ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ไทย-อินโด-มาเลย์ จับมือขับเคลื่อนเมืองยางพารา สร้างมูลค่าการส่งออก เชื่อมั่นส่งผลให้ราคายางสูงขึ้น

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ร่วมลงนามความร่วมมือขับเคลื่อนเมืองยางพารา 3 ประเทศ เพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขัน สร้างมูลค่าการส่งออก เชื่อมั่นส่งผลให้ราคายางสูงขึ้น

 

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ 3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) ระหว่างวันที่ 13-16 กันยายน 2565 โดยเป็นการประชุมร่วมกันในการหาแนวทางการเชื่อมโยงเศรษฐกิจของ 3 ประเทศ ในด้านการเกษตรกรและอุตสาหกรรมการเกษตร ด้านอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน ด้านการท่องเที่ยว ด้านระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการเชื่อมต่อการขนส่ง ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ด้านการผลิตและให้บริการฮาลาล และด้านพลังงาน

 

การประชุมครั้งนี้ มีการลงนามความร่วมมือระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรม แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Ministry of Industry Republic of Indonesia; MOI) หน่วยงานระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (Northern Corridor Implementation Authority; NCIA) ประเทศมาเลเซีย และการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเป็นการเชื่อมโยงของเมืองยางพารา (Rubber Cities) ของ 3 ประเทศสมาชิก มุ่งเน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมยางพารา ร่วมกำหนดนโยบายและทิศทางในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยาง พร้อมทั้ง ความร่วมมือด้านงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ยาง ความร่วมมือด้านมาตรฐานและการรับรองผลิตภัณฑ์ยาง การส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรในวงการยางพารา ตลอดจนความร่วมมือด้านธุรกิจของทั้ง 3 ประเทศ

 

จากความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้ Rubber City ของแต่ละประเทศมีศักยภาพในการดำเนินการและขีดความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ลดการแข่งขันกันเองระหว่างเมืองยางพาราแต่ละแห่ง เพิ่มมูลค่าการส่งออกผ่านชายแดน (Border Trade) โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่มีทำเลที่ตั้ง Rubber City ใกล้กัน  และคาดว่าราคายางจะเป็นไปในทิศทางที่ดีจากมูลค่าการค้าชายแดนที่เพิ่มสูงขึ้น

 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม