราโกร ในเครือเบียร์ช้าง เพื่อร่วมลงทุนซื้อขายยางพารา โดยทาง กยท.ชี้แจงว่าตามเนื้อข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริงตามที่นำเสนอ

ด้านการแก้ปัญหาราคายางพารา นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย แถลง วิธีการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมา เป็นเพียงการยกระดับราคาได้ในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งอาจเป็นเพราะติดหล่ม “กับดักทางความคิด” เพราะนอกจากการแก้ปัญหาเรื่องราคายางแล้ว การส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเข้มแข็งเป็นเรื่องสำคัญ โดยการผลักดันให้เกิดการพัฒนาตนเองจากการทำอุตสาหกรรมเกษตรต้นน้ำ(Upstream) สู่การแปรรูปผลผลิตยางพาราเป็นอุตสาหกรรมเกษตรกลางน้ำ(Midstream) ด้วยการแปรรูปเป็นยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางคอมปาวด์ และน้ำยางข้น เกิดเป็นการเพิ่มมูลค่าที่ทำให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
- Advertisement - 

โดย กยท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งผลักดันและสนับสนุนเกษตรกร โดยการจัดหาปัจจัยในด้านการผลิตและแปรรูป ได้แก่ เงินลงทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้เกษตรกรและสภาบันเกษตรกรชาวสวนยางนำไปจัดหาเครื่องจักรกล นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ผ่านการฝึกอบรมเพื่อสร้างทักษะความชำนาญ การบริหารจัดการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับสถาบันเกษตรกร

ในขณะเดียวกัน กยท. ได้วางแนวทางในการดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทร่วมค้า (Joint Trading Company) ร่วมกับสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง โดยรวบรวมยางพารา (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ยางคอมปาวด์และน้ำยางข้น ฯลฯ) จากสถาบันเกษตรกรฯ เพื่อจำหน่ายให้กับผู้ค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
เมื่อสถาบันเกษตรกรฯ มีความพร้อมมากขึ้น ทั้งด้านเงินทุน ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการบริหารจัดการโรงงานในด้านต่างๆ ก็จะสามารถต่อยอดสู่อุตสาหกรรมยางปลายน้ำ(Downstream) โดย กยท. จะนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์ยางในระดับอุตสาหกรรมให้แก่สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เช่น หมอน/ที่นอนยางพารา ถุงมือ/ถุงเท้ายาง ของใช้ในครัวเรือน เครื่องมือการแพทย์ ยางล้อรถยนต์ ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้อยู่ในความต้องการของผู้ใช้ทั่วโลกถึง 7-8 พันล้านคน

ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ผลิตและส่งออกน้ำยาง โดยมีปริมาณประมาณ 1.2 แสนตันต่อปี ทั้งนี้ มูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ยางที่แปรรูปจะมีมูลค่าสูงกว่ายางพาราที่เป็นวัตถุดิบ และยางพาราที่แปรรูปในเบื้องต้นหลายสิบหลายร้อยเท่า

เมื่อยางพาราที่เป็นวัตถุดิบถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มมากขึ้น ยางดิบในท้องตลาดก็จะมีปริมาณลดลง รวมถึงมีการส่งออกในลักษณะยางดิบน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้ราคายางพาราในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นและมีการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้น ชาวสวนยางก็จะมั่งคั่งร่ำรวย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อุตสาหกรรมยาง/ผลิตภัณฑ์เกษตรอื่นๆ ของประเทศก็จะเจริญรุ่งเรือง เศรษฐกิจของประเทศก็จะเติบโตอย่างมั่นคง


- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม