ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

วิธีใส่ แมกนีเซียม และโบรอน สวนปาล์ม อรรณพ สุราษฎร์ฯ

การใส่ปุุ๋ยให้เพียงพอกับความต้องการของต้นปาล์มน้ำมันนั้นจำเป็นอย่างมาก หากเกษตรกรต้องให้ปาล์มน้ำมันในสวนได้ผลผลิตอย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งวิธีการใส่ปุ๋ยอาจจะไม่มีเทคนิคตายตัวขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่หรือความสะดวกของเจ้าของสวนปาล์มน้ำมันด้วย

 

เว็บยางปาล์มขอเสนอเทคนิคการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันของ คุณอรรณพ ยังวณิชเศรษฐ หรือ อรรณพ สุราษฎร์ฯ หนึ่งในเกษตรกรที่เราคุ้นเคยในวงการการปาล์มมัน โดยเฉพาะเรื่องการใส่ปุ๋ยปาล์มนั้นพี่อรรณพขยันไม่แพ้ใครเลยทีเดียว

 

ครั้งนี้เป็นการใส่แม่ปุ๋ย 2 สูตร คือ แมกนีเซียม (กลีเซอร์ไรด์) และโบรอน ซึ่งสวนของคุณอรรณพจะใส่ กลีเซอร์ไรด์ ปริมาณ 1.5 กก./ต้น/ปี และโบรอน 250 กรัม./ต้น/ปี แม้ว่าแม่ปุ๋ยทั้งสองชนิดจะเป็นธาตุอาหารรองและจุลธาตุ ต้นปาล์มต้องการปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับธาตุอาหารหลัก NPK แต่ก็ยังต้องการเพื่อให้ต้นปาล์มเติบโตและให้ผลผลิตอย่างสมบูรณ์

แมกนีเซียม เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต้องใช้ในการสร้างทะลาย ช่วยให้ใบปาล์มมีความเขียวเข้มสังเคราะห์แสงได้ดี หากต้นปาล์มขาดแมกนีเซียมจะทำให้ใบมีสีเหลือง เป็นแถบ ส่งผลโดยตรงกับการสังเคราะห์แสงทำให้การปรุงอาหารทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงมีผลกระทบกับการสร้างทะลาย สร้างเมล็ด รวมถึงการสร้างน้ำมันในเมล็ดด้วย

 

เป็นเรื่องที่คนที่ทำสวนปาล์มหรือคนที่ปลูกปาล์มจำเป็นต้องรู้ นั่นหมายความว่าหลายๆ คนที่ปลูกมาไม่เคยใส่แมกนีเซียมหรือกลีเซอร์ไรด์เลยคุณก็จะสูญเสียโอกาสที่จะได้ปาล์มน้ำมันผลผลิตสูงๆ

 อรรณพสุราษฎร์บอก

 

สำหรับบริเวณที่ใส่ปุ๋ยนั้น ตามปกติแล้วจะเลือกใส่บริเวณกองทางด้วยเหตุผลที่ว่ากองทางเป็นบริเวณที่มีความชื้นมากที่สุด มีอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายแล้วช่วยให้รากปาล์มดูดซึมไปใช้ได้มากและยาวนานที่สุด

บริเวณกองทางใบมีอินทรียวัตถุสูง จึงใส่ปุ๋ยได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

คุณอรรณพขยายความคำว่า โดยปกติแล้วปาล์มน้ำมันแม้จะมีรากกระจายไปทุกทิศทางและมีรากในปริมาณมากจนเต็มพื้นที่ แต่รากปาล์มที่สามารถหากินได้นั้นมีเฉพาะรากที่อยู่หน้าดินและมีความลึกลงไปเพียง 60 เซนติเมตรเท่านั้น หากใส่ปุ๋ยแล้วปาล์มยังไม่สามารถดูดซึมไปใช้ได้หมดปุ๋ยก็มีโอกาสที่จะถูกชะล้างไปกับน้ำฝนหรือแม้กระทั่งซึมลงสู่ดินชั้นล่างที่ลึกลงไปมากกว่า 60 เซนติเมตร ซึ่งก็หมายความว่าปาล์มก็จะดูดซึมปุ๋ยเหล่านั้นมาใช้ไม่ได้จึงเป็นการสูญเสียโดยใช่เหตุ

 

ดังนั้นการใส่ปุ๋ยต่างๆ บนกองทางจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง เพราะในกองทางจะมีอินทรียวัตถุที่ช่วยโอบอุ้มธาตุอาหารเอาไว้ให้อยู่ในบริเวณที่มีความชื้นได้นานขึ้น ทำให้ต้นปาล์มมีช่วงระยะเวลาที่ได้กินปุ๋ยนานขึ้น แม้ว่าปีนี้สุราษฎร์ธานีฝนตกชุกแต่เขาก็ยังใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันได้เพราะเลือกใส่ปุ๋ยบริเวณกองทางนั่นเอง 

คุณอรรณพ เลือกใส่โบรอนที่กาบใบ

แต่สำหรับ โบรอน คุณอรรณพ เลือกใส่บริเวณซอกกาบใบ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการใส่ไม่ให้โบรอนสัมผัสกับบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนๆ เพราะอาจจะทำให้เนื้อเยื่อเสียหาย โดยเฉพาะต้นปาล์มอายุน้อยต้องใส่ด้วยความระมัดระวัง

 

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาต้นปาล์มน้ำมันในสวนก็ยังไม่พบอาการเน่าจากการใส่โบรอน แต่สำหรับท่านที่อาจจะไม่สบายใจที่จะใส่บริเวณซอกกาบใบก็สามารถใส่โบรอนบนกองทางได้โดยไม่ผิดกติกา

 

คุณอรรณพ ทิ้งแคปชั่นไว้ว่า เรารักปาล์ม ปาล์มก็รักเรา แต่เราต้องแสดงความรักกับต้นปาล์มก่อน ด้วยการดูแล ใส่ปุ๋ย แต่งทางใบอย่างสม่ำเสมอ เพราะรายได้ของการทำสวนปาล์มก็คือการที่เรามีผลผลิตไปขาย

 

ขอขอบคุณ : คุณอรรณพ ยังวณิชเศรษฐ 

ติดตามอรรณพสุราษฎร์ ได้ที่ : อรรณพ สุราษฏร์ โค้ชปาล์มน้ำมัน 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม