ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ใช้รถรุ่นนี้ควรรู้…!!! Toyota 5FD30 (ตอนที่ 1)


ใครใช้รถโฟล์คลิฟท์รุ่น Toyota 5FD30 เรามาทำความรู้จักซื้อชิ้นส่วนของอุปกรณ์และหน้าที่การทำงานรวมถึงสัญญาลักษณ์บนหน้าปัดกัน

รถคันนี้ยี่ห้อ Toyota รุ่น 5 เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 1984 จนถึงปี 1992 แต่ยังคงเป็นที่นิยมแพร่หลายและได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน เหตุผลหลายอย่างที่หลายคนเลือกใช้และหาไว้ครอบครองคือ ตัวรถอึดและทนอะไหล่หาง่ายมากๆ เพราะเป็นรถที่ผลิตมานานแล้วมีตัดแยกชิ้นส่วนขายกันมากมาย ไม่ว่าจะหาชิ้นส่วนไหนเมื่อยามต้องซ่อมแซม

อีกทั้งราคาก็ไม่แพงตัวรถหากเดิมๆ สแตนดาร์ดท้องตลาดราคาก็ตกตันละแสน 2 ตันก็สองแสนสามตันก็สามแสนเป็นต้นหากมีอุปกรณ์พิเศษก็อีกราคา

ส่วนข้อเสียพอมี เช่น อย่าปล่อยให้น้ำมันเกียร์หรือน้ำมันเฟืองท้ายขาดหรือต่ำกว่าระดับอาการที่ชำรุดทั่วๆ ไปของรถรุ่นนี้คือ เกียร์จะเด้งกลับคืนมาตำแหน่งเกียร์ว่างเองเกียร์หลุดว่างั้นเถอะ. อย่างอื่นไม่มีปัญหาใช้ลืมจริงๆรุ่นนี้ 
เนมเพลทของรถรุ่นนี้บอกอะไรเราบ้าง
━━━━━━━━━━━
5FD30-XXXXXX
5 = ผลิตมาเป็นรุ่นที่ 5 โดยเริ่มจากรุ่น 1 เรียงมาเรื่อยๆ จนรุ่นปัจจุบันที่วางจำหน่ายเป็นรถป้ายแดงคือ รุ่น 8
F = Forklift
D = ดีเซลใช้น้ำมันดีเชล
30 = ยกน้ำหนักได้สูงสุดที่ 3,000 กิโลกรัมหรือ 3 ตัน
XXXXXX = ลำดับหมายเลขตัวรถที่ผลิตตัวนี้มีความสำคัญตรงที่การเบิกอะไหล่หรือสั่งซื้ออะไหล่บางครั้งจำเป็นต้องแจ้งลำดับเลขตัวนี้ด้วย เพราะว่าตัวเลขที่มากขึ้นอาจมีการปรับเปลี่ยนอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่สวยงามคงทนกว่ามาใช้หรือให้อุปกรณ์บางอย่างที่ดีกว่ารุ่นแรกๆ ที่ผลิตคล้ายกับรถยนต์เหมือนกัน


 สวิตซ์กุญแจ
━━━━━━━━━━━
จะเป็นอุปกรณ์ตัวแรกที่เราสัมผัสเมื่อใช้รถหรือขึ้นนั่งบนเบาะคนขับเมื่อจะใช้รถจะมีตำแหน่งการทำงาน 4 จังหวะคือ ถ้าบิดมาด้านซ้ายสุดได้เพื่อเผาหัวเครื่องยนต์ก่อนสตาร์ท (สำหรับบางคันแล้วแต่เครื่องยนต์) แจ้งในหมายเหตุ

ตำแหน่งแรก –OFF ปิดระบบไฟทุกอย่างยกเว้นแตรและไฟหน้าไฟส่องสว่าง
บิดครั้งเดียว –ON เปิดไฟฟ้าเข้าระบบจ่ายไฟไฟหน้าปัดทั้งหมดจะโชว์สีแดง
บิดครั้งที่ 2-Start คือบิดสตาร์ทเพื่อติดเครื่องยนต์
ตำแหน่งนี้บางคันบางรุ่นจะมีระบบเผาหัวเครื่องยนต์ไปพร้อมกับสตาร์ทเครื่องยนต์
เมื่อเครื่องยนต์ติดปล่อยมือกลับมาตำแหน่งที่สองเหมือนรถยนต์ที่เราใช้ทั่วๆ ไป

หมายเหตุ
เครื่องยนต์บางรุ่นที่ติดตั้งมา
บางครั้งสวิตซ์กุญแจสามารถบิดมาทางซ้ายมือได้อีกตำแหน่งเพื่อเผาหัวเครื่องยนต์ก่อนบิดสวิทซ์กุญแจเพื่อสตาร์ทติดเครื่องยนต์นั่นจะเป็นรุ่นที่ใช้หัวเผาแบบจุ่มไปที่ห้องเผาไหม้ แต่รุ่น 5 นี้จะเผาแบบอุ่นอากาศ
  
หน้าปัดหรือหน้าจอมิเตอร์จอแสดงผลบนหน้าปัด
━━━━━━━━━━━
เมื่อเปิดสวิตซ์กุซอยตำแหน่ง ON สังเกตไปที่เป็นสีแดงจะสว่างทุกดวงและจะดับทุกดวงเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วหากมีดวงใดดวงหนึ่งยังสว่างแสดงว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น


หากเป็นไฟสีเหลืองจะเป็นไฟเตือนมีรูปและสัญญาลักษณ์ที่ควรรู้ดังนี้

 สัญลักษณ์ตัวแรก
━━━━━━━━━━━
ตัวบนซ้ายมือสุดคือจอแสดงผลชั่วโมงการทำงาน ของรถคันนั้นๆ ตัวเลขจะขยับขึ้นไปเรื่อยๆ เมื่อเราเปิดสวิตซ์กุญแจไม่ว่าจะติดเครื่องยนต์หรือเปล่า ตัวเลขสีขาวจะเป็นนาที ตัวเลขสีดำ จะเป็นจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานไปแล้ว ด้านล่างสุดจะเป็นไฟกระพริบและรูปนาฬิกาทรายแถบขาวแดงหมุนได้เตือนว่าเราเปิดสวิตซ์กุญแจไว้แล้วกันเราลืมไฟจะหมดแบตเตอรี

สัญลักษณ์ตัวที่ 2 
━━━━━━━━━━━
รูปลูกศรมีเส้นประขวาง แสดงเตือนกรองอากาศตัน เมื่อเปิดสวิตซ์กุแจแถมจะแดงขึ้นมาและดับลงเมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วถ้าแดงค้างตลอดแสดงว่ากรองอากาศตันเราแก้ไขโดยถอดกรองอากาศไปเป่าฝุ่นละอองออกหรือเปลี่ยนใหม่ถ้าหมดอายุ

สัญญาลักษณ์ตัวที่ 3
รูปหยดน้ำตรงกลางลูกศรอัดซ้าย-ขวา แสดงสัญญาลักษณ์แรงดันน้ำมันเครื่องยนต์

ในก้นแคร้งก้นอ่างว่ามีแรงดันพอไหมโดยปกติเราจะดูระดับน้ำมันในก้นอ่างควบคู่กันไปกับไม้วัดน้ำมันเครื่องยนต์ที่ข้างเครื่องยนต์ถ้าต่ำกว่าขีดไม้วัดตัวสัญญาลักษณ์สีแดงนี้จะโชว์ขึ้นมา
เราแก้ไขโดยเติมน้ำมันเครื่องยนต์เพิ่มเข้าไปให้ได้ตามขีดบน

แต่ถ้ายังติดโชว์อยู่ให้หาจุดรอยรั่วชึมของทางเดินน้ำมันหรืออาจเกิดจากปั้มน้ำมันเครื่องยนต์เองผิดปกติเกจ์วัดแรงดันผิดปกติหรือชำรุดเสียเอง

สังเกตง่ายๆ ว่ามีแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์มาเลี้ยงระบบหรือไม่ให้ค่อยๆเปิดฝาที่เติมน้ำมันเครื่องยนต์ออกดูในขณะที่ติดเครื่องยนต์อยู่ถ้ามีการกระเด็นหรือวิสาดของน้ำมันเครื่องยนต์บนฝาวาล์วตามปกติแสดงว่าจุดที่จะผิดปกติคือสวิตซ์วัดแรงดันน้ำมันเครื่องยนต์

 สัญลักษณ์ตัวที่ 4
━━━━━━━━━━━
รูปสีเหลี่ยมมีสัญญาลักษณ์เครื่องหมายบวกและลบ คือสัญลักษณ์เตือนไฟชาร์ตเพื่อชาร์ตไฟเข้าหม้อแบตเตอรี

ถ้าเครื่องยนต์ติดแล้วไฟดวงนี้ต้องดับถ้ายังสว่างติดอยู่แสดงว่าไฟไม่ชาร์ตเข้าหม้อแบตเตอรี่หรืออาจมีสายไฟขาดชำรุดทำให้ไฟไม่ชาร์ตสังเกตง่ายๆ ว่าไฟชาร์ตหรือไม่ โดยติดเครื่องยนต์และเร่งเครื่องยนต์สักรอบเครื่องยนต์ปานกลางถอดขั้วบวกของแบตเตอรี่ออกยกขึ้นจากแบตเตอรี่ ถ้าเครื่องยนต์ยังติดได้ระบบไหชาร์ตเรายังดี


ถ้าเครื่องยนต์ดับอาจแสดงว่าไฟไม่ชาร์ตไดชาร์ตไฟรถเราเสียหรืออาจมีสายไฟขาดในชำรุด
บางครั้งการล้างรถหรือจอดรถใช้รถตากฝนน้ำเข้าไปเปียกสายไฟอาจทำให้ไฟรูปนี้โชว์ขึ้นได้อย่าเพิ่งตกใจ

สัญลักษณ์ตัวที่ 5
━━━━━━━━━━━
รูปหนวดกุ้งขดๆ แสดงการทำงานของระบบเผาหัวก่อนสตาร์ท เครื่องยนต์เมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์จะเผาไปสตาร์ทไปพร้อมๆ กันซึ่งรุ่นนี้จะเป็นเผาอากาศให้ร้อนก่อนถูกดูดเข้าห้องเผาไหม้เพื่อติดเครื่อง

สัญลักษณ์ตัวที่ 6
━━━━━━━━━━━
รูปวงรีมีทางเข้าออกสองทางมีรูปคลื่นน้ำตรงกลาง รูปแสดงเตือนน้ำในกรองโซล่า

ถ้าไฟนี้โชว์ขึ้นแสดงว่าในระบบเชื้อเพลิงเรามีน้ำปนมากับน้ำมันอาจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะเวลาหรือจำนวนน้ำในระบบ แต่จะมีตัวเดรนน้ำที่ใต้บริเวณกรองโซล่าเป็นหางปลาสีขาวๆให้เราเกลียวนั้นออกและกดแย๊กด้านบนของกรองโซล่าเพื่อไล่น้ำเดินน้ำออกและให้เราสังเกตสีและกลิ่นของน้ำมันโซล่าที่ไหลออกมาด้วยว่ามีน้ำปนมามากใหม่ มีกลิ่นปกติของน้ำมันโซล่าไหม มีสีใสๆ ออกจะสีทองนิดๆของน้ำมันโซล่าหรือเปล่า ถ้ามีสีขุ่นขาวๆ ออกมาเหมือนสีนมหรือสีข้นดำไปจากน้ำมันที่เราเติม ควรถ่ายน้ำมันทิ้งเลยเพราะคราบสกปรกหรือสนิมในถังถูกน้ำมันที่เราเติมไปกวนแกว่งไปมาขณะเราวิ่งใช้รถจนเกิดสีและกลิ่นที่ผิดปกติ


สัญลักษณ์ตัวที่ 7
━━━━━━━━━━━
เกจ์วัดความร้อน แสดงเป็นเกจ์วัดความร้อนสะสมของเครื่องยนต์

ด้านซ้ายมือสุดคือเครื่องยนต์เย็นปรอทยังไม่ขยับขึ้นตรงกลาง คือเครื่องยนต์เริ่มร้อนตำแหน่งนี้คือความร้อนปกติของการทำงานของเครื่องยนต์ทั่วไป ด้านขวาสุดมีขีดแดงปรอทขับขึ้นจนขีดบน แสดงถึงเครื่องยนต์ร้อนสะสมผิดปกติ ควรหยุดใช้งานรถทันที ปล่อยให้เครื่องยนต์เย็นลงก่อนค่อยหาสาเหตุ เช่นเปิดฝาหม้อน้ำดูระดับน้ำต้องเสมอฝาหม้อน้ำเช็คความตึงสายพาน เช็คใบพัดลมครีบอยู่ครบไหมหักหรือแตกไปบ้างหรือเปล่า


เช็ครังผึ้งหม้อน้ำมีตันหรือระบายลมได้ดีไหมเราไปยืนที่ตูดรถโฟล์คลิฟท์จะมีช่องลมร้อนออกมาตรงตูดรถถ้าใบพัดลมหรือรังผึ้งตีบตันสังเกตง่ายๆ แรงลมจากช่องนี้จะออกมาเบามาพัดน้อยเบาไปความร้อนจะสะสมในน้ำทำให้น้ำในระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์เราร้อนผิดปกติได้

สัญลักษณ์ตัวที่ 8 เกจ์วัดน้ำมันเชื้อเพลิง
━━━━━━━━━━━
แสดงระดับน้ำมันเชื้อเพลิงในถังเก็บ

ด้านช้ายสุด วงกลมๆมีน้ำนิดเดียวน้ำมันเชื้อเพลิงมีน้อย
ด้านขวาสุด วงกลมๆมีน้ำเต็มวงน้ำมันเชื้อเพลิงมีมาก
เข็มจะขึ้นจากด้านซ้ายไปทางขวามือขึ้นมากน้ำมันมีมาก
กรณีเผลอลืมใช้รถจนน้ำมันหมดและเครื่องยนต์สะดุดและดับลงไม่ต้องตกใให้เราสังเกตจะมีตัวแย๊กปั้มน้ำมันให้เข้าสู่ท่อทางเดินจนเต็มและมีน็อตไล่ลมโดยกดตัวแย๊กไล่ลมจนเริ่มแข็งสู้มือเราพร้อมกับคลายน็อตออกเพื่อไล่ลมสังเกตขณะคลายจะมีทั้งน้ำมันและฟองลมปนกันออกมาเราต้องกดแย๊กไปเรื่อยๆจนกว่าลมหมดจะมีน้ำมันโซล่าออกมาอย่างเดียวและอย่าลืมคลายน็อตเดรนน้ำที่ใต้กรองโซล่าด้วยเพื่อไล่สิ่งสกปรกที่ดูดมาจากก้นถังติดเข้ามาตอนน้ำมันในถังหมด


พวงมาลัยบังคับเลี้ยวและปุ่มจับมือหมุนพวงมาลัย
━━━━━━━━━━━
ทำหน้าที่หักเลี้ยว
รถโฟล์คลิฟท์จะมีพวงมาลัยบังคับเลี้ยวเหมือนรถยนต์ทั่วๆไปต่างกันตรงที่จะหักเลี้ยวที่ด้านล้อหลังส่วนรถยนต์ที่เราใช้เมื่อหมุนพวงมาลัยจะหักเลี้ยวจากล้อหน้า จึงมีปุ่มนี้ไว้เพื่อให้เราใช้แค่มือซ้ายซึ่งอาจไม่ใช่มือที่ถนัดใช้งานของใครหลายๆ คนแต่ไม่ต้องห่วงพวงมาลัยมีระบบเพาเวอร์แล้วเบามากรอบทดอาจมีมากเมื่อต้องการตีวงเลี้ยวจนสุดจะรู้ว่าปุ่มนี้จำเป็นจริงๆจะคล่องตัวกว่ากันเยอะเมื่อเราใช้งานจริง


คันโยกระบบไฮดรอลิก
━━━━━━━━━━━
รถสแตนดาร์ดจะมีแค่ 2 คันโยกหากมีมากกว่าตัวที่เกินมาจะทำงานดังนี้
คันโยกบังคับระบบไฮดรอลิกตัวที่ 3
สำหรับควบคุมอุปกรณ์พิเศษที่ติดตั้งมาเพิ่มเติมจะอยู่ตำแหน่งที่3หรือ4จากพวงมาลัย


คันโยกบังคับระบบไฮดรอลิกตัวที่ 2
━━━━━━━━━━━
ก้านนี้จะควบคุมการพลักเสาเข้าเมื่อดึงเข้าหาตัวเรา
ผลักเสาออกเมื่อเราดันคันโยกไปด้านหน้าเราทำงานได้ข้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเราเร่งรอบเครื่องยนต์มากหรือน้อยและจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วพลักมากเปิดน้ำมันมากทำงานได้เร็วzลักหรือดึงน้อยๆวาล์ว เปิดน้อยเสาก็จะเข้าออกจะเดิมแบบช้าๆ สัญญาลักที่คันโยกจะเป็นรูปงาเอียงขึ้นและปลายงาเอียงลง


คันโยกบังคับระบบไฮดรอลิกตัวที่ 1
━━━━━━━━━━━
คันโยกตัวนี้จะอยู่ใกล้มือเราที่สุดเมื่อเรานั่งในตำแหน่งคนขับทำหน้าที่บังคับงาขึ้นและลงเมื่อเราใช้งาน
ดึงเข้าหาตัวเราคือเราต้องการยกงาขึ้นช้าหรือเร็วตามรอบเครื่องยนต์ที่เราเร่งและเราเปิดวาล์วเร่งเครื่องยนต์มากดึงคันโยกเปิดวาล์วมากก็จะขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่จะกลับกันขณะปล่อยลงจะลงตัวยกน้ำหนักที่กดทับบนงาเอง
คือถ้ามีน้ำหนักมากเปิดวาล์วมากการลงจะเร็วมากจะไม่มีผลต่อการเร่งรอบของเครื่องยนต์เพราะกระบอกน้ำมันที่ดันยกงาจะมีน้ำมันไปเลี้ยงทางเดียวคือด้านล่างส่วนด้านบนของกระบอกยกงานจะมีแค่สายน้ำมันไหลกลับเพื่อระบายลมและให้น้ำมันให้คืนสู่ถังหากมีการรั่วซึมเล็กน้อย
รูปสัญญาลักษณ์จะเป็นรูปงายกขึ้นและรูปงาลงตามลูกศร


คันเข้าเกียร์เดินหน้า-ถอยหลัง
━━━━━━━━━━━
ก้านที่อยู่ด้านนอกจะเป็นคันเกียร์เดินหน้า-เกียร์ถอยหลัง
ตำแหน่งจะมี 3 จังหวะ
ตำแหน่งกลาง = เกียร์ว่าง
ตำแหน่งบน = เราดันไปหน้ารถคือตำแหน่งเกียร์เดินหน้า
ตำแหน่งล่าง = เมื่อเราดึงเข้าหาตัวเราคือตำแหน่งเกียร์ถอยหลังและส่วนใหญ่เกียร์ถอยหลังจะมีเสียงเตือนดังแป๊ดๆเมื่อเราขับรถถอยหลังเหตุเพราะว่าการใช้งานจริงๆของรถโฟล์คลิฟท์ส่วนใหญ่จะขับเคลื่อนไหวถอยหลังมากกว่าเดินหน้าเพราะเวลาตักสินค้าหรือสิ่งของๆเหล่านั้นจะสูงหรือบังเส้นทางวิ่งทำให้ไม่สะดวกและอันตราย


หากสิ่งของที่เราตักบังสายตาเราขณะวิ่งเดินหน้าเพื่อไปวางให้ขับรถถอยหลังใช้งานจะสะดวกและปลอดภัยกว่า

คันเข้าเกียร์หนึ่งและเกียร์สอง
━━━━━━━━━━━
จะมี 3 ตำแหน่งเช่นกัน
ตำแหน่งกลาง = เกียร์ว่าง
ตำแหน่งดันไปด้านบน = ผลักไปข้างหน้ารถเกียร์ 1 จะวิ่งได้แบบช้าๆ ใช้เมื่อเราออกตัวรถขับเคลื่อนรถในที่แคบๆ ทางวิ่งที่จำกัดหรือเคลื่อนรถเข้าตักสินค้า บรรทุกสินค้าอยู่ในงา ขึ้นทางลาดชันลงทางลาดชันใช้เกียร์นี้แบบเดียวกับรถยนต์ที่เราขับ
ตำแหน่งดึงมาด้านล่าง = ดึงคันเกียร์เข้าหาตัวเราคือเกียร์ 2 เกียร์นี้ใช้เมื่อความเร็วรอบเครื่องยนต์เหมาะสมกับการหมุนของล้อหน้า คือถ้าเราวิ่งรถตัวเปล่าไม่ได้บรรทุกสิ่งของเมื่อขับเคลื่อนรถไประยะหนึ่งหากเราถอนคันเร่งแล้วรู้สึกว่ารถกระตุกไม่ไปต่อล้อหน้ารถเราดึงรอบเครื่องยนต์นั้นแสดงว่าเราต้องเปลี่ยนเกียร์มาเป็นเกียร์สองแล้ว
วิธิสังเกตง่ายๆ รถโฟล์คลิฟท์จะมีแค่สองเกียร์หากเราใช้แค่เกียร์1หรือ2ตลอดจะมีผลต่อการสึกหรอควรใช้เกียร์ให้ถูก เพราะรถเราจะแบกน้ำหนักตลอดเมื่อใช้งานหรือต้องหักเลี้ยวในที่แคบๆ เสมอ
วิธีสังเกตง่ายๆ ขณะใช้งาน ถ้าเราเลี้ยวรถหรือตักสิ่งของเดินหน้าหรือถอยหลังเครื่องยนต์ดูเหมือนไม่มีแรงมีควันดำๆ ออกมาจากท่อไอเสียมากนั้นแสดงว่าขณะนั้นเราควรใช้เกียร์ 1 เพราะส่วนใหญ่คนต้องการความเร็วขณะวิ่งใช้งานจึงไม่อยากใช้เกียร์ 1 จึงทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและระบบเกียร์สึกหรอเร็วเราจึงเอาข้อนี้มาเขียนเตือน


แป้นเหยียบคลัทซ์
━━━━━━━━━━━
สังเกตถ้าเราขึ้นนั่งบนเบาะแล้วแป้นนี้จะอยู่ซ้ายมือสุดของเรา แป้นกลางเบรค แป้นขวามือสุดคือแป้นคันเร่ง แป้นกดคลัทซ์ทำหน้าที่เหมือนของรถยนต์เราคือตัดกำลังระหว่างเครื่องยนต์กับเกียร์ให้หยุดหรือช้าลงขณะเราต้องการเปลี่ยนเกียร์หรือต้องการเข้าเกียร์ จะมีข้อพิเศษที่อยากแนะนำคือ แป้นนี้จะต้องมีการตั้งระยะฟรีซึ่งประมาณ 10-15 มิล ถ้าตึงไปหรือกดเลยขณะใช้งานบางครั้งเราคาเท้าไว้บนแป้นเหยียบตลอดเวลารถกระแทกเท้าเราอาจจะกดบนแป้นทำให้คลัทซ์จับๆ จากๆ จะเพิ่มการสึกหรอของแผ่นคลัทซ์เร็วขึ้น เพราะต่างจากรถยนต์ส่วนใหญ่เมื่อเราเปลี่ยนเกียร์แล้วเราจะยกเท้าออกจากแป้นไม่คาไว้เพราะเราวิ่งทางยาวๆ แต่รถยกเราวิ่งทางสั้นๆ การวางเท้าคาแป้นคลัทซ์เป็นเรื่องปกติแป้นเหยียบควรต้องมีระยะฟรี

 แป้นกดเพื่อเบรคหรือหยุดรถ
━━━━━━━━━━━
แป้นนี้จะอยู่ตรงตำแหน่งกลางของแป้นทั้งสามทำหน้าที่ห้ามล้อหยุดรถหรือทำให้รถช้าลงตามความต้องการ เช่นกันแป้นนี้ต้องมีระยะฟรี 10-15 มิลลิเมตรเช่นกันก่อนกดแป้นแล้วเบรกทำงาน

แป้นคันเร่ง
━━━━━━━━━━━
แป้นนี้ทำหน้าที่ควบคุมความเร็วรอบเครื่องยนต์กดมาเครื่องยนต์เร่งเร็วขึ้นถอนแป้นถอนเท้าออกจากแป้นความเร็วรอบเครื่องยนต์ก็จะค่อยๆ ช้าลง

ก้านดึงเปิดฝากระโปรง
━━━━━━━━━━━
ดึงขึ้นพร้อมยกฝากระโปรงจะสามารถเปิดฝากระโปรงเบาะที่เรานั่งเพื่อดูห้องเครื่องยนต์ได้

ก้านเบรคมือ
━━━━━━━━━━━
ดึงเข้าหาตัวเราคือเบรคมือห้ามล้อให้หยุดนิ่งผลักคืนตำแหน่งเดิม คือปลดเบรคมือปุ่มกลางคันกด
มีไว้สำหรับตั้งความตึงของสายเบรคมือขันเข้าเร่งให้สายตึงเบรคมือได้แน่นขึ้นเบรคอยู่มากใช้แรงดึงมาก
คลายเกลียวออกสายเบรคมือหย่อนใช้แรงดึงน้อยเบรคมืออาจไม่อยู่รถไหลได้หากจอดทางชัน
การตั้งแรงตึงสายเบรคมือแรงดึงที่เราใช้ตั้งความตึงสายเบรคมือคือใช้แรงดึง 10-15 กิโลกรัม
เราลองยกของหนัก 10-15 กิโลแล้วลองมาดึงเบรกมือแรงที่ใช้ดึงต้องออกแรงพอๆ กันครับง่ายๆ


กระบอกคว่ำ-หงาย
━━━━━━━━━━━
อุปกรณ์ที่อยากให้เรียกชื่อให้ถูกอีกตัวเพราะเวลาแจ้งซ่อมคุยกันบางท่านเรียกชื่อไม่ได้แกนชัก แกนชักรั่วหรือกระบอกแขนมันยืดออกไม่เท่ากัน ตัวนี้เรียกกระบอกคว่ำ-หงายเสาหรือกระบอกแขนที่หลายๆ ท่านชอบเรียกกัน มีหน้าที่ผลักเสาเข้า-ออกจากตัวรถเวลาเราจะเทหรือวางสิ่งของ จะมีน้ำมันเลี้ยงสองทางทำงานได้ 2 ทางช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วดึงมากก็เร็วเร่งเครื่องยนต์มากก็ทำงานเร็วในทางกลับกัน
เปิดวาล์วน้อยไม่เร่งเครื่องยนต์เลยก็ทำงานช้า ด้านปลายจะมีเกลียวให้ตั้งระยะเพื่อให้กระบอกทั้งสองข้างได้ทำงานยืดออกและหดเข้าได้เท่ากัน


กระบอกยกงา
━━━━━━━━━━━
กระบอกนี้อยู่กับเสายกมีหน้าที่ดันเสาให้เลื่อนขึ้นเมื่อเราดึงคันโยกเข้าหาตัวและปล่อยเสาลงพื้นเมื่อเราดันคันโยกไปด้านหน้ายกขึ้นช้าเร็วใช้แรงดันจะน้ำมันและการเปิดวาล์วเร่งเครื่องยนต์ปล่อยลงใช้น้ำหนักตัวมันเองกดให้หดลงเองช้าเร็วเร่งเครื่องยนต์ไม่มีผลขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วเท่านั้น

มือจับขึ้นและลงจากรถ
━━━━━━━━━━━
สังเกตจะมีแค่ด้านซ้ายเพียงด้านเดียวฝั่งขวามือซึ่งมีคันเกียร์คันโยกไฮดรอลิกจะไม่มีมือจับ
แสดงว่าเราคนขับรถควรขึ้นหรือลงจากตัวรถเพียงฝั่งซ้ายมือด้านเดียวเท่านั้นเพื่อความปลอดภัยไม่เผลอไปโดนคันเข้าเกียร์หรือคันโยกไฮดรอลิกได้ขณะเราติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วขึ้นลงจากรถ


ยางล้อหน้า
━━━━━━━━━━━
จะมีใช้กันทั้งยางลมและยางตันยางลมนิยมใช้ตามพื้นที่ใช้งานซึ่งเป็นดินอ่อนอาจมีการยุบตัวได้หน้าสัมผัสของยางจะยืดหยุ่นตามพื้นดินหรืออีกอย่างลดแรงกระแทกยางลมจะช่วยซับแรงสะเทือนได้มากกว่า
ข้อเสียมีเหมือนกันคือหากใช้งานในพื้นที่ๆมีเหล็กแหลมคมสามารถบาดตำให้ยางรั่วได้แต่เวลาถอดเปลี่ยนยางใหม่จะง่ายกว่าใส่ยางใหม่เติมลมนำไปใส่คืนรถสามารถใช้รถได้เลย
ส่วนยางตันจะนิยมแพร่หลายกว่าเนื่องจากหมดปัญหาเรื่องรั่วซึมของลม แต่ราคาจะแพงกว่าและถอดเปลี่ยนยุ่งยากกว่าสักนิดต้องมีแทนอัดเพื่อให้ยางเก่าหลุดออกจากกระทะและต้องอัดยางเส้นใหม่เพื่อเข้ากับกระทะล้อเช่นเดิม


การดูตำแหน่งว่ายางเราหมดอายุการใช้งานหรือยังจะมีขีดหรือลูกศรบอกไว้เปลี่ยนเมื่อเราใช้งานมาถึงตำแหน่งหน้ายางจะมีตัวเลขบอกขนาดของยางไว้เช่น 28*9-15 หมายถึง แก้มยางกว้าง 28 เซนติเมตร
โตในขอบวงใน 9 นิ้ว โตนอกสุดของขอบยางคือ 15 นิ้ว เวลาเปลี่ยนใหม่เราก็สั่งตามเบอร์ยางนี้

 ยางล้อหลัง
━━━━━━━━━━━
จะเป็นล้อบังคับเลี้ยวจะบิดซ้ายบิดขวาหมุนตามพวงมาลัยตลอดจะสึกหรอเร็วกว่าล้อหน้าซึ่งเป็นล้อตะกุย
ขนาดยางที่ใช้คือ 6.50-10



ฝาเติมน้ำมันเชื้อเพลิง
━━━━━━━━━━━
เติมเฉพาะน้ำมันโซล่าเท่านั้นข้อควรระวังต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่มีการเติมน้ำมันเพื่อความปลอดภัย

บริเวณเปิดดูหม้อน้ำ
━━━━━━━━━━━
เปิดฝาแผ่นนี้ขึ้นมาเพื่อเช็คระดับน้ำซึ่งเราจะกล่าวถึงในลำดับถัดไปบางคันถอดทิ้งเพื่อตะได้ตรวจเช็คน้ำได้ง่ายๆหรือมีอยู่แต่ถอดออกไม่ดีเลยเพราะแผ่นนี้จะเป็นตัวป้องอากาศปิดลมจากการหมุนของใบพัดลมให้เข้าประทะกับหม้อน้ำเพื่อระบายความร้อนออกไป เมื่อถอดออกลมจะหนีขึ้นด้านบนจะสะดวกกว่าวิ่งผ่านหม้อน้ำ อาจเป็นสาเหตุทำให้น้ำในหม้อน้ำเดือดจนล้นออกมาที่หม้อพักได้ ถ้ามีควรใส่ไว้นะครับ

 กล่องฟิวส์
━━━━━━━━━━━
จะมีฟิวส์ตัดระบบไฟฟ้าเมื่อมีการบัดวงจรของสายไฟจะมีตัวหนังสือบอกว่าตำแหน่งนั่นๆ ใช้กับระบบอะไรใช้ฟิวล์กี่แอมป์และควรใช้แอมป์เท่าเดิมเมื่อมีการเปลี่ยนฟิวส์

กรองน้ำมันโซล่า
━━━━━━━━━━━
รุ่นนี้หากเทียบซื้อท้องตลาดสามารถใช้ของรถกระบะไมตี้เอกซ์ได้เลยด้านใต้จะมีตัวเดรนน้ำเป็นน็อตหางปลาด้านบนตัวเสื้อจะมีตัวแย๊กไล่ลม เมื่อถอดเปลี่ยนและใส่คืน ก่อนขันเข้าหน้าแปลนแน่นเราควรแย๊กดึงน้ำมันจากถังมาที่กรองโซล่าจนล้นออกมาเสียก่อนแล้วจึงขันเกลียวจนแน่น เพื่อจะได้ไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์นานเกินไปกว่าน้ำมันจะเต็มกรองหรือจะใช้วิธีกรอกน้ำมันโซล่าให้เต็มกรองลูกใหม่ที่เราเปลี่ยนก่อนก็ได้แล้วจึงขันเข้าไปจนแน่นจะประหยัดเวลาสตาร์ทไม่นานเครื่องยนต์เดินเรียบไม่มีลมในระบบไม่เดินสะดุด หลายท่านตกม้าตายตรงจุดนี้เครื่องยนต์ไม่ติดแบตเตอรี่หมดมอเตอร์สตาร์ทพังเพราะสลดสตาร์ทนานไปเลยเอามาเขียนให้อ่าน

กรองน้ำมันเครื่องยนต์
━━━━━━━━━━━
ใช้ท้องตลาดของไมตี้เอ็กซ์ได้เหมือนกันเมื่อเปลี่ยน

ไม้วัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์
━━━━━━━━━━━
มีขีดบน
มีขีดล่าง
ควรตรวจเติมให้ได้ระดับดังกล่าวไม่ควรเติมเกินหรือเผื่อไว้เพราะจะเกินระดับจะเกิดฟองเล็กๆในเนื้อน้ำมันและเพิ่มแรงฝืดภายในเมื่อเพลาข้อเหวี่ยงไปตีกับน้ำมันที่มากเกินไป


มอเตอร์สตาร์ท
━━━━━━━━━━━
ทำหน้าที่ฉุดเครื่องยนต์ให้หมุนติดในตำแหน่งบิดกุญแจสตาร์ทติดเครื่องยนต์ หากชำรุดก็สามารถซ่อมตามร้านไดนาโมทั่วๆไปได้เลยมีข้อให้ระวังนิด หากแบตเตอรี่อ่อนไม่ควรลากสตาร์ทนานเกินไป ควรพ่วงแบตเตอรี่หรือสลับแบตเตอรี่ที่มีไฟมาใส่เพื่อสตาร์ทติดเครื่องยนต์ยนต์แทน

จุดเติมน้ำมันเครื่องยนต์
━━━━━━━━━━━
หมุนเกลียวเข้าหรืออกได้เมื่อต้องการเปิดปิดน้ำมันเครื่องยนต์ใช้เบอร์ 40 SAE จำนวนที่ใช้ 8 ลิตร
ระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายคือ เปลี่ยนทุกๆ 500 ชั่วโมงหรือทุกๆ 3 เดือนถ้าเราใช้งานต่อเนื่องทั้งวันๆ ละเฉลี่ย 8ชั่วโมง


ใบพัดลม
━━━━━━━━━━━
จะหมุนตามรอบเครื่องยนต์แต่ใบจะเป่าลมออกไปจากเครื่องยนต์ต่างจากรถยนต์ซึ่งดูดลมเข้าหาเครื่องยนต์ เมื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ใบพัดลมจะต้องไม่แอ่นเมื่อตักลมหรือหมุนไม่ไดศูนย์กลางถ้าเป็นแบบที่กล่าวควรเปลี่ยนใบใหม่ทันที เพราะรถโฟล์คลิฟท์ที่เราใช้ความเร็วต่ำจะอาศัยลมภายนอกมาช่วยระบายความร้อนให้หม้อน้ำนั้นยากอีกทั้งหม้อน้ำอยู่ด้านหลังรถด้วย

คอห่านหม้อน้ำด้านบน
━━━━━━━━━━━
ภายในจะมีวาล์วน้ำปิดเปิดน้ำหล่อเย็นเพื่อเลี้ยงระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ตัวท่อยางต้องไม่กรอบมีรอยปริ ตัวคอห่านต้องไม่กร่อนมีน้ำซึม หากเราเผลอใช้จนเพลินน้ำในระบบรั่วหายไปได้จากอาการดังกล่าวเครื่องยนต์เราอาจเสียหายได้ถ้าน้ำแห้ง และควรเติมน้ำยากันน้ำเป็นสนิมหรือน้ำยากันความร้อนในหม้อน้ำด้วยเพื่อลดการกักร่อนชิ้นส่วนพวกอลูมีเนียมและเหล็กต่างๆ

ปั้มน้ำมันโซล่า
━━━━━━━━━━━
ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันตามท่อผ่านหัวฉีดและฉีดเข้าเครื่องยนต์เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดและมีหน้าที่จ่ายน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ยนต์และหยุดจ่ายน้ำมันเมื่อเราบิดสวิตช์กุญแจ OFF ดับเครื่องยนต์เมื่อต้องการจะดับ
จะทำงานจ่ายน้ำมันเมื่อมีไฟมาเลี้ยงโชลินอยด์ตูดปั้มบางครั้งสวิตช์ตูดเสียก็มีสตาร์ทเครื่องยนต์ได้เครื่องยนต์หมุนติ้วแต่รถไม่ติด ให้สังเกตเบื้องต้นว่า


เมื่อเราเปิด ON สวิตช์กุญแจจะมีเสียงทำงานดังติ๊กๆเมื่อเปิด-ปิดกุญแจ ถ้าไม่มีเสียงดังอาจมีสายไฟหลุดหรือหลวมก็เป็นได้หรืออาจลองต่อสายไฟตรงจากแบตเตอร์รี่ไปเลี้ยงตรงว่าทำงานดังติ๊กๆหรือไม่ถ้าไม่สวิตช์ตูดปั้มอาจเสียชำรุดก็ได้ ถ้าเครื่องยนต์ยังไม่ติดอีกแต่อยากรู้ต่อว่าใช้สวิตช์ตูดปั้มเสียจริงหรือไม่ทำได้ครับ โดยถอดสวิตช์ตูดปั้มออกมาทั้งตัวชักไส้ที่เป็นเดือนเปิด-ปิดน้ำมันออกก่อนให้เหลือแต่เสื้อปั้มใส่คืนเข้าไป ลองสตาร์ทใหม่เครื่องยนต์จะติดได้แต่จะดับเครื่องยนต์ไม่ได้นะครับให้ขัดเกียร์ดับเอาก่อนค่อยซื้อสวิตช์มาเปลี่ยนใหม่

 ที่เติมน้ำมันไฮดรอลิก
━━━━━━━━━━━
จะมีขีดบอกด้านบน H ด้านล่าง L ควรตรวจเติมให้ได้ระดับเสมอ เติมมากจะล้นออกมา เติมน้อยน้ำมันขาดจะยกไม่ขึ้นสะดุดๆเมื่อเรายกงา สามารถใช้น้ำมันในท้องตลาดได้เลยคือเบอร์ 32 SAE หรือ 68 SAE เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 1,200 ชั่วโมง ภายในห้องน้ำมันจะมีใส่กรองน้ำมันไฮดรอลิกมี 2 ใบกรองดูดและกรองไหลกลับถัง

กรองอากาศ
━━━━━━━━━━━
ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปนมากับอากาศเราต้องเปล่าทุกเดือนหรือทุกสัปดาห์ถ้าใช้งานแล้วมีฝุ่นละอองมากเปลี่ยนทุกๆ 1,200 ชั่วโมง วิธีสังเกตว่าหมดอายุครับ กระดาษไส้กรองต้องไม่ล้มไม่ยุ่ยหรือเปื่อย เป่าแล้วลมผ่านสะดวกถ้าไม่เป็นตามนี้ควรเปลี่ยนใหม่ได้เลย


- Advertisement -


1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

โฟล์คลิฟท์ดีเซล1.5, 2.5, 3.5 t อัตรากินน้ำมัน กิโลหรือชั่วโมงละกี่ลิตร

บทความที่ได้รับความนิยม