ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

พันธุ์ปาล์มใต้โคน นำมาปลูกได้หรือไม่..?? l ไขปัญหาปาล์มน้ำมัน

ใน Facebook fabpage : Univanich oil palm seeds มีแฟนเพจบางท่านแสดงความคิดเห็นเรื่องของพันธุ์ปาล์มน้ำมัน “ว่าการนำเสนอพันธุ์ปาล์มต่างๆ เป็นเรื่องของการหลอกขายพันธุ์ พันธุ์ลูกใต้โคนก็ใช้ปลูกได้ ก็ให้ผลผลิตเหมือนกัน” 


คุณไพรวัลย์ โต๊ะดำ ผู้จัดการศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันยูนิวานิช จึงได้อธิบายถึงหลักวิชาการการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มสำหรับจำหน่ายคร่าวๆ ดังนี้


พันธุ์ปาล์มน้ำมันทางการค้าหรือที่เราใช้ปลูกอยู่ทุกนี้เรียกว่า พันธุ์เทเนอร่า (Tenera) หรือเรียกว่า DxP มาจากการผสมระหว่างต้นแม่พันธุ์ดูร่า (DURA) เป็นพันธุ์ที่มีกะลาหนา มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันค่อนข้างต่ำ แม้ว่าจะให้ทะลายใหญ่ผลผลิตดี แต่ว่าเปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำเนื่องจากว่ามีกะลาหนา และนำมาผสมกับพ่อพันธุ์พิสิเฟอร่า (Pisifera) เป็น แม้ว่าจะมีจำนวนทะลายมากแต่จะฝ่อไป จึงให้ผลผลิตต่ำ และในผลไม่มีกะลาหรือกะลาบางมากจึงมีสัดส่วนของเปอร์เซ็นน้ำมันสูง


ในการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันจึงใช้เกสรดอกตัวผู้จากพิสิเฟอร่ามาผสมกับต้นแม่ดูร่า ออกมาเป็น พันธุ์เทเนอร่า ซึ่งเป็นพันธุ์ปาล์มลูกผสมที่ให้ผลผลิตดี เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง เหมาะสำหรับปลูกเชิงเศรษฐกิจมากที่สุด


การที่จะจับคู่ผสม ดูร่า และ พิสิเฟอร่า ต้องมีการคัดเลือกต้นพันธุ์ที่มีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐาน มีการคัดเลือกต้นพ่อ-แม่พันธุ์ มีการทดสอบลูกผสมเพื่อที่จะคัดเลือกคู่ผสมที่ดีเพื่อนำมาผลิตเป็นพันธุ์ปาล์มลูกผสมเชิงการค้า เพราะฉะนั้นพันธุ์ปาล์มการค้าทั่วไปต้องผ่านโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งใช้เวลามากกว่า 10 ปี


หากเกษตรกรเก็บพันธุ์ปาล์มใต้โคนมาปลูกก็เท่ากับว่าเป็นเมล็ดที่เกิดจากการผสมระหว่างต้นพ่อ-แม่ที่เป็นพันธุ์เทเนอร่าเหมือนกัน จะได้ปาล์มรุ่นลูกออกมา 3 แบบ คือ ดูร่า สัดส่วนประมาณ 25%, เทเนอร่า ประมาณ 50% และ พิสิฟอร์ร่า อีกประมาณ 25%


แม้ว่าจะมีเทเนอร่า 50% ให้นึกว่าปาล์ม 1 ไร่ มี 22 ต้น มีปาล์มเทเนอร่าอยู่ครึ่งหนึ่ง และเป็นเทเนอร่าที่มีความแปรปรวนสูงมาก ให้ผลผลิตดีบ้าง ไม่ดีบ้าง แต่จุดคุ้มค่าของการทำสวนปาล์มคือมีต้นปาล์มที่ให้ผลผลิตได้ไม่ต่ำกว่า 60% ซึ่งผ่านข้อนี้ไปไม่ได้ตั้งแต่ได้ต้นเทเนอร่ามาเพียง 50% แล้วนั่นเอง


ดังนั้นการนำปาล์มใต้โคนมาปลูกจึงมีผลเสียกับเกษตรกรมากกว่าผลดี นอกจากจะได้ต้นพันธุ์ดีไม่มากพอที่จะคุ้มทุนแล้ว ผลผลิตที่ได้ก็มาสม่ำเสมอ เราลงทุนใส่ปุ๋ย ดูแลทุกต้นเท่ากัน แต่ไม่ได้ผลผลิตทุกต้น เสียไปกว่าครึ่ง....จึงสรุปได้ว่า “ปาล์มใต้โคนไม่ควรนำมาปลูก” ด้วยประการทั้งปวง


ดูคลิปวิดีโอ พันธุ์ปาล์มใต้โคน นำมาปลูกได้หรือไม่..

 ✉ คอลัมน์ ไขปัญหาปาล์มน้ำมันกับยูนิวานิช เป็นบทความพิเศษจาก บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) ผู้มีข้อสงสัยหรือปัญหาเรื่องการทำสวนปาล์มน้ำมัน สอบถามได้ที่ Facebook Page : Univanichoilpalmseeds

- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม