ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

สวนปาล์มน้ำมัน ศรีเชียงใหม่ ของเกษตรกรวัยเกษียณ 7 ไร่ รายได้เหมือนถูกหวยทุกงวดแบบไม่ต้องลุ้น

ทีมงานเว็บยางปาล์ม เที่ยวชมสวนปาล์มขนาดเล็ก ของ คุณณรงค์ ผาจันทร์ อดีตข้าราชการวัยเกษียณ เนื้อที่ 7 ไร่ ใน อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ต้นปาล์มอายุ 10 ปี

 

คุณณรงค์ บอกว่า พื้นที่นี้ติดกับริมน้ำโขง เดิมเป็นไร่มะเขือเทศ ซึ่งเป็นพืชล้มลุก ต้องปลูกใหม่ทุกปี ประกอบกับเมื่อตัวเองเริ่มจะเกษียณจากราชการ จึงมองพืชอื่นที่ดีกว่า ซึ่งแน่นอนว่าพืชเดิมๆ ที่เคยปลูก รวมถึงพืชไร่ที่เกษตรกรในพื้นที่ปลูกกัน ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดี  ก่อนจะค้นพบว่าพืชที่เป็นได้ทั้งอาหารและพลังงาน อย่าง ปาล์มน้ำมัน คือตัวเลือกที่ดีที่สุด ณ เวลานั้น

 

ภายหลังจากศึกษาข้อมูลและเดินทางไปดูตัวอย่างจากสวนปาล์มในพื้นที่ภาคใต้และอีสานที่ประสบความสำเร็จ จึงเริ่มลงมือปลูกปาล์มทันที โดยสวนปาล์มแปลงแรก อยู่ติดกับริมแม่น้ำโขง พื้นที่ 7 ไร่ เริ่มปลูกระยะมาตรฐาน 9x9 เมตร (ปัจจุบัน อายุ 10 ปี)  และปลูกอีก 2 แปลง (อายุใกล้เคียงกัน) แต่เป็นพื้นที่นา ปรับพื้นที่โดยใช้วิธีขุดยกร่องป้องกันน้ำแช่ขัง

ตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ปลูกและได้เก็บเกี่ยวผลผลิตจากปาล์มน้ำมัน เป็นไปอย่างที่คุณณรงค์ คาดหวัง เพราะได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ และที่สำคัญ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชอายุยืน ปลูกครั้งเดียว เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานเกิน 25 ปี และมีรายได้ทุกๆ 15 วัน หรือเดือนละ 2 ครั้ง คุณณรงค์ เปรียบเทียบว่ารายได้จากสวนปาล์มแปลงเล็กๆ แค่ 7 ไร่ เหมือนถูกหวยทุกงวด โดยไม่ต้องลุ้นให้เหนื่อย เพราะได้ผลผลิตแน่นอนเดือนละ 3-4 ตัน (ยังไม่รวมสวนปาล์มอีก 2 แปลง อีก 20 กว่าไร่) ที่พอให้ลุ้นนิดหน่อยก็คงจะเป็นราคารับซื้อ แต่ก็พอจะคาดการณ์ได้เพราะเป็นไปตามราคาตลาด


แต่หลักใหญ่ที่สำคัญในการทำสวนปาล์มน้ำมันก็คือ ปลูกปาล์มต้องดูแลไม่ใช่ปลูกให้เทวดาเลี้ยงแล้วจะได้ผล เพราะปาล์มต้องการน้ำและธาตุอาหารปริมาณมาก จึงจะได้ผลผลิตที่ดีและคุ้มค่า ดังนั้นการดูแลจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

 

การดูแลเรื่องอาหารของปาล์มน้ำมัน คุณณรงค์จะใช้ปุ๋ยเคมีผสมผสานกับปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ได้แก่ ปุ๋ยเคมี 21-0-0, 0-3-0, 0-0-60, กีเซอร์ไรท์ (ให้ธาตุแมกนีเซียม) และโบรอน โดยเฉพาะรวมๆ 7-10 กก./ต้น/ปี โดยยึดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร  เสริมด้วยปุ๋ยคอก (ขี้วัว) ต้นละ 2 กระสอบ และใช้น้ำหมักชีวภาพที่ทำขึ้นเอง และที่สำคัญมีการให้น้ำในช่วงแล้ง เพราะภาคอีสานช่วงเวลาแล้งค่อนข้างยาวนานติดต่อกันมากกว่า 3 เดือน จึงจำเป็นต้องติดตั้งระบบน้ำสำหรับช่วงแล้ง

คุณณรงค์แนะนำว่า ถ้าเกษตรกรในภาคอีสานที่คิดจะปลูกปาล์มน้ำมัน ให้พิจารณา เรื่องพื้นที่และดินของตัวเองว่ามีความเหมาะสมที่จะปลูกปาล์มน้ำมันได้คุ้มค่าหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นพื้นที่เขา หรือเป็นดินลูกรัง อย่างนี้ไม่เหมาะสม หรือเป็นพื้นที่นา จำเป็นต้องปรับพื้นที่ทำร่องน้ำไม่ให้ท่วมขัง หรือต้องมีแหล่งน้ำและระบบน้ำสำหรับปาล์มน้ำมันในช่วงฤดูแล้ง เป็นต้น

 

และหัวใจสำคัญคือ ต้องมีทุนเพียงพอสำหรับปาล์มน้ำมัน เพราะปาล์มน้ำมัน ต้องดูแลใส่ปุ๋ยและน้ำอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ถ้าให้น้อยหรือไม่เพียงพอ ผลผลิตก็ย่อมจะลดลงตามลำดับ ที่ผ่านมามีเกษตรกรปลูกปาล์มพร้อมๆ กัน แต่ไม่เข้าไจเรื่องการจัดการและดูแล จำนวนหนึ่งก็โค่นทิ้งไป แต่จากการทำสวนปาล์มมากว่า 10 ปี ของคุณณรงค์ ค้นพบความจริงว่า สวนปาล์มน้ำมันมีรายได้ดีและมั่งคงกว่าพืชไร่ และทำนาแน่นอน

ขอขอบคุณ : คุณณรงค์   ผาจันทร์ ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม