ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เทคนิคจัดการสวนปาล์มน้ำมันในพื้นที่ฝนชุก จ.พังงา ทำผลผลิตมากกว่า 5 ตัน/ไร่/ปี


คิดเหมือนกันไหมว่าปีนี้ (2565) ฤดูฝนทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีมากอย่างที่พวกเราไม่คาดคิดกันมาก่อน ฝนตกชุกแทบทุกพื้นที่ ยิ่งในโซนที่ฝนตกชุกอยู่แล้วอย่าง คุระบุรี จ.พังงา นั้นเรียกว่ามีฝนตกมากจนเป็นอุปสรรคในการใส่ปุ๋ยเลยทีเดียว

 

เมื่อเว็บยางปาล์มมีโอกาสได้เดินทางเข้าไปในพื้นที่คุระบุรีและพูดคุยกับ คุณลุงบรรเจิด เอียบสกุล พร้อมกับขอแบ่งปันเทคนิคการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของคุณลุงที่สามารถทำผลผลิตได้ราว 5 ตันกว่าๆ/ไร่/ปี ในรอบปี 2564 และมีแนวโน้มว่าในรอบปี 2565 นี้ผลผลิตน่าจะเพิ่มขึ้นอีกด้วย

 

ทันทีที่เดินเข้าไปในสวนปาล์มของลุงบรรเจิดสิ่งแรกที่เห็น คือ สภาพสวนที่สะอาด เรียบร้อย และเมื่อมองขึ้นไปบนต้นปาล์มก็พบว่ามีปาล์มดกพอควร แต่ทว่าลุงบอกว่าก่อนหน้านี้ 2 เดือน ทะลายดกกว่านี้อีก 


พันธุ์ปาล์มของผมเป็น ซีพีไอ ไฮบริด รุ่นแรก ดูอย่างนี้แล้วมันก็ใช้ได้นะ เมื่อ 2 เดือนที่แล้วออกทะลายเยอะ เต็มทุกต้นเลย ช่วงนี้ทะลายลดลงแต่ก็ยังถือว่ามีทะลายมากพอสมควร เพราะว่ายังไงปาล์มก็ต้องพักคอนะ พักด้วยการออกตัวผู้มาสัก 2 ชั้น ช่วงต่อไปก็จะออกเป็นตัวเมีย ถ้าเราได้ให้ปุ๋ยมันพอดี พอออกตัวเมียสักรอบ ตัวผู้ก็มาอีก ช่วงนี้มันออกตัวผู้ต้นปาล์มก็จะได้พักฟืน ได้บำรุงต้นมัน สะสมอาหารเอาไว้เลี้ยงลูกในรุ่นต่อไป

 

บรรเจิดบอกกับเว็บยางปาล์มว่าในพื้นที่ 20 ไร่นี้  ปาล์มอายุปาล์ม 9 ปีเต็ม ช่วงที่ผลผลิตพีคสุดๆ ถึง 7.6 ตัน/รอบตัด ส่วนช่วงที่ผลผลิตน้อยที่สุดอยู่ที่ 2 ตันนิดๆ เมื่อตัดทะลายปาล์มทุก 15 วัน ก็จะได้ผลผลิตประมาณ 5 ตัน/เดือน ถ้าพีคก็ 14 ตัน/เดือน ส่งผลให้มีผลผลิตรวม 5 ตันกว่าๆ/ไร่/ปี  

ในส่วนของการจัดการสวนปาล์มน้ำมันของลุงบรรเจิดนั้นเน้นการสร้างความสมบูรณ์ให้ต้นปาล์มน้ำมันเป็นหลัก ด้วยจุดแข็งที่อยู่ในพื้นที่ที่มีฝนตกชุกตลอดทั้งปีทำให้ต้นปาล์มไม่ขาดน้ำ แต่ข้อเสียของพื้นที่ลักษณะนี้ก็คือมีฝนตกมากเกินไปทำให้ชะล้างปุ๋ยออกไปจากพื้นที่ได้ง่าย ดังนั้นวิธีกองทางใบจึงเป็นปราการสำคัญในการปกป้องปุ๋ยที่สำคัญของลุงบรรเจิด

 

ลุงบรรเจิดใช้วิธีวางกองทางแบบกระจาย เพราะจะช่วยควบคุมวัชพืชได้ทั่วทั้งแปลง อีกทั้งทำให้มีอินทรียวัตถุเต็มทั่วทั้งพื้นที่ จึงใส่ปุ๋ยได้อย่างทั่วถึงเป็นบริเวณกว้าง ช่วยกักเก็บความชื้นในช่วงที่ฝนแล้ง และที่สำคัญยังช่วยลดการชะล้างปุ๋ยจากฝนที่ตกชุกแบบนี้อีกด้วย  

 

👉เทคนิคการวางกองทางของลุงบรรเจิด

มีวางทางใบแบบแถวเว้นแถวเพื่อให้มีทางสำหรับรถเข้าเก็บผลผลิต ในส่วนของบริเวณที่วางกองทางนั้นจะวางแบบปูกระจาย หลังจากตัดทะลายปาล์มทุก 15 วันได้ 1 ทางใบ วางเรียงไปเรื่อยๆ ก้านทางใบทุกใบจะห่างกันราวๆ 1 ฟุต เพื่อให้ใบปาล์มประสานกันพองาม ให้โคนใบและปลายใบหันไปทิศทางเดียวกันจนกว่าจะเต็มพื้นที่ เมื่อสุดแถวแล้วมีการสลับหัวท้ายทางใบด้วย พออันเก่าย่อยสลายก็ถึงเวลาวางใบใหม่พอดี

 

การวางทางใบแบบปูกระจายนี้ใบปาล์มจะย่อยสลายได้เร็วกว่าการวางเป็นกอง และลดโอกาสเป็นที่หลบซ่อนของสัตว์อันตรายต่างๆ ได้ด้วย รวมถึงกองทางใบแบบกระจายทั่วพื้นที่ยังช่วยควบคุมหญ้าได้ค่อนข้างดีอีกด้วย ทำให้ลดต้นทุนเรื่องการกำจัดหญ้าไปได้อีกทาง

 

👉ใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอป้องกันปาล์มขาดธาตุอาหาร

 อย่างที่บอกว่าแถบคุระบุรี พังงา นั้นมีฝนตกค่อนขางชุก ลุงบรรเจิดจึงวางแผนใส่ปุ๋ยปาล์มปีละ 3 ครั้ง หรือเมื่อมีโอกาสที่ฝนเริ่มแล้งต้องใส่ปุ๋ยทันที เนื่องจากปุ๋ยมีโอกาสที่จะชะล้างไปกับน้ำฝนมากจึงต้องใส่ปุ๋ยปริมาณน้อย แต่ใส่บ่อยๆ 

 

  • โดยใน 1 ปี จะใส่ปุ๋ยรวม 13.2 กก./ต้น/ปี แบ่งเป็นปุ๋ยสูตร 15-5-25  7 กก./ต้น/ปี, 0-0-60 : 4 กก./ต้น/ปี, 0-3-0 : 2 กก./ต้น/ปี, โบรอน 200 กรัม/ต้น/ปี นอกจากนั้นก็มีการเพิ่ม 18-46-0, แมกนีเซียม และ โดโลไมท์ ตามโอกาส

 

เรียกว่าการทำสวนปาล์มของลุงบรรเจิดนั้นไม่ใช่ใส่ปุ๋ย แต่ถูกฟ้องด้วยภาพว่าคุณลงใส่ใจลงไปด้วย เพราะนอกจากการตัดทะลายปาล์มที่อาศัยแรงงานรับจ้างแล้ว กิจกรรมในสวนปาล์มไม่ว่าจะเป็นการใส่ปุ๋ย จัดเรียงกองทาง กำจัดวัชพืช ทำกันเองโดยใช้แรงงานใครครอบครัวจึงมีความเข้าใจและใส่ใจอย่างเต็มที่ 

 

ขอขอบคุณ 

คุณลุงบรรเจิด เอียบสกุล  53 หมู่ 9 ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา โทรศัพท์ : 080-554-6196

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม